การตรวจนิฟตี้ NIFTY ตอนตั้งครรภ์จำเป็นแค่ไหน ลูกเอ๋อ ไม่เอ๋อ รู้ได้จาก NIFTY

undefined

การตรวจนิฟตี้ ( NIFTY test) คืออะไร

คือการตรวจกรองหาลักษณะความผิดปรกติของโครโมโซมทารก ในครรภ์แม่ โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ แต่ใช้วิธีเจาะเลือดของคุณแม่เพียง 10 มิลลิลิตร หรือประมาณ 3 ช้อนโต๊ะเท่านั้น โดยคุณแม่สามารถเข้ารับการตรวจได้ เมื่อมีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10 สัปดาห์ขึ้นไป เพราะเป็นช่วงเวลาที่เด็กในท้องมีอวัยวะครบสมบูรณ์ และเริ่มพัฒนาการใช้อวัยวะต่าง ๆ มากขึ้น และ DNA ของลูกสามารถส่งผ่านเนื้อเยื่อบาง ๆ จากสายรกเข้าไปปะปนกับระบบเลือดของแม่ จึงใช้เลือดแม่ตรวจหาโรคทางพันธุกรรมของลูกได้ โดยไม่ต้องเจาะน้ำคร่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง และคุณแม่เจ็บตัวมากกว่า การตรวจนิฟตี้ NIFTY จะเน้นกลุ่มความผิดปรกติที่พบบ่อย  ปากแหว่ง เพดานโหว่ ปัญญาอ่อน ปากและกรามเล็ก คางเว้า หูหนวก นิ้วมือ นิ้วเท้าเกิน หัวใจ และไตทำงานผิดปรกติ สมองพิการ

การตรวจนิฟตี้ NIFTY

ความแม่นยำของตรวจนิฟตี้ เอ๋อ ไม่เอ๋อ รู้ได้เลย

การเจาะตรวจสารชีวะเคมีในเลือดแม่สามารถให้ผลลัพธ์ที่ชัดเจนกว่าแต่ก็ตรวจพบได้เพียง 60% ของทารกดาวน์ทั้งหมด และอีก 5% ตรวจพบว่าเป็น ทั้งที่ไม่ได้เป็น แม้ว่าขั้นตอนการเจาะตรวจ และการวิเคราะห์ ทุกขั้นจะทำโดยแพทย์ และเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญแต่ความคลาดเคลื่อนก็ยังคงเกิดขึ้นได้ ทำให้คุณแม่ต้องเจ็บตัวฟรี แถมบางทีต้องเจ็บใจซ้ำไปด้วย  ตอนนี้มีเทคโนโลยีการตรวจแบบใหม่ที่ให้ผลการตรวจที่แม่นยำถึง 99% และจากผลการตรวจที่ใช้อาสาสมัครคุณแม่ท้อง 112,000 คนพบอัตราการตรวจผิดพลาดเพียง 0.1% เท่านั้น! ทำให้ในปัจจุบันมีคุณแม่ตั้งท้องถึง 400,000 รายเลือกวิธีการตรวจนี้ในการตรวจหาความผิดปรกติทางพันธุกรรมของลูก

การตรวจนิฟตี้เหมาะกับคุณแม่ท้องที่มีคุณสมบัติอย่างไร

  • คุณแม่ตั้งท้องอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • แพทย์ตรวจพบความผิดปรกติของทารกที่อาจมีความเสี่ยงต่อโรคทางพันธุกรรมด้วยการตรวจอัลตร้าซาวด์
  • ต้องการตรวจยื่นยันผลความผิดปรกติทางพันธุกรรมของทารกจากการตรวจครั้งแรกด้วยวิธีอื่น
  • มีภาวะเสี่ยงที่ไม่อาจเจาะตรวจน้ำคร่ำ เช่น ภาวะแท้งบุตรง่าย ภาวะรกเกาะต่ำ  หรือรกเกาะอยู้บริเวณส่วนล่างของปากมดลูก หรือแม่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิดบี หรือ ซี
  • มีความผิดปรกติทางพันธุกรรมของทารกชนิด trisomy จากการท้องครั้งก่อน
  • การมีภาวะแท้งซ้ำซ้อนหรือเข้ารับการรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยวิธีการเด็กหลอดแก้ว
  • คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคผิดปรกติทางพันธุกรรม

ตรวจเร็ว รู้เร็ว

การตรวจนิฟตี้ให้ผลแม่นยำ  ชัดเจน เจ็บตัวน้อย สะดวกก่อนตรวจไม่ต้องงดน้ำ  งดอาหาร และรู้ผลภายใน 10วัน แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย ทำให้การเลือกตรวจชนิดนี้ขึ้นอยู่ที่ความพร้อม และความจำเป็นในแต่ละครอบครัว เพราะการมีลูกที่ป่วยเป็นโรคทางพันธุกรรมย่อมสร้างภาระที่หนักหนาสาหัสให้พ่อแม่ การตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ในระยะแรกของการตั้งครรภ์จะช่วยให้คุณมีเวลาคิด และตัดสินใจเลือกหาทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาตามไปด้วย หากคุณแม่คนไหนรู้ว่าตัวเองเข้าเกณฑ์มีความเสี่ยง ก็อย่ารอช้าเพื่อความสบายใจตรวจนิฟตี้กันเถอะค่ะการตรวจนิฟตี้ NIFTY

หลายวิธีตรวจความสมบูรณ์ของลูกในครรภ์

บทความ : จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องแข็งแรง สมบูรณ์ สุขภาพดี คนท้องควรทำอย่างไร

1. การตรวจอัลตราซาวด์

ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์นั้น การตรวจอัลตราซาวด์จะช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติบางอย่าง เช่นภาวะไม่มีกะโหลกศีรษะ และวินิจฉัยชนิดครรภ์แฝด รวมไปถึงประเมินอายุครรภ์ได้อย่างแม่นยำ หลังจากนั้นในช่วง 5 – 6 เดือนของการตั้งครรภ์ ก็จะสามารถตรวจหาความผิดปกติของโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ (Fetal Structural Abnormality) โดยเฉพาะโครงสร้างหลัก (Major Structures) ได้แก่ กะโหลกศีรษะ เนื้อสมอง โครงกระดูก แขนขา ทรวงอก เนื้อปอด หัวใจ ผนังหน้าท้อง อวัยวะหลักภายในช่องท้อง ได้แก่ ตับ ไต ความผิดปกติของลำไส้บางชนิด กระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะส่วนอื่น เช่น ภาวะปากแหว่ง จำนวนนิ้วมือนิ้วเท้าครบหรือไม่ เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถตรวจปริมาณน้ำคร่ำ ลักษณะของรก ตำแหน่งที่รกเกาะ และสายสะดือได้อีกด้วยนะครับ

2. การตรวจการดิ้นของทารกในครรภ์

วิธีการนับลูกดิ้น ก็เป็นอีกวิธีที่คุณแม่สามารถสังเกตความแข็งแรงและประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์ได้ ซึ่งคุณแม่จะสามารถรับรู้การดิ้นของลูกในท้องได้ในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 16 – 20 สัปดาห์ขึ้นไป การที่ทารกดิ้นน้อยลง มักเกิดร่วมกับภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรัง และอยู่ในภาวะอันตราย โดยทารกจะดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้นเป็นเวลา 12 – 48 ชั่วโมง ก่อนที่จะเสียชีวิต คุณแม่จึงต้องคอยสังเกตการดิ้นของทารก หากพบว่าทารกดิ้นน้อยลง นับเป็นสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว โดยเฉพาะเมื่อตั้งครรภ์ตั้งแต่ 32 สัปดาห์ขึ้นไป

การตรวจนิฟตี้ NIFTY

3. การวัดความสูงยอดมดลูก

ในระหว่างการตั้งตรรภ์ หากทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรง ทารกก็จะมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดมดลูกสูงขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่ตั้งครรภ์ ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 ถึงสัปดาห์ที่ 34 ซึ่งวิธีวัดความสูงยอดมดลูกนั้นสามารถบอกได้ว่าสุขภาพของทารกในครรภ์นั้นเป็นอย่างไร ทารกตัวใหญ่แค่ไหน และยังสามารถบอกอายุครรภ์ได้อีกด้วย ซึ่งถ้าหากว่าระดับยอดมดลูกผิดปกติ ก็อาจบ่งบอกได้ว่าอาจมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ หรือลูกตัวใหญ่เกินเกณฑ์ได้ครับ

4. การนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ

คุณหมอจะนำเซลล์ของทารกในครรภ์มาตรวจหาโครโมโซม หรือดีเอ็นเอ ในรายที่สงสัยว่ามีโรคทางพันธุกรรมชนิดต่างๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์และโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น ซึ่งวิธีการในการนำเซลล์ทารกในครรภ์มาตรวจนั้น สามารถทำได้โดยการเจาะดูดน้ำคร่ำ การตัดเนื้อรก และการเจาะดูดจากเลือดของทารกโดยตรง

5. การตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารก

คุณหมอจะทำการตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ หากทารกในครรภ์มีสุขภาพแข็งแรงและไม่ขาดออกซิเจน เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ก็จะส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจทารกเร็วขึ้นในตอนที่ทารกดิ้น

_________________________________________________________________________________________

ลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ กับ theAsianparent Thailand ตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรก มาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ว่าลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และ ลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอพพลิเคชั่นในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแล ทั้งอาหารการกิน โดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้าง ที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้ หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคล ทั้งเด็กหญิง และเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

 

 

แหล่งข้อมูล

www.pharmacy.mahidol.ac.th

www.thaibiotech.info

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทำไมตอนท้องตกขาวเยอะจัง บางคนก็บอกเป็นมูกตั้งครรภ์ เอ๊ะยังไงกันอันตรายมั๊ย 

ความแตกต่างระหว่าง คนท้องคนอ้วน ต่างกันตรงไหน

ท้องแล้ว ควรฝากครรภ์เมื่อไหร่ดี?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!