แม่แชร์ ญาติแอบป้อนน้ำองุ่นทารก คิดว่าจะหายตัวเหลือง สุดท้ายลูกเกือบตาย

หลังจากที่ลูกของเธอถูกป้อนน้ำองุ่นเพราะคิดว่าจะช่วยรักษาภาวะตัวเหลืองได้ แทนที่อาการจะดีขึ้น แต่กลับแย่ลงจนต้องเข้าห้องฉุกเฉิน ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในประเทศจีน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่แชร์ ญาติแอบป้อนน้ำองุ่นทารก คิดว่าจะหายตัวเหลือง

คุณแม่ชาวจีนรายนี้เผยว่า ที่เธอต้องรีบพาลูกมาโรงพยาบาลเป็นเพราะลูกของเธอกินน้ำองุ่นเข้าไป เนื่องจากญาติผู้ใหญ่บอกว่า หากให้เด็กกินน้ำผลไม้ หรือผงไข่มุกแล้วจะช่วยรักษาภาวะตัวเหลืองได้ แต่ผลที่ลูกของเธอได้รับกลับกลายเป็นตรงกันข้าม ด้วยความที่อาหารเหล่านี้จะไม่สามารถย่อยและดูดซึมในกระเพาะอาหารและลําไส้ของทารกได้ แทนที่อาการจะดีขึ้น ก็กลับแย่ลงจนลูกของเธอเกือบจะเสียชีวิต

อย่างไรก็ตาม เธอไม่เปิดเผยว่าใครเป็นคนป้อนน้ำองุ่นให้กับลูกของเธอ เพียงแต่เธอบอกว่าเธอได้ขอร้องญาติ ๆ ของเธอแล้ว แต่พวกเขาไม่ยอมเชื่อ

พอไปถึงโรงพยาบาล ทารกถูกนำตัวไปรักษายังห้องฉุกเฉิน เมื่อคุณหมอตรวจรักษากลับพบว่าในกระเพาะอาหารของทารกนั้นเต็มไปด้วยน้ำองุ่น คุณแม่จึงโพสต์เรื่องราวผ่านทางสื่อโซเชียล เพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคุณแม่ท่านอื่น ๆ ได้ระวังถึงอันตรายจากความเชื่อผิด ๆ ที่ทำให้เธอเกือบต้องสูญเสียลูกน้อยไป

ภาวะตัวเหลือง ในทารกแรกเกิด

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดเอาไว้ว่า ภาวะนี้เกิดขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง ทำให้เกิดสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” สารนี้จะอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายต้องกำจัดออกทางตับ โดยเอนไซน์ในตับจะช่วยเปลี่ยนแปลงก่อนที่จะส่งต่อไปยังลำไส้ และขับถ่ายสารเหลืองออกมาทางอุจจาระมากที่สุด

ดังนั้นหากมีโรค หรือ ความผิดปกติใด ๆ ของร่างกายที่มีผลต่อขั้นตอนเหล่านี้ก็จะส่งผลให้ทารกตัวเหลืองมากกว่าปกตินั่นเอง

สาเหตุของภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

สาเหตุภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดที่พบบ่อย และมักไม่เป็นอันตรายในทารกแรกเกิด มีสาเหตุจาก ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกปกติในเด็กทารกแรกเกิด เมื่อเม็ดเลือดแดงแตกออก ก็จะมีสารเหลืองออกมาด้วย และเนื่องจากเด็กแรกเกิดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ อีกทั้งเม็ดเลือดแดงในเด็กมีอายุสั้น และยังมีเม็ดเลือดแดงที่สร้างไม่สมบูรณ์ปริมาณมากเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ อีกทั้งการทำงานของตับเด็กแรกเกิดก็ยังไม่สมบูรณ์ จึงกำจัดสารเหลืองได้ช้า ทำให้เกิดภาวะตัวเหลืองแบบปกติ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดนี้ พบได้ในทารกแรกเกิดเกือบทุกคน ส่งผลให้ให้ทารกตัวเหลืองเล็กน้อย เมื่ออายุ 3-5 วัน จากนั้นจะค่อย ๆ เหลืองน้อยลงจนหายไปได้เอง

ส่วนทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติ จะมีลักษณะที่สังเกตได้คือ เริ่มเหลืองเร็ว เมื่ออายุน้อยกว่า 24 ชั่วโมง และอัตราการเพิ่มของค่าสารเหลืองในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วมาก และมีตัวเหลืองนานเกินกว่า 14 วัน โดยเฉพาะทารกที่ไม่ได้ทานนมแม่

