ทารกตื่นทุกชั่วโมง เป็นเพราะอะไร ทำอย่างไรให้ลูกหลับยาวไม่ตื่นบ่อย

ทารกตื่นทุกชั่วโมง ลูกตื่นบ่อยตอนกลางคืน จนพ่อกับแม่แทบไม่ได้นอน เป็นเพราะอะไรกัน มีวิธีให้ทารกนอนหลับยาวตลอดคืนบ้างไหม พ่อแม่ต้องทำยังไง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นแบบนี้ติดต่อกันหลายคืนจนคุณพ่อกับคุณแม่ แทบจะไม่ได้พักผ่อนเลย ลูกจะเป็นแบบนี้อีกนานไหมน้า พ่อแม่ได้แต่กังวลใจ เนื่องจากทารกส่วนใหญ่มักจะตื่นนอนกลางคืน และส่งเสียงร้องงอแงโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งมีนักวิทยาศตร์บางท่านได้กล่าวว่าอาการเหล่านี้ของเด็กเป็นอาการที่แสดงถึงพัฒนาการ และพฤติกรรมของเด็กช่วงอายุหนึ่งเท่านั้น

นอกจากนี้ สาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยตื่นบ่อย ได้แก่ อาการหิว ปวดท้อง ทารกยังแยกเวลาไม่ได้ เจ็บปวดจากการที่ฟันจะขึ้น รู้สึกไม่สบาย และผ้าอ้อมเปียกชื้นซึ่งถ้าลูกน้อยเกิดร้องไห้งอแงเมื่อไหร่ แนะนำให้พ่อแม่ค่อย ๆ หาสาเหตุว่าลูกน้อยร้องไห้เพราะอะไร จากสาเหตุข้างต้นนี้

วิธีช่วยให้ทารกแรกเกิด - 3 เดือนหลับง่าย

โดยปกติแล้ว ทารกแรกเกิดจะนอนหลับ 16-17 ชั่วโมงต่อวัน ก่อนจะลดการนอนลงเหลือ 15 ชั่วโมง เมื่ออายุได้ 3 เดือน และจะตื่นขึ้นมาตอนกลางคืนประมาณ 4-5 ครั้ง เพื่อตื่นมากินนม ซึ่งพ่อแม่ควรให้นมลูกอย่างรวดเร็ว ลูกน้อยจะได้ไม่งอแงนาน แต่ถ้าลูกยังไม่หยุดร้องอีก พ่อแม่ต้องดูว่าลูกร้องเพราะอะไร ลูกจุกเสียดแน่นท้องหรือเปล่า ลูกหนาว หรือร้อน หรืออาจต้องการเปลี่ยนผ้าอ้อม หากทำแล้วลูกยังไม่หยุดร้อง แนะนำให้คุณแม่ลองทำตามนี้

  • กอดลูกน้อย : บางทีลูกน้อยแค่ต้องการให้พ่อแม่กับแม่ปลอบประโลมโดยการโอบกอดหรือลูบไล้ตัว
  • ห่อตัวลูกด้วยผ้าห่ม : เด็กบางคนร้องเพราะรู้สึกว่าตัวเองไม่ปลอดภัย ซึ่งพ่อแม่แก้ได้โดยการหาผ้ามาห่อตัว แต่ระวังอย่าห่มจนแน่นเกินไป หรือปิดจมูกลูกนะ
  • ลูบบริเวณจมูก : การที่พ่อแม่นำมือไปลูบไล้เบา ๆ บริเวณจมูกอย่างแผ่วเบา จะช่วยให้ลูกน้อยลูกสึกผ่อนคลาย และหลับง่ายขึ้น
  • ใช้เสียง White noise กับทารก: เป็นเสียงที่ช่วยให้ทารกหลับง่ายขึ้น เนื่องจากทารกชินกับเสียงเลือดไหลผ่านรกขณะที่เขายังอยู่ในท้องแม่ เสียงนี้ได้แก่ ยงไดร์เป่าผม เสียงเครื่องดูดฝุ่น เสียงเครื่องซักผ้า เสียงทีวีซ่า ๆ
  • โยกเบา ๆ : คุณแม่คุณพ่ออาจจะอุ้มลูกในอ้อมแขนแล้วโยกลูกไปมา หรือจะนั่งเก้าอี้โยกกล่อมลูกก็ได้
  • กล่อมลูก : วิธีกล่อมลูก เช่น การ เปิดเพลงกล่อมเด็ก หรือการโยกตัวไปมา

ทำอย่างไรให้ลูกหลับยาวไม่ตื่นบ่อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีช่วยให้ทารก 3 - 6 เดือนหลับง่ายด

