ดียังไง คลอดลูกช่วงเทศกาล

คุณแม่หลายคนคงกำลังกังวล หากมีกำหนดคลอดที่ใกล้เคียงกับช่วงเทศกาลวันหยุดยาวต่างๆ คุณหมอและคุณพยาบาลจะอยู่ไหม? เครื่องไม้เครื่องมือจะพร้อมไหม?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ข้อดีของการ คลอดลูกช่วงเทศกาล

ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ คุณหมอ และ คุณพยาบาลส่วนหนึ่งจะเข้าเวรเตรียมพร้อมรับมือตลอด 24 ชั่วโมงอยู่แล้วค่ะ ยิ่งเป็นช่วงเทศกาลที่มีการเดินทางระหว่างจังหวัดกัน หรือ เป็นเทศกาลที่มีงานฉลองด้วยแล้วละก็ และ รู้ไหมคะว่าช่วงเทศกาลนี่แหละค่ะ ที่โรงพยาบาลจะเจองานหนัก ๆ ในแต่ละปี และหนึ่งในนั้นคือ คลอดลูกช่วงเทศกาล

 

คุณหมอและคุณพยาบาลอาจจะอยากหยุดในช่วงเทศกาล จะมีผลต่อการทำงานไหม ?

การเข้าเวรตามกะ และ ข้อตกลงระหว่างคุณหมอคุณพยาบาล และ โรงพยาบาลมีอยู่อย่างเป็นธรรมค่ะ เช่น คุณหมอ และ คุณพยาบาลที่เข้าเวรในช่วงปีใหม่นอกจะได้รับเงินพิเศษแล้ว ยังได้หยุดในช่วงสงกรานต์แทน เป็นต้นค่ะ นอกจากนี้การได้ช่วยคุณแม่คลอดลูกออกมาอย่างปลอดภัย ก็เป็นงานที่ทั้งคุณหมอ และ คุณพยาบาลเต็มใจอย่างที่สุดเลยละค่ะ แล้วตามความเป็นจริงแล้วเราจะคลอดวันไหนก็ไม่สามารถอัดอั้นไว้ก่อนได้นะคะ ถ้าแม่ ๆ ปวดท้องคลอดแล้วควรรบไปพบคุณหมอกันนะคะ

ดังนั้นไม่ต้องกังวลไปหากลูกจะอยากออกมาดูโลกในช่วงเทศกาลเหล่านี้ แถมบางโรงพยาบาลยังมีการต้อนรับทารกแรกเกิดด้วยธีมตามเทศกาลต่าง ๆ อีกด้วยนะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ข้อดีอื่น ๆ ของการ คลอดลูกช่วงเทศกาล

  • ไม่เจอรถติด (ในบางสถานที่) การจราจรในช่วงวันหยุดเทศกาลจะต่างกันกับวันทำงานมาก และเนื่องจากคนที่อาศัยอยู่ในเมืองอาจจะเดินทางกลับบ้านหรือเดินทางท่องเที่ยว ทำให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเจอรถติดเหมือนวันธรรมดาค่ะ
  • ญาติหรือผู้ใหญ่มาเยี่ยมได้ง่าย เนื่องจากเป็นวันหยุดของทุกคน ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปว่าจะไม่มีใครมาค่ะ นอกจากนี้หากญาติหรือเพื่อนๆ มีแผนที่จะไปเที่ยวหรือวางแผนไว้ก่อนไหน้านี้ ก็ยังเป็นเรื่องที่เข้าใจได้นะคะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การคลอดลูกเองตามธรรมชาติ

เริ่มตั้งแต่ในระยะเจ็บครรภ์จริง ที่คุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์สม่ำเสมอเป็นระยะ เนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จนกระทั่งถึงเวลาที่ปากมดลูกเปิดประมาณ 10 ซม. ช่วงนี้จะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด ในระยะนี้คุณแม่ยังคงเจ็บครรภ์อยู่ แต่จะค่อนข้างห่าง 5-10 นาทีต่อครั้ง ครั้งละ 20-30 นาที และจะเริ่มเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น นานมากขึ้น จะมีอาการปวดไปทั่วท้อง บริเวณหลังส่วนล่างแถวเอว และกระเบนเหน็บ และอาจเลยไปถึงต้นขา ในช่วงที่ปวดมาก ๆ คุณหมอจะฉีดยาบรรเทาอาการปวดให้ แต่ถ้าปวดรุนแรงก็อาจจะใช้วิธีการบล็อกหลังเพื่อระงับความเจ็บปวด ในส่วนของทารกซึ่งกลับหัวรออยู่ในท่าคลอด จะมีการหมุนศีรษะอย่างช้า ๆ พร้อมกับเคลื่อนตัวลงต่ำอย่างช้า ๆ เพื่อใช้ศีรษะเป็นส่วนนำออกทางช่องคลอด

เข้าสู่ระยะที่ปากมดลูกเปิดหมด ทารกพร้อมที่จะคลอดออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว ในตอนเบ่งคลอดนี้จะทำให้คุณแม่เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน จะรู้สึกปวดทั่วท้องเป็นระยะ เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่ขึ้น จะปวดบริเวณหลังส่วนล่าง กระเบนเหน็บ และก้นกบ ทารกจะคลอดออกมา โดยเคลื่อนศีรษะในลักษณะก้มหน้า ให้ส่วนที่แคบที่สุดของศีรษะค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกมา พอหัวพ้นช่องคลอด คุณหมอก็จะใช้มือช่วยดึงตัวทารกออกมา ถึงตอนนี้ความเจ็บปวดของคุณแม่ก็จะหายเป็นปลิดทิ้งทันทีเมื่อลูกออกมาพ้นช่องคลอด และได้ยินเสียงลูกร้องไห้แง ๆ เป็นสัญญาณว่าทารกน้อยออกมาแล้ว ความตื้นตันใจก็จะเข้ามาแทนที และอยากที่จะมองเห็นลูกในวินาทีนั้นเลยคือ ระยะที่คุณแม่ผ่านพ้นความเจ็บปวดที่สุดไปแล้ว หลังจากที่ทารกน้อยออกมาดูโลกกว้างด้วยความปลอดภัย แต่ขั้นตอนสุดท้ายยังไม่หมด หลังจากนี้คุณแม่ต้องคลอดรกตามมา ใช้เวลาในการคลอด 5-10 นาที แต่ไม่มีการเจ็บปวดใด ๆ แล้ว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การผ่าคลอด

การผ่าตัดคลอดคือการนำทารกออกมาทางหน้าท้อง นอกจากกรณีที่คุณแม่สมัครใจจะคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดตั้งแต่แรกแล้ว ยังมีกรณีที่แม่ท้องไม่สามารถคลอดตามธรรมชาติแบบปกติได้ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและทำการผ่าตัดคลอดในสาเหตุ

  1. ทารกตัวโตเกินไป
  2. กระดูกเชิงกรานแคบ เล็ก ทารกไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้
  3. ทารกอยู่ในท่าไม่ปกติคือไม่เอาหัวกลับลง อยู่ในท่าขวาง
  4. ทารกเอาก้นลง ไม่สามารถคลอดตามปกติได้
  5. เคยได้รับการผ่าตัดที่มดลูกมาก่อน เช่น ผ่าตัดในครรภ์ก่อนผ่าตัดมดลูก
  6. ทารกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตราย เช่น รกเกาะต่ำ ขาดออกซิเจน
  7. คุณแม่ที่มีอายุมาก
  8. คุณแม่ที่เป็นโรคร้าย เช่น ตัวบวม ความดันโลหิตสูง

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนคลอดลูกไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดลูก โดยวิธีไหน สิ่งสำคัญคือการที่ลูกน้อยออกมา อย่างปลอดภัย และได้ยินเสียงลูกร้องในวินาทีแรก ซึ่งหลังจากนั้น กว่าคุณแม่จะได้พบหน้าลูกน้อยอาจจะต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายและดูอาการหลังคลอด คุณแม่ที่คลอดเองก็อาจจะฟื้นตัวเร็วหน่อย แต่สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด อาจใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวหลังคลอด

ที่มา : Fitpregnancy และ https://th.theasianparent.com/%E0

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

นับถอยหลังสู่วันคลอด แม่ต้องเตรียมตัวคลอดลูกอย่างไรบ้าง

ชีวิตคู่ ช่วงเทศกาล จะรอดไหมถ้าหากอยู่ไกลกัน ไม่ได้เจอกัน!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา