ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

การนอนหลับอย่างเพียงพอของทารกสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย และยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมองของลูกได้ดี มาดู ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก

การนอนหลับอย่างเพียงพอของทารกสำคัญต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อย และยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมองของลูกได้ดี การเชื่อมต่อในสมองโดยทั่วไปจะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงระหว่างการนอนหลับเมื่อเด็กอายุมากขึ้น ตารางการนอนของทารก จากคุณแม่ผู้มีประสบการณ์จริงและข้อมูลเฉลี่ยจากสถิติ จะช่วยบอกคุณแม่ให้รู้พื้นฐานชั่วโมงการนอนของทารก มาดูกันว่าลูกน้อยของเรานอนหลับน้อยเกินไป หรือตื่นนอนเร็วในตอนเช้าบ่อยเกินไปหรือเปล่า วันนี้ theAsianparent พามาดู ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

ตารางเวลานอนลูก

ฝึกลูกนอนเป็นเวลาได้อายุเท่าไหร่

การนอนหลับของทารก เป็นหนึ่งในพัฒนาการของเด็กเช่นเดียวกัน ซึ่งพ่อแม่ไม่สามารถทำได้ภายใน 4 – 5 สัปดาห์แรกหลังจากที่ลูกคลอดออกมา เพราะว่าเด็กยังมีพัฒนาการทางด้านระบบประสาทไม่ดีพอ ต้องรอให้ทารกอายุได้ประมาณ 4 เดือนก่อน พ่อแม่จึงจะเริ่มฝึกลูกให้นอนเป็นเวลาได้ ซึ่งก็ต้องค่อยๆ ปรับ ค่อยๆ ฝึกลูกกันไป ให้ลูกน้อยได้พัฒนาเรื่องการนอนด้วยตัวเอง

โดยทาง American Academy of Pediatrics ระบุว่า ทารกยังไม่มีวงจรการนอนหลับแบบปกติจนกว่าพวกเขาจะมีอายุ 6 เดือน ดังนั้น พ่อแม่อาจต้องอดทนรอไปจนกว่าลูกน้อยจะพร้อมในการฝึกการนอนเป็นเวลา

 

ตารางการนอนของลูก ตารางเวลานอนลูก 1 เดือนแรก เคล็ดลับการนอนของลูก!

ตารางเวลานอนลูก

จะเห็นการว่าการนอนหลับในเด็กเล็กนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ลูกควรได้รับการนอนที่ดี เพื่อการพัฒนาทางสมองและการเจริญเติบโตที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ทารกแต่ละคนมีนิสัยไม่เหมือนกันนะคะ มีทารกจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้มีชั่วโมงนอนตามค่าเฉลี่ยนี้ คุณแม่ลองสังเกตดู ถ้าลูกน้อยมีความสุขและยังคงใช้เวลาส่วนใหญ่ในการนอนตอนกลางคืน ตื่นในตอนกลางวัน และไม่ตื่นนอนเร็วมาก ๆ ในตอนเช้า ก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติดีค่ะ แต่ถ้าคุณแม่อยากจะจัดแบ่งเวลาให้ได้ทำอะไรของตัวเองบ้าง ให้ตัวเองได้พักผ่อนบ้าง การได้ฝึกเจ้าตัวน้อยให้นอนเป็นเวลา ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับลูกน้อยและช่วยคุณแม่ได้นะคะ

 

วิธีพาลูกเข้านอนในแต่ละวัน

สำหรับคุณแม่ ที่ต้องพาลูกเข้านอนในช่วงกลางวัน แนะนำว่า ให้ลูกเข้านอนในช่วงเวลาไม่เกินบ่าย 2 หรือ บ่าย 3  เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกนอนนานเกินไปจนไม่สามารถนอนตอนกลางคืนได้ โดยที่ระหว่างวันคุณแม่ต้องปล่อยให้ลูกได้เล่นได้อย่างเต็มที่ หรือถูกกระตุ้นด้วยการพูดคุย การร้องเพลง การอ่านหนังสือ การให้เจ้าตัวน้อยได้เล่นระหว่างวันจะทำให้ลูกนอนหลับได้ดีในตอนกลางคืน

สำหรับในช่วงกลางคืน แนะนำว่า คุณแม่ควรทำให้ลูกหลับภายในระยะเวลา 30 นาที และควรพาลูกเข้านอนก่อนเวลา 20:00 น. เพราะถ้าหากลูกนอนดึกไปมากกว่ากว่านี้จะยิ่งทำให้ลูกหลับยากขึ้น และตื่นกลางดึกบ่อย คุณแม่ก็จะเหนื่อยมากขึ้น และได้พักผ่อนน้อยลงไปอีก ซึ่งวิธีการกล่อมลูกนอนหลับ มีดังต่อไปนี้

