ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นได้ยังไง แก้ยังไงให้หาย?

คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายเตรียมใจไว้เลยนะคะ เมื่อท้องแล้วโอกาสที่จะเป็นตะคริวมีสูงมากกว่าตอนไม่ท้องแน่นอน การเป็นตะคริวจะพบได้บ่อยเมื่อท้องเริ่มใหญ่ขึ้นซัก 6 เดือนขึ้นไป ทำไมเราถึงต้องเป็น ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นแล้วอันตรายมั้ย แก้ยังไงให้หาย? มาอ่านบทความนี้กันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้สำหรับคนท้องทุกคน เนื่องจากระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมากในช่วงตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อฝืด ไม่ยืดหยุ่นในระหว่างที่มีการปรับตัวของร่างกาย จนบางครั้งอาจปวดตะคริวจนนอนไม่หลับ สะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกได้ จะรับมือกับการเป็นตะคริวในขณะตั้งครรภ์อย่างไรกันดี

ตะคริวที่ท้องขณะตั้งครรภ์ ถ้าเป็นแล้วอันตรายมั้ย แก้ยังไงให้หาย?

การเกิดตะคริวที่บริเวณท้อง ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของมดลูกและการยืดตัวของเอ็น ที่ทำให้ปวด และมักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปไม่ส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ แต่บางคนอาจมีอาการที่น่าเป็นห่วง ถ้าหากปวดในลักษณะที่รุนแรงและมีอาการแทรกซ้อน จำเป็นต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน อาจมีความเสี่ยงต่อการแท้งลูกได้

 

สาเหตุของการเป็นตะคริวบริเวณท้องขณะตั้งครรภ์ที่พบบ่อย :

  • เกิดจากอาการริดสีดวงระหว่างตั้งครรภ์ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของสาเหตุการเป็นตะคริวที่ท้องได้
  • การเจ็บท้องเตือน
  • กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำให้คุณแม่รู้สึกเจ็บบริเวณเชิงกรานและเป็นตะคริวบริเวณท้องได้
  • ร่างกายที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในขณะตั้งครรภ์ทำให้เอ็นและกล้ามเนื้อในบริเวณนั้นไม่ค่อยได้ยืดตัว แต่มีการหดรั้งอย่างมากเมื่อมีการใช้งานกล้ามเนื้อในส่วนนั้น
  • การไหลเวียนของเลือดไม่ค่อยดี โดยเฉพาะกับคนที่มีปัญหาภาวะเบาะหวาน ฯลฯ ที่มักจะเป็นตะคริวได้บ่อยและง่ายกว่า

ภาวะแทรกซ้อนอันตรายที่อาจเกิดจากการเป็นตะคริวบริเวณท้อง เช่น อาการแท้งที่มีเลือดออกร่วมกับการเป็นตะคริว การท้องนอกมดลูก รกเกาะต่ำ อาหารเป็นพิษ นิ่ว ปัญหาเกี่ยวกับตับ เป็นต้น ดังนั้นหากคุณแม่รู้สึกปวดเป็นตะคริวอย่างต่อเนื่อง อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจนะคะ ควรรีบไปปรึกษาคุณหมอที่ฝากครรภ์ทันที

เวลาเป็นตะคริวควรป้องกันอย่างไร แก้ยังไงให้หาย? อ่านหน้าถัดไปนะคะ >>

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาเป็นตะคริวควรป้องกันอย่างไร แก้ยังไงให้หาย?

  • พยายามออกกำลังกายเบา ๆ อย่างสม่ำเสมอ เลือกท่าทางที่เหมาะสมกับอายุครรภ์ ขยับหรือเปลี่ยนอิริยาบทต่างๆ อย่างช้า ๆ เช่น การเดินก็สามารถช่วยลดการเกิดตะคริวได้ และ
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารที่มีมีส่วนช่วยในการลดการเกิดตะคริว แก้อาการตะคริวได้ เช่น

- แมกนีเซียมที่มีอยู่ใน อะโวคาโด, กล้วย, ธัญพืช, โยเกิร์ต, มันฝรั่ง, เมล็ดฟักทอง, ลูกเกด, ผักขม, นมถั่วเหลือง, เต้าหู้ เป็นต้น

- แคลเซียม เช่น นม ปลาเล็กปลาน้อยทอด ผักใบเขียว ลูกพรุน งาดำ เต้าหู้น้ำ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

- โพแทสเซียมสูง เช่น กล้วย ลูกเกด เมล็ดทานตะวัน อินทผาลัม ปลาแซลมอน เป็นต้น

  • รับประทานผลไม้ที่มีเกลือแร่ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดเกลือแร่ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าเกิดเป็นตะคริวช่วงกลางคืนบ่อย ๆ ให้ดื่มนมมากขึ้นในช่วงก่อนนอน

ทั้งนี้หากเป็นตะคริวบริเวณท้องอย่างต่อเนื่อง รักษาเบื้องต้นไม่หาย หรือพบว่ามีเลือดออกเป็นจำนวนมากร่วมกับการเป็นตะคริว ควรไปหาคุณหมอทันที เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจส่งผลถึงทารกในครรภ์นะคะ


ข้อมูลอ้างอิงจาก :

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

www.sportnotgame.wordpress.com

https://women.sanook.com

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แม่ท้องเป็นตะคริวแทบทุกคืน สามีช่วยยังไงดี

ภาวะตะคริวในช่วงตั้งครรภ์

บทความโดย

Napatsakorn .R