แม่ท้องไตรมาส 3 ต้องรับมือกับอาการสุขภาพอะไรบ้าง

อุ้มท้องมาจนเข้าสู่การตั้งครรภ์ไตรมาส 3 คุณแม่ท้องหลายๆ คน คงจะกำลังอุ้ยอ้ายเต็มที อดทนกันไว้อีกนิด เพราะอีกไม่กี่สัปดาห์หลังจากนี้ก็ใกล้ถึงช่วงเวลาคลอดเจ้าตัวน้อยออกมาแล้วค่ะ ในระหว่างนี้มาเช็กอาการที่มักจะเกิดขึ้นกับแม่ท้องในช่วงสามเดือนสุดท้ายนี้กันว่าแม่ท้องต้องรับมือกับอาการสุขภาพอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นที่รู้กันว่าช่วงตั้งครรภ์ไตรมาส 3 แม่ท้องจะมีความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันอยู่บ้าง เนื่องจากขนาดครรภ์บวกกับสรีระที่ขยายใหญ่ขึ้น ส่งผลให้แม่ท้องทำกิจกรรมต่างๆ ได้ช้าลง จะขยับตัวทำอะไรก็ดูอุ้ยอ้ายไปหมด ซึ่งคนท้องส่วนใหญ่มักจะรู้สึกรำคาญตัวเองในช่วงสามเดือนสุดท้ายนี่แหละค่ะ  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นสามี หรือเพื่อนฝูง ญาติมิตรรอบข้างต้องให้กำลังใจแม่ท้องกันมากๆ ด้วยนะคะ

 

และด้วยความอุ้ยอ้ายของแม่ท้อง ต้องระมัดระวังในการทรงตัวให้มากขึ้น เพราะน้ำหนักของหน้าท้องที่มากขึ้นจะทำให้แม่ท้องเสียสมดุลในการทรงตัว และเป็นสาเหตุของอาการปวดหลัง1

 

อาการปวดหลัง ที่เกิดระหว่างตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้าย มาจากการที่คุณแม่ท้องจะต้องแบกรับน้ำหนักของท้องที่ใหญ่มากขึ้น  ส่งผลให้ต้องแอ่นหลัง เพื่อปรับสมดุลของร่างกาย ซึ่งการแอ่นหลังนานๆ จะทำให้แม่ท้องปวดหลัง แนะนำเวลาที่ต้องนั่ง ยืน เดิน หรือเคลื่อนไหวควรทำด้วยความระมัดระวัง และให้หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง  การยกหรือถือของหนักๆ ส่วนอย่างเวลานั่งคุณแม่ท้องควรนั่งให้หลังตรง นั่งให้สะโพก ไหล่ชิดพนักพิง แล้วหาหมอนใบเล็กๆ มารองตรงบั่นเอวและต้นคอ ส่วนเวลานอนควรนอนตะแคงแล้วมีหมอนแทรกไว้ระหว่างขา2 นอกจากนี้การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยทำให้ร่างกายของแม่ท้องแข็งแรง ช่วยพยุงรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้3

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ยังมีอีกหนึ่งอาการที่มักจะเกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งในการตั้งครรภ์ไตรมาส 3 ก็พบว่าแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีปัญหาการเกิดตะคริวขึ้นมา
อาการตะคริว สำหรับแม่ท้องมักจะเป็นตะคริวในช่วง  2-3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ คุณแม่ที่เดินมาก ยืนนาน หรือนั่งห้อยเท้าในท่าเดียวตลอดวัน อาจเป็นตะคริวได้ สาเหตุเกิดได้จากคุณแม่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ หรือขาดเกลือแร่ระหว่างตั้งครรภ์  การป้องกันการเกิดตะคริวคือให้คุณแม่เติมแคลเซียมให้กับร่างกาย แนะนำให้คุณแม่ดื่มนมให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีแคลเซียม เช่น กุ้งแห้ง ปลากรอบมีกระดูก4

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คนท้องไม่ใช่คนป่วย ฉะนั้นไม่ว่าจะมีอาการสุขภาพอะไรเกิดขึ้นก็ตาม  ขอให้แม่ท้องดูแลตัวเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอที่ดูแลคุณแม่อย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ เพื่อให้การตั้งครรภ์ตลอดทั้ง 9 เดือนเป็นการตั้งครรภ์คุณภาพนั่นเองค่ะ และขอส่งกำลังใจให้กับคุณแม่ที่กำลังจะใกล้คลอดในอีกไม่ช้านี้ค่ะ ขอให้การคลอดราบรื่นปลอดภัย สุขภาพแข็งแรงทั้งคุณแม่คุณลูกค่ะ

 

 

References :
1คู่มือคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์และคลอดสำหรับคุณแม่รุ่นใหม่. 2554. หน้า 118.
2รศ.นพ.วิทยา ถิฐาพันธ์. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอดสำหรับคุณแม่ยุคใหม่. หน้า 167.
3รศ.พญ.สายฝน ชวาลไพบูลย์, และ นพ.วิชัย ชวาลไพบูลย์. 40 สัปดาห์พัฒนาครรภ์คุณภาพ. 2555. หน้า 144-145.
4รศ.นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ. คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. 2540. หน้า 128.

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

อภิญญา คำเอก