สาเหตุของทารกตัวเหลืองจากความผิดปกติที่พบบ่อยได้แก่

  • กรุ๊ปเลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกมาก พบในแม่เลือดกรุ๊ป O และลูกเป็น กรุ๊ป A หรือ B
  • ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกมาก เนื่องจากโรคที่เม็ดเลือดแดงผิดปกติ ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย, โรคขาดเอนไซน์ G6PD เด็กที่คลอดโดยใช้เครื่องดูดช่วยคลอดจะมีเลือดออกใต้หนังศีรษะ ซึ่งเลือดที่ออกนี้ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่แตกเพิ่มขึ้น
  • เด็กที่มีการทำงานของตับไม่สมบูรณ์ หรือโรคกรรมพันธุ์บางอย่างของตับ ก็ทำให้กำจัดสารเหลืองได้น้อยลง
  • นอกจากนี้ ความผิดปกติที่ลำไส้เช่นภาวะลำไส้อุดตัน ทำให้มีการดูดซึมสารเหลืองกลับเข้ากระแสเลือดมากกว่าปกติแทนที่จะขับถ่ายออกไป เด็กจึงตัวเหลืองได้

ทราบได้อย่างไรว่าลูกตัวเหลืองผิดปกติ?

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตได้ว่าลูกตัวเหลืองโดยกดที่ผิวของลูก จะเห็นบริเวณที่กดเป็นสีเหลือง ถ้าเห็นสีเหลืองเฉพาะใบหน้าและลำตัว ถือว่าเหลืองไม่มาก แต่ถ้าลงมาที่ขาและเท้า ถือว่าเหลืองมาก ถ้าสงสัยว่าลูกตัวเหลืองมากผิดปกติ ควรรีบมาปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจร่างกาย และเจาะเลือดตรวจระดับสารเหลืองในเลือด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด รักษาอย่างไร?

เนื่องจากหากลูกตัวเหลืองมาก จะมีระดับสารเหลือง หรือ บิลิรูบิน ในเลือดสูง ซึ่งสารนี้สามารถเข้าไปที่สมองลูกได้ ถ้ามีระดับที่สูงมาก จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของสมองจากภาวะตัวเหลือง มีอาการชัก และอาจมีผลต่อประสาทการได้ยินของเด็ก เด็กจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะตัวเหลืองที่ผิดปกติในทารกแรกเกิด ซึ่งมีวิธีการรักษาในโรงพยาบาลโดยการส่องไฟ และการเปลี่ยนถ่ายเลือดหากค่าสารเหลืองสูงมาก

หลังจากการรักษา คุณหมอจะตรวจระดับค่าสารเหลืองซ้ำ ถ้าระดับบิลิรูบินลงมาอยู่ในเกณฑ์ปกติ ก็สามารถกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย

ดูแลอย่างไรไม่ให้ลูกตัวเหลือง เมื่อกลับไปอยู่บ้าน

เมื่อค่าสารเหลืองลดลงแล้ว คุณหมอจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ และนัดมาติดตามอาการในภายหลัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อพาลูกกลับบ้านแล้ว คุณแม่ควรให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียว ไม่ต้องป้องน้ำ น้ำผลไม้ หรืออาหารอื่น ๆ  เพราะการป้อนน้ำไม่ช่วยลดอาการตัวเหลือง การให้ลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธีและดูดบ่อย ๆ เพราะนมแม่คืออาหารดีที่สุดของเด็กทารก

หากลูกซึม ไม่ดูดนม ไม่ค่อยร้อง มีไข้ หรือตัวเย็นกว่าปกติ เหลืองมากขึ้น ท้องอืด อาเจียน ท้องเสียเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายเป็นมูกหรือเลือดปนแม้แต่ครั้งเดียว ตาลอย กระตุกหรือชักเกร็ง หอบ เขียว อาการหนึ่งอาการใดหรือหลายอาการร่วมกันต้องรีบไปพบคุณหมอทันที แม้ว่าจะยังไม่ถึงเวลานัดก็ตาม

ที่มา sg.theasianparent

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ลูกสมองพิการ พลิกตัวเหมือนจะคว่ำ ตั้งแต่อายุ 1 เดือน ที่แท้ผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว

เลี้ยงลูกในห้องแอร์ ลูกจะติดแอร์ไหม ออกข้างนอกยาก เป็นเด็กขี้โรคหรือเปล่า

ลูกแรกเกิดเป็นสิว ทารกเป็นตุ่มหนอง แม่ใช้อะไรทาได้ไหม หรือปล่อยให้หายเอง

บทความโดย

P.Veerasedtakul