สำหรับเด็กช่วงวัยนี้จะนอนประมาณ 14 - 16 ชั่วโมงต่อวัน และจะใช้เวลานอนกลางวัน 2-3 ครั้ง รวม ๆ แล้วประมาณ 3 ชั่วโมง ในช่วงที่ลูกน้อยตื่นขึ้นมาดื่มนมกลางดึก แนะนำว่าให้คุณแม่ นำนมให้ลูกดื่มอย่างเงียบ ๆ หลังจากให้แล้ว ห้ามเล่นกับลูก ห้ามเปิดไฟ เพื่อให้ลูกนอนหลับได้เร็วยังขึ้น หากยังไม่นอน ลูกน้อยอาจต้องการสิ่งเหล่านี้

  • นำของเล่นที่ลูกชอบมาวางไว้ : เด็กบางคนจะรู้สึกอุ่นใจ หรือสบายใจถ้าได้กอดหมอน หรือได้เห็นว่ามีหมอน หรือของเล่นอยู่ใกล้ตัว หากคุณพ่อคุณแม่ เห็นว่าลูกชอบอะไรอย่าลืมวางวันไว้ข้างตัวลูกนะ
  • โอบกอดลูก : วิธีนี้ จะช่วยปลอบลูกได้ดีที่สุด เวลาที่ลูกร้องแค่พ่อแม่กอด และโยกไปมาเป็นจังหวะ ลูกน้อยก็จะเคลิ้ม และหลับไป
  • ตบลูกเบา ๆ : เด็กบางคน ชื่นชอบที่จะให้ตบหลัง หรือตบก้น เพื่อเป็นการกล่อมเบา ๆ บางคนก็ชอบให้ลูบหลังหรือเกาหลัง ให้คุณแม่ ๆ ลองทำดู
  • ฟันกำลังขึ้น: เด็กวัยนี้บางคนฟันเริ่มจะขึ้นทำให้น้องรู้สึกกระสับกระส่าย คุณแม่อาจหายางกัดเย็น ๆ หรือการนวดที่เหงือกเบา ๆ เพื่อบรรเทาอาการให้ลูกน้อยได้
  • ใช้ถุงนอน : ทารกบางคนชอบดิ้น ทำให้ผ้าหลุดจากผ้าห่มบ่อย ๆ เมื่อเด็กเจออุณหภูมิที่เย็น ก็อาจทำให้ตื่นขึ้นมากลางดึกได้ การให้ถุงนอน สำหรับเด็กหรือ ที่นอนเด็ก อาจเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดี
  • เตรียมให้ลูกน้อยนอน : ระหว่างที่กล่อมลูกน้อยนอน พ่อแม่ต้องสร้างบรรยากาศ ให้ลูกรู้สึกอยากนอนมากที่สุด อย่าเล่นกับลูก เพื่อให้ลูกรู้ว่าถึงเวลานอนแล้วนะ

ทารกตื่นทุกชั่วโมง

วิธีช่วยให้ทารก 6 - 12 เดือนหลับง่าย

สำหรับเด็กช่วงวัยนี้จะนอนประมาณ 13 - 15 ชั่วโมงต่อวัน และจะใช้เวลางีบหลับรวม ๆ แล้ว 3 ชั่วโมง และค่อย ๆ ลดลงเหลือ 2 ชั่วโมง หากคุณแม่ไม่อยากให้ลูกตื่นบ่อยกลางดึก แนะนำว่าให้ลูกดื่มนมก่อนเที่ยงคืน ลูกน้อยจะได้นอนได้ยาวขึ้น หากลูกยังตื่นมากลางดึกอีก แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ ทำดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • โยกเบา ๆ : ลูกน้อยบางคน ติดที่ให้พ่อแม่กล่อมให้หลับ ซึ่งพ่อแม่อาจต้องอุ้มลูกแล้วโยกเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้สึกเคลิ้ม และหลับไป
  • ทำให้ลูกรู้ว่าถึงเวลานอนแล้ว : ก่อนที่จะพาลูกนอน พ่อแม่อาจเตรียมพร้อมให้ลูกนอนโดยใช้เวลาประมาณ 30 - 45 นาที เพื่อให้ลูกเคยชินว่าถ้าทำแบบนี้ แสดงว่าถึงเวลานอนแล้ว
  • ลูกหิว : เด็กบางคนพ่อแม่พยายามให้ลูกกินนมแล้ว แต่เหมือนว่าจะไม่เพียงพอ หากลูกยังตื่นขึ้นมาร้องงอแงอยู่ บางทีอาจเป็นไปได้ ว่าพ่อแม่จำเป็นต้องเริ่มให้ลูกได้ลองอาหารแข็งเพิ่มขึ้นบ้าง ลูกจะได้ไม่ตื่นขึ้นมาหิวกลางดึก
  • ฟันกำลังขึ้น : หากลูกน้อยฟันกำลังขึ้น พ่อแม่อาจให้วิธีนวดที่เหงือกเบา ๆ เพื่อบรรเทาอาการเจ็บฟันของทารก หรือหายางกัดเย็น ๆ ให้ลูกกัดบรรเทาอาการ
  • อุ้มลูกมานอนด้วย : สำหรับพ่อแม่บางคน ที่ให้ลูกนอนที่เปลอยู่ เวลาที่ลูกน้อยร้องไห้ แนะนำให้คุณแม่ อุ้มลูกน้อยมานอนด้วยพอกล่อมลูกจนลูกหยุดร้องแล้วค่อยพากลับไปนอนที่เดิม หรืออาจจะนอนกอดลูก เพื่อให้ลูกสบายใจจนถึงเช้า

