จะฮาขนาดไหน เมื่อแม่ปล่อยลูกอยู่กันลำพัง

พบกับความฮา ความน่ารักบนโลกของความเป็นจริง เมื่อแม่ถ่ายวิดีโอ ตอนที่ลูกอยู่กันตามลำพัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บอกคำเดียว ตอนนี้ไม่ว่าคลิปไหน ๆ ก็คงไม่สามารถสู้คลิปของหนูน้อยสองคนนี้ได้แล้วละค่ะ เมื่อคุณแม่ปล่อยให้พี่เมิรส์และน้องมาร์วินอยู่กันตามลำพัง สภาพที่เห็นจึงเกิดขึ้น

งานนี้ไม่รู้ว่าแม่จะโกรธหรือจะขำดี แต่ที่แน่ ๆ งานทำความสะอาดคงวุ่นวายไม่น้อยเลยทีเดียว ถ้าอยากรู้ว่าจะฮาขนาดไหน สมกับที่มีผู้ชมมากถึง 1.7 ล้านกว่าครั้งหรือไม่นั้น ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

แล้วคุณพ่อคุณแม่ละคะ บ้านไหนปล่อยลูกอยู่กันลำพังแล้วเจอความน่ารักแบบนี้บ้างหรือป่าว ลองแชร์ภาพกันเข้ามาดูเยอะ ๆ นะคะ

ปราบพยศเด็ก 2 ขวบ ง่ายนิดเดียว!

การได้ยินเสียงเด็กวัยนี้กรีดร้องโวยวายจึงเป็นเรื่องปกติของทุกบ้าน นึกอยากจะได้อะไรก็ตะโกน พอบอกว่าไม่มีก็โวยวายไม่เข้าใจ รออะไรกับเขาก็รอไม่ได้ นึกอยากจะดื้อก็ดื้อแบบสุด ๆ แล้วจะมีวิธีไหนบ้างนะ ที่จะปราบพยศเด็กวัยนี้ได้ … และนี่คือวิธีง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ทำได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจธรรมชาติและพฤติกรรมของเด็กวัย 2 ขวบกันก่อนค่ะ

– มักมีอารมณ์เกรี้ยวกราด ฉุนเฉียวง่าย

– คิดเอาเองว่าทุกอย่างคือของตัว

– อยากทำทุกอย่างด้วยตัวเอง โดยที่ไม่ได้สนใจเลยว่ามันจะเลอะเทอะและวุ่นวายขนาดไหน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

– ทำตัวเป็นเด็กเล็กตลอดเวลา

– ไม่รู้จักการรอคอย

– ไม่ชอบแบ่งปันอะไร

ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เข้าใจถึงธรรมชาติของเด็กวัยนี้แล้ว การปราบพยศลูกก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงนำวิธีการเหล่านี้ไปปรับใช้ดู

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ทำให้เป็นกิจวัตร เวลาที่ลูกดื้อหรือปาข้าวของ คุณพ่อคุณแม่หรือคนในครอบครัวจะต้องคุยกันก่อนว่า ทุกครั้งที่ลูกทำพฤติกรรมเช่นนี้ เราจะมีวิธีการรับมือและสอนเขาอย่างไร อย่าให้เกิดการเปรียบเทียบหรือเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา จงทำทุกอย่างให้เป็นปกติ เพื่อที่ลูกจะได้รู้ว่าหากเขาทำเช่นนั้นอีก เขาจะต้องเจอกับอะไรบ้าง เป็นต้น

2. ให้เวลากับลูกให้มาก เพราะการที่ลูกงอแง โวยวายนั้น เขาไม่ได้ทำไปเพื่ออะไรหรอกค่ะ ส่วนใหญ่แล้วเขาก็ทำไปเพื่อเรียกร้องความสนใจจากคุณพ่อคุณแม่นั่นแหละ ดังนั้นการให้เวลากับลูกในการทำกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการอ่านนิทาน การร้องเพลง แค่ช่วงสั้น ๆ ก็สามารถช่วยทำให้ลูกนิ่งได้

3. ให้รู้จักช่วยตัวเองบ้าง อย่าช่วยเหลือลูกไปเสียทุกอย่าง เราควรที่จะให้ลูกรู้จักช่วยตัวเองได้บ้าง เพื่อให้เขารู้จักกับความยากลำบาก และเมื่อเขาทำได้ คำชมเล็ก ๆ น้อย ๆ จากคุณพ่อคุณแม่นี่แหละค่ะ ที่จะช่วยทำให้พวกเขามีกำลังใจที่อยากจะทำอีก

4. บอกให้ลูกทำด้วยวิธีสั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่ลูกไม่ยอมเปลี่ยนเสื้อผ้า แทนที่เราจะบอกเขาซ้ำไปมาให้เขาเปลี่ยนเสื้อผ้า ก็ลองเปลี่ยนวิธีมาเป็นการนับ 1-2-3 โดยที่เราอาจจะกำหนดไว้ว่า หากนับถึง 3 แล้วยังไม่ทำ คุณพ่อหรือคุณแม่จะทำแบบนี้แล้วนะ เป็นต้น

5. แสดงความเข้าใจและใส่ใจ ใช่แล้วค่ะ วิธีที่จะเข้าถึงลูกได้อย่างง่าย ๆ โดยที่เราไม่ต้องเหนื่อยเลยก็คือ เวลาที่ลูกงอแงหรือหงุดหงิดโวยวาย คุณพ่อกับคุณแม่ควรเข้าไปแสดงความเข้าใจถึงการกระทำในครั้งนั้นว่า คุณพ่อคุณแม่เข้าใจนะว่าหนูโกรธ หนูเสียใจ แต่การเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ ๆ หรืออะไรใหม่ ๆ บ้างมันก็น่าสนใจไม่ใช่น้อยนะจ๊ะ เป็นต้น

เชื่อว่าแต่ละครอบครัวนั้น มีวิธีในการปราบพยศลูกแตกต่างกัน ไม่มีใครหรอกที่จะรู้จักลูกไปดีกว่าตัวเราเอง ดังนั้นการหากลยุทธ์ที่เหมาะสมและได้ผลจึงตกเป็นงานหลักของคุณพ่อกับคุณแม่เอง ลองนำวิธีการที่กล่าวในข้างต้นไปปรับใช้ดูนะคะ อาจจะทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น โดยที่เราไม่ต้องหงุดหงิดเลยก็ได้

 

ที่มา: ข่าวสด

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Muninth