  1. หรี่ไฟในห้องนอนลง อย่าให้สว่างเกินไป หรือมืดเกินไปจนคุณมองไม่เห็น
  2. อ่านหนังสือ หรือนิทานให้ลูกฟัง
  3. ร้องเพลงเบาๆ เพื่อขับกล่อมให้ลูกนอน
  4. นวดผ่อนคลายลูกเบาๆ
  5. ใช้ผ้าห่อตัวลูก แต่อย่าให้แน่นเกินไป และควรเว้นบริเวณช่วงจมูกไว้ด้วย เพื่อป้องกันโรคไหลตายในทารก
  6. หากลูกติดผ้าหรือตุ๊กตาก็ควรหยิบมาให็ลูกกอด
  7. ตบหลังลูกเบาๆ เป็นจังหวะให้ลูกเคลิ้มจนหลับไป
  8. ใช้เสียงธรรมชาติให้ลูกหลับ ที่เรียกว่า White Noise เช่น เสียงพัดลม เสียงฝน
  9. อุ้มลูกแล้วโยกตัวไปมา จนกว่าลูกเคลิบเคลิ้มแล้วหลับไป

 

ความสำคัญในการนอนของเด็ก ประโยชน์ และเทคนิคดูแลลูกเพื่อป้องกันอันตราย

ตารางเวลานอนลูก

ใครบอกว่าการนอนหลับไม่สำคัญและมองข้ามอยู่ อยากให้ทุกคนเปลี่ยนความคิดนั้นเพราะการนอนหลับนั้นสำคัญและมีประโยชน์กว่าที่คุณคิด ความสำคัญในการนอนของเด็ก นั้นส่งผลต่อการพัฒนาหลาย ๆ ด้านของเด็ก

  • การนอนหลับมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ภูมิคุ้มกัน การเรียนรู้ และความจำ
  • เด็กนอนหลับต้องการการเปลี่ยนแปลงเท่าไหร่เมื่อโตขึ้น
  • การนอนหลับเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น
  • เราทุกคนต้องผ่านวงจรของการนอนหลับลึกและเบาตลอดทั้งคืน

 

ทำไมการนอนหลับจึงสำคัญ

การนอนหลับนั้นส่งผลต่อเด็กทางร่างกาย มันช่วยให้พวกเขาเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่พวกเขา อีกทั้งการนอนหลับยังช่วยให้เด็กโตขึ้น ตัวอย่างเช่น ร่างกายของเด็กผลิตฮอร์โมนการเจริญเติบโตเมื่อพวกเขาหลับ เด็กมักต้องการการนอนหลับเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาที่กำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

เด็กทุกวัยจำเป็นต้องนอนหลับให้เพียงพอเพื่อให้สามารถเล่น เรียนรู้ และมีสมาธิในการทำกิจกรรมระหว่างวัน การนอนในวัยต่าง ๆ

นอกจากนี้เมื่อทารกและเด็กนอนหลับ มันจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อพวกเขาอายุมากขึ้น ตัวอย่างเช่น เมื่อทารกโตขึ้นพวกเขาจะนอนน้อยลงในช่วงกลางวันและนอนในตอนกลางคืนมากขึ้น และเด็กโดยทั่วไปต้องการนอนน้อยลงเมื่อพวกเขาโตขึ้น

ความต้องการและรูปแบบการนอนหลับของเด็กแตกต่างกันไป ดังนั้นข้อมูลด้านล่างเป็นเพียงแนวทางให้สามารถนำไปปรับใช้ เพราะการนอนหลับของลูกคุณนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไป

 

ทารกแรกเกิด

ทารกแรกเกิดนอนหลับในช่วงกลางวันและกลางคืน พวกเขามีสองประเภทที่แตกต่างกัน การนอนหลับที่ใช้งานและการนอนหลับที่เงียบสงบ ในการหลับอย่างแข็งขัน ลูกน้อยของคุณจะเคลื่อนไหว คุณอาจเห็นการกระตุกหรือดูดปาก ในส่วนของการนอนหลับที่เงียบสงบลูกน้อยของคุณจะหายใจอย่างสม่ำเสมอ

ทารกแรกเกิดจะเคลื่อนที่ผ่านการนอนหลับที่เงียบสงบในรอบเวลาประมาณ 30-50 นาที พวกเขาอาจตื่นขึ้นหลังจากรอบการนอนหลับและต้องการความช่วยเหลือในการกลับไปนอน

 

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

ฝึกลูกให้ฉลาด ด้วย Executive Functions (EF) –  ฝึกสมองลูกด้วยงานบ้านง่าย ๆ

จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิง ที่บริหารประเทศไปพร้อมกับเลี้ยงลูก

“แม่กบ” พา “ณดล – ณดา” ตีตั๋วตะลุยแหล่งเรียนรู้ราชบุรีสุดหรรษา ลงมือปั้น – เพ้นท์โอ่งครั้งแรก!! กับ สก๊อต คิตซ์ ซุปไก่สกัด สำหรับเด็ก

บทความโดย

bossblink