เมื่อลูกอายุ 6เดือนขึ้นไปในช่วงอายุนี้ กล้ามเนื้อหลัง และคอจะมีพัฒนาการที่แข็งแรงขึ้น ทำให้ลูกสามารถนอนหงาย นอนตะแคง นอนคว่ำ แต่คุณแม่ควรให้นอนสลับกันไป เพื่อจะได้ขยับยืดเส้นยืดสายบ้าง

  • ท่านอนคว่ำ

ข้อดี

  • ช่วยให้ลูกนอนหลับได้นานขึ้น
  • รูปศีรษะสวย
  • ช่วยปรับตำแหน่งแขนขาของลูกให้นิ่ง

ข้อเสีย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาจเกิดอันตราย จากการขาดอากาศหายใจ กรณีหมอนนุ่มเกินไป หรือผ้าห่มเกิดปิดทับจมูกขณะนอนหลับ เป็นปัจจัยให้เกิดโรค SIDS ในเด็กได้

  • การนอนหงาย

ข้อดี

  • ลดความเสี่ยงของโรค SIDS (การเสียชีวิตเฉียบพลันในขณะนอนหลับของเด็ก)

ข้อเสีย

  • นอนหงายบ่อย ๆ จะทำให้รูปศีรษะไม่สวยงาม
  • มีโอกาสทำให้เกิดการสำลักเข้าคอมากกว่าท่านอนคว่ำ
  • ควรสลับท่านอนให้ลูกนอนคว่ำบ้าง เพื่อยืดเส้นยืดสาย

“การนอน” มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเจริญเติบโตของเด็ก พบว่าฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) จะหลั่งมากในเวลากลางคืน หลังจากที่หลับไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง ถ้านอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลให้การหลั่งของฮอร์โมนการเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางด้านความสูง นอกจากนี้การนอนหลับยังช่วยร่างกายในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ จะสังเกตได้ว่าถ้าช่วงใดที่ไม่สบาย ร่างกายจะส่งสัญญาณให้เรามีความต้องการนอนมากกว่าปกติด้วยนั่นเอง กรณีที่คุณแม่ตั้งครรภ์แล้วนอนดึก ลูกที่เกิดมาก็จะนอนดึกตามคุณแม่จริงหรือไม่
ยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์สนับสนุน การนอนหลับของเราจะถูกควบคุมจากสารเคมีในร่างกาย ร่วมกับปัจจัยภายนอก เช่น แสงสว่าง กิจกรรมที่ทำอยู่ คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการสื่อสารกับลูกในท้องผ่านสารเคมีอยู่แล้ว เมื่อคุณแม่ทำกิจกรรมต่าง ๆ เด็กจะรับรู้ได้ด้วยเช่นเดียวกัน ในทางวิทยาศาสตร์แล้วคิดว่าน่าจะเป็นผลจากปัจจัยแวดล้อมมากกว่าพันธุกรรม เมื่อเด็กอยู่ในท้องจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สบาย มืด และอุณหภูมิคงที่ เด็กจะนอนหลับได้สบาย แต่พอเด็กคลอดออกแล้ว ปัจจัยอย่างเช่น แสงสว่าง เสียงรบกวน ก็จะทำให้นอนได้ยากขึ้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ตารางการนอนทารกแรกเกิด - 15 เดือน ทารกควรนอนนานเท่าไหร่ นอนกี่ครั้งต่อวัน

ทารกนอนแอร์กี่องศา ทารกนอนพัดลมได้ไหม กลัวลูกปอดติดเชื้อ ปอดบวม แม่ต้องทำอย่างไร

ภาษากายทารก หิว เบื่อ ง่วงนอน มีอาการอย่างไร ลูกทำท่านี้หมายความว่าอะไร

ที่มา : bounty

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri