ตารางน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ แต่ละสัปดาห์เป็นยังไงบ้าง

undefined

คุณพ่อคุณแม่ต้องอยากทราบแน่ๆ ว่าลูกน้อยในครรภ์โตแค่ไหนแล้ว ก่อนจะไปอัลตร้าซาวน์แต่ละครั้ง คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ว่า ลูกน้อยควรจะมีขนาดและน้ำหนักเท่าไหร่ตามอายุครรภ์ เพื่อเวลาผลอัลตร้าซาวนด์ออกมาจะได้ปรึกษาคุณหมอหากลูกในครรภ์ไม่โตตามเกณฑ์ หรือมีน้ำหนักมากเกินไป มาดูกันดีกว่า ตารางน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ แต่ละสัปดาห์เป็นยังไงบ้าง

 

ตารางน้ำหนักลูกน้อยในครรภ์ น้ําหนักทารกในครรภ์

 

ตารางน้ำหนักทารกในครรภ์

7 ปัจจัยสร้างลูกน้อยสมองดีตั้งแต่ในครรภ์

 

1. อายุคุณแม่

คุณแม่ที่มีเจ้าตัวน้อยในวัย 30 มีแนวโน้มที่ลูกจะฉลาด ตามการวิจัยของ the London School of Economics ทั้งนี้การที่ลูกฉลาดอาจไม่ได้เป็นเพราะอายุของแม่ แต่พบว่าแม่ที่มีลูกคนแรกในวัยสามสิบนั้น มักจะมีการศึกษาที่สูงขึ้น มีรายได้มากขึ้น มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงมากขึ้น มีไลฟ์สไตล์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น มีการวางแผนก่อนจะมีบุตร และมีการหาความรู้ในการดูแลครรภ์เป็นอย่างดี

บทที่เกี่ยวข้อง : เชื่อหรือไม่!! คุณแม่ ท้องอายุ 30 ปี ส่งผลให้ “ลูกฉลาดแข็งแรง” ที่สุด

 

ปัจจัยสร้างลูกน้อยสมองดี-คุยกับลูกในท้อง น้ําหนักลูกในครรภ์ 7 เดือน

 

2. ความรักและการเอาใจใส่เจ้าตัวน้อย

คุณแม่ที่แสดงออกถึงความรักที่มีต่อเจ้าตัวน้อย เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ลูกมีสุขภาพดี มีความสุข และรู้สึกผ่อนคลาย การสื่อความรักด้วยการพูดคุยกับลูกในท้องอย่างอ่อนโยนจะส่งผลดีต่อความจำ และอารมณ์ของเจ้าตัวน้อย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างพื้นฐานด้านภาษาที่ดีอีกด้วย

บทที่เกี่ยวข้อง : “คุยกับลูกในท้อง” วิธีที่พ่อมิค-แม่เบนซ์ส่งผ่านความรักถึงลูกสาวในท้อง (ชมคลิป)

 

3. น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม

การที่คุณแม่น้ำหนักเพิ่มมากเกินไประหว่างตั้งครรภ์ส่งผลให้ลูกตัวโต คลอดยาก ซึ่งอาจมีความเสี่ยงต่อสมองของเจ้าตัวน้อย แต่หากคุณแม่น้ำหนักเพิ่มน้อยเกินไปก็ส่งผลให้ทารกศีรษะและสมองเล็ก ทำให้ลูกมีระดับไอคิวต่ำ ทั้งนี้น้ำหนักที่เหมาะสมของคุณแม่ท้องควรเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัมตลอดการตั้งครรภ์

บทที่เกี่ยวข้อง : คุมน้ำหนักตอนท้องอย่างไร ให้น้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์พอดี

 

ปัจจัยสร้างลูกน้อยสมองดี-โอเมกา3 น้ําหนักลูกในครรภ์ 7 เดือน

4. อาหารทะเล ปลา และโอเมกา-3

นักวิจัยพบว่าทารกที่เกิดจากคุณแม่ที่มีระดับกรดไขมันโอเมกา-3 หรือดีเอชเอในเลือดสูงกว่า จะมีความสามารถในการจดจ่อได้ยาวนานกว่า โดยพบว่าในเด็กอายุ 6 เดือนจะจดจ่อได้ดีกว่าเด็กที่คุณแม่มีระดับดีเอชเอต่ำกว่าถึงสองเดือน นอกจากนี้ยังพบว่า การที่คุณแม่รับประทานปลามากขึ้นระหว่างตั้งครรภ์สามารถเพิ่มไอคิวของลูกได้ และการรับประทานปลาในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรกดูเหมือนจะมีผลต่อคะแนนการทดสอบไอคิวของลูกมากกว่า เมื่อเที่ยบกับคุณแม่ที่รับประทานปลาในภายหลัง

 

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) แนะนำให้รับประทานอาหารทะเลไม่เกิน 340 กรัมต่อสัปดาห์ หรือประมาณ 2 มื้อต่อสัปดาห์ โดยให้รับประทานปลาที่หลากหลายและเลือกอาหารทะเลที่มีสารปรอทต่ำ เช่น กุ้งทะเล ปลาแซลมอน ปลาดุกทะเล ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาซาร์ดีน และปลากะตัก

บทที่เกี่ยวข้อง : สุดยอดอาหารบำรุงครรภ์ 10 อย่าง

5. เบคอนและไข่

ดร. เจอรัลด์ เวสแมน บรรณาธิการบริหาร the Federation of American Societies for Experimental Biology journal กล่าวว่า เบคอนและไข่ช่วยเพิ่มพลังสมองให้ลูกในครรภ์ เนื่องจากโคลีนซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญในการพัฒนาสมองในส่วนของการจดจำข้อมูลใหม่และระลึกถึงความทรงจำที่เก็บไว้

บทที่เกี่ยวข้อง : โคลีนพัฒนาสมองทารกตั้งแต่ในครรภ์

 

ปัจจัยสร้างลูกน้อยสมองดี-ออกกำลังกาย น้ําหนักลูกในครรภ์ 7 เดือน

6. การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์มีประโยชน์ต่อการหายใจของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ และการพัฒนาระบบประสาทอัตโนมัติ จากการศึกษาของ The American Physiological Society พบหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า คุณแม่ที่ยังคงออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์มีลูกที่ฉลาดกว่า นอกจากนี้การศึกษาของ the University of Montreal พบว่า หากคุณแม่ท้องออกกำลังกายเพียง 20 นาที 3 ครั้งต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มการทำงานของสมองทารกแรกเกิดได้ การเต้นแอโรบิคช่วยเพิ่มการทำงานของไมโทคอนเดรียในสมองของแม่ ซึ่งทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ โดยจะส่งผ่านไปทางรกและเป็นประโยชน์ต่อสมองของทารกในครรภ์เช่นเดียวกัน

บทที่เกี่ยวข้อง : 7 วิธีออกกำลังกาย แม่ตั้งครรภ์ควรลอง

 

7. คลอดในสัปดาห์ที่ 41

ตามรายงานของวารสาร JAMA Pediatrics พบว่า ทารกที่คลอดเมื่ออายุครรภ์ 41 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่วัยเรียนจะมีคะแนนสอบที่สูงกว่า และมีเปอร์เซ็นต์ที่จัดอยู่ในกลุ่มปัญญาเลิศสูงกว่า ในขณะที่มีเปอร์เซ็นต์ในกลุ่มสติปัญญาต่ำน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม หากเด็กอยู่ในครรภ์แม่นานถึง 42 สัปดาห์ถือว่าตั้งครรภ์เกินกำหนดคลอดอาจเป็นอันตรายต่อทั้งแม่และลูกได้

 

อยากให้ลูกมีพัฒนาการสมองดี แม่ต้องสร้างและบำรุงลูกด้วยโภชนาการที่ดีมาตั้งแต่ตอนที่ลูกอยู่ในท้อง และเมื่อลูกคลอดออกมาแล้วอาหารที่มีส่วนช่วยบำรุงสมองก็ยังมีความจำเป็นอย่างต่อเนื่อง และนอกจากอาหารก็ต้องกระตุ้นพัฒนาการสมองลูกด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมตามวัยลูกด้วย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เทคนิคเลือกชุดคลุมท้อง ให้เหมาะกับสรีระที่เปลี่ยนแปลง

กินเพื่อลูก! เรื่องของโภชนาการที่คนท้องจำเป็นต้องรู้

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 91 เครื่องดื่ม ที่ทำให้คนท้องเสี่ยงแท้ง

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!