ทางเลือกใหม่ของการฉีดวัคซีน
ทางเลือกใหม่ของการฉีดวัคซีน ฉีดผ่านคุณเเม่ได้ผลที่ลูก
นมแม่เป็นของคนหายากค่ะ ใครที่น้ำนมน้อยๆ ปั๊มได้แค่ครั้งละ 1 ออนซ์ ก็ดีใจน้ำตาปริ่มแล้ว คุณแม่คงทราบกันดีว่าคุณค่าสารอาหารและภูมิคุ้มกันจากนมแม่นั้นมีมากมายมหาศาล แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าการฉีดวัคซีนให้ลูกนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องให้เจ้าหนูเจ็บตัวอีกต่อไป เพราะคุณแม่สามารถรับความเจ็บปวดแทนได้ แต่ผลของวัคซีนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันหรือภูมิต้านทานของร่างกายต่อโรคนั้นๆ ก็ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนค่ะ
ทีมนักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ทำการวิจัย ถึงขั้นตอนที่เรียกว่า ขั้นตอนการเรียนรู้ที่จะสร้างภูมิคุ้มกันจากแม่ หรือ maternal educational immunity โดยร่างกายของแม่จะรับการฉีดวัคซีน ซึ่งสร้างภูมิคุ้มกันที่ส่งผ่านไปสู่ลูกผ่านน้ำนม
การวิจัยดังกล่าว ได้ทำการทดลองกับหนู เนื่องจากสามารถติดตามผลได้อย่างใกล้ชิด และมีขั้นตอนการให้นมที่เหมือนกันของคน โดยสาเหตุและจุดประสงค์ของงานวิจัยคือ ยังมีวัคซีนบางตัวที่ไม่เหมาะกับการฉีดในเด็กทารก และวัคซีนบางตัวเมื่อฉีดให้เด็กทารกแล้วก็ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่ เช่น วัคซีนป้องกันวัณโรคนั้น หากเป็นการฉีดเข้าสู่ร่างกายแบบปกติ จะไม่สามารถป้องกันบริเวณระบบทางเดินหายใจได้ ที่อยู่ในขั้นตอนต่อไปของงานวิจัยชิ้นนี้ค่ะ
นมเเม่ ภูมิคุ้มกันที่มาพร้อมก้บความห่วงใย
จากงานวิจัยนี้หากจะฉีดวัคซีนให้ได้ผลและปลอดภัยที่สุด คือต้องฉีดวัคซีนให้คุณแม่ก่อนการตั้งครรภ์ จากนั้นเซลล์ภูมิคุ้มกันจะถูกสร้างขึ้นระหว่างการให้ลูกดูดนมคุณแม่ และความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันของแม่ที่ถ่ายทอดไปให้ลูก ขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่มีการฉีดวัคซีนซ้ำบ่อยแค่ไหน เซลล์ภูมิคุ้มกันจึงจะมีมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกแข็งแรงขึ้นไปอีก
แต่นักวิจัยก็กล่าวถึงเรื่องการให้นมแบบที่เรียกว่า แม่นม หรือการให้นมลูกคนอื่น ว่างานวิจัยชิ้นนี้ยังไม่รองรับไปจนถึงกรณีแบบนั้น เนื่องจากเป็นบางประเทศและวัฒนธรรมเท่านั้นที่มีแม่นมค่ะ
รู้อย่างนี้แล้วนมแม่ที่เป็นของดีและมีให้กินแค่ช่วงชีวิตนึง ยิ่งทวีคุณค่าขึ้นไปใหญ่นะคะ แต่อย่าลืมนะคะว่าความเครียดคือศัตรูตัวฉกาจของน้ำนม ยิ่งเครียดยิ่งไม่ไหลไปเรื่อยๆ ให้นมลูกแล้วอย่าลืมดูแลตัวเองกินอาหารที่มีประโยชน์ด้วยนะคะ ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะเห็นการฉีดวัคซีนที่เเม่อย่างเดียวเเล้วก็เป็นไปได้ เเต่ยังไม่ถึงวันนั้นการไปฉีดวัคซีนตามที่คุณหมอนัดก็ยังเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่นะคะ
ที่มา sciencedaily.com
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
พาลูกฉีดวัคซีนเรื่องไม่เล็กที่พ่อแม่ควรรู้