แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง เพราะการให้ลูกกินนมแม่ของคนอื่นโดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อนั้น ทำให้ลูกเสี่ยงติดเชื้อร้าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง

แพทย์เตือน งดรับบริจาคนมแม่ โดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ เสี่ยงติดเชื้อร้ายแรง นมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดของลูกก็จริง แต่นมแม่คนอื่นนั้น อาจไม่ดีที่สุดต่อลูกของเราค่ะ

แพทย์หญิง สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ หรือป้าหมอ ออกมาเตือนด้วยความเป็นห่วง เพราะเห็นคุณแม่นิยมทำกันแพร่หลายใน Facebook โดยเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม

งดให้งดรับกันเอง

การบริจาคนมแม่กันเองโดยไม่ผ่านธนาคารนมแม่ จะไม่ได้รับการฆ่าเชื้อ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อเอดส์ โรคติดต่อ โรคติดเชื้อจากขั้นตอนการเก็บปนเปื้อน ลูกแพ้อาหารที่ผ่านทางนมแม่ รับได้เฉพาะน้ำนมจากธนาคารนมแม่เท่านั้นค่ะ เช่น ลูกป่วยอยู่ในไอซียู แต่น้ำนมแม่ยังไม่มา

ถ้าให้ปลอดภัยคือต้องได้รับน้ำนมจากธนาคารนมที่มีการดูแลจัดการเช่นเดียวกับธนาคารเลือด คือ มีการคัดกรองเหมือนกับการบริจาคเลือด มีการซักประวัติถึงความเสี่ยงต่าง ๆ  

สำหรับคุณแม่ที่จะรับบริจาคนมแม่ แนะนำให้คุณแม่แจ้งคุณหมอทารกแรกเกิดที่ดูแลลูกอยู่ให้ช่วยขอน้ำนมแม่จากธนาคารนมแม่ ซึ่งจะให้ฟรีกับกลุ่มทารกที่ป่วยหนักและทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักแค่ 500 กรัม – 1 กิโลกรัม ลำไส้ของเด็กเหล่านี้ไม่สามารถย่อยนมที่ข้ามสายพันธุ์ได้ (เช่น นมวัวหรือนมแพะ)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกแรกเกิดที่ป่วยได้กินแทนนมผง จะช่วยให้ลูกหายป่วยเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับเด็กทารกแรกเกิดป่วยที่กินนมผง และเมื่อน้ำนมแม่ตัวเองมาแล้ว ก็ใช้น้ำนมแม่ตัวเองค่ะ

อยากให้ อยากรับ นมแม่ ต้องทำยังไง

สำหรับคุณแม่ที่มีความประสงค์จะบริจาคน้ำนมแม่ ที่ ธนาคารนมแม่ศิริราช กรุณาตรวจสอบเกี่ยวกับคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้บริจาคน้ำนมแม่ ก่อนกรอกข้อมูลให้ติดต่อกลับค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ท่านมีสุขภาพแข็งแรงไม่ได้กินยาหรือฉีดยาใดๆเป็นประจำ
  2. ท่านมีน้ำนมมากเกินความต้องการของลูกและยินดีบริจาค
  3. น้ำนมที่บริจาคเป็นน้ำนมที่บีบเก็บในช่วงที่บุตรคนปัจจุบันอายุไม่เกิน 6 เดือนหลังคลอด
  4. น้ำนมที่บริจาคเป็นน้ำนมใหม่ หรือมีอายุน้ำนมไม่เกิน 2 เดือนนับจากวันที่บีบเก็บน้ำนม
  5. ท่านยินดีปฏิบัติตามคำแนะนำในการบีบเก็บและการเก็บรักษาน้ำนมแม่ของธนาคารนมแม่ศิริราช
  6. ผลเลือดของท่านที่ตรวจขณะฝากครรภ์ลูกคนปัจจุบันปกติทุกรายการ
  7. ท่านยินดีตอบแบบสอบถามตามความเป็นจริง และยินดีทำซ้ำทุก 2-3 เดือน หากบริจาคน้ำนมอย่างต่อเนื่อง
  8. ท่านยินดีเจาะเลือดเพื่อตรวจภาวะตับอักเสบบี ตับอักเสบซี โรคเอดส์และซิฟิลิส และยินดีให้ตรวจซ้ำทุก 2-3 เดือน
    หากบริจาคน้ำนมอย่างต่อเนื่องคอลอสตรัมไม่ได้ช่วย

และสำหรับ ธนาคารนมแม่รามาธิบดี ขณะนี้ยังมีน้ำนมที่รับบริจาคมาคงเหลือในคลังอยู่มาก ช่วงนี้จึงขอชะลอการรับบริจาคชั่วคราว แต่คุณแม่อาจติดตามได้ในเพจค่ะ

นอกจากนี้ป้าหมอยังออกมาเตือนอีกว่า คุณแม่ต้องไม่หลงเชื่อโฆษณาหลอกลวงในเฟสบุ๊ค ที่บอกว่าให้ลูกทานคอลอสตรัมแล้วจะช่วยเพิ่มความสูงและลดการเป็นภูมิแพ้ ซึ่งไม่เป็นความจริงค่ะ

ทีนี้ก่อนจะบริจาคและรับบริจาคนมแม่จากคุณแม่คนอื่นๆ คุณแม่ก็ต้องคิดให้ถี่ถ้วนมากขึ้นนะคะ เนื่องจากการบริจาคน้ำนมของคุณแม่คนอื่นนั้น ไม่ได้ปลอดภัย 100% ตามที่หลายๆ คนเข้าใจกันคลาดเคลื่อนค่ะ แน่นอนว่านมแม่จากแม่ลูกแท้ๆ ย่อมปลอดภัยที่สุด แต่กับคุณแม่คนอื่นและเด็กคนอื่นนั้น ไม่ปลอดภัยที่สุดนะคะ

ท่ี่มาบางส่วน สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

บทความที่น่าสนใจ

ข้อมูลที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจ บริจาคหรือรับบริจาคนมแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา