ค่าเทอมลูก ส่งลูกเรียนหนังสือ เก็บเงินเท่าไหร่ วางแผนยังไง

อยากให้ลูกเรียนสูงๆ พ่อแม่ต้องเตรียมเงินนะถึงพอดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เก็บเงิน ค่าเทอมลูก เก็บค่าเรียนลูกเท่าไหร่ เก็บยังไงถึงพอ

การศึกษา เป็นสิ่งสำคัญ และ สิ่งที่ดีที่สุด ที่พ่อแม่ จะสามารถมอบให้ลูกได้ เพราะเราไม่สามารถจะอยู่กับเขาไปได้ตลอดเวลา และตลอดชีวิตของเขา สิ่งที่จะช่วยให้เขาใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างดี และมั่นคงที่สุด คือ ความรู้ และ ความสามารถ ซึ่งจะติดตัวเขาไปตลอดเวลาและตลอดชีวิตจริงๆ จึงไม่แปลกใจเลย ที่พ่อแม่จะทุ่มเทกันสุดตัว เพื่อให้บุตรหลานได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด เท่าที่พวกเขาจะทำได้

แต่ด้วยความที่ทุ่มกันหมดหน้าตักนี่แหละ ที่ทำให้ ค่าเทอมลูก ค่าเล่าเรียนลูก เป็น ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ เผลอๆ เยอะกว่าค่ากินอยู่เสียอีก แต่ตราบใดที่มีการ วางแผนเงิน จัดการรายรับรายจ่าย ที่ดี คุณพ่อคุณแม่ จะจัดการ ค่าเทอม ของลูกได้อย่างดีเช่นกันค่ะ มาดูว่า จะบริหารค่าเทอมลูก ต้องคำนวณยังไง ทำแบบไหน

1 . เลือกโรงเรียนให้ลูก

โรงเรียนลูก แต่ละที่ มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกัน เพราะมีทั้ง โรงเรียนรัฐบาล เอกชน นานาชาติ หรือเรียนต่อต่างประเทศไปเลย วางแผนคร่าวๆ ไว้เลยว่าจะให้ลูกเรียนที่ไหน จะได้รู้ว่าควรเก็บเงินเท่าไหร่ ถึงอาจจะไม่ได้เรียนในสถาบันที่เราตั้งใจไว้ เมื่อถึงเวลานั้น แต่อย่างน้อย ก็มีเงินเตรียมไว้ให้พร้อมระดับหนึ่ง สำหรับเข้าเรียนในโรงเรียนระดับเดียวกับที่ตั้งใจเอาไว้ เช่น ถ้าไม่ได้เรียนโรงเรียน A แต่ก็อาจจะเข้าเรียนโรงเรียน B ซึ่งมีมาตรฐานหรือระดับค่าใช้จ่ายใกล้เคียงกัน

การวางแผน ช่วยให้เรารับความเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ซึ่งเป็นธรรมดาของโลกมากๆ ที่ชีวิตมีความไม่แน่นอน สมมติว่า สถาบันที่ส่งลูกเข้าเรียนจริงๆ มีค่าเล่าเรียนมากกว่าเงินที่เตรียมไว้ พ่อแม่ก็วางแผนต่อไปว่า วันนี้จะต้องเก็บเงินเพิ่มอีกเท่าไหร่ ในกรณีที่ โรงเรียนนั้นใช้เงินน้อยกว่าที่เตรียมไว้ ก็จะมีเงินเหลือไปสนับสนุนลูกในด้านอื่นได้อีก เห็นมั้ยคะว่า วางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ มีแต่เรื่องดีและดี

พอคัดเลือกแล้วว่า ตั้งใจให้ลูกเรียนที่ไหนบ้าง พยายามเลือกไว้หลายๆ ที่ค่ะ แล้วเอาข้อมูล ทำเป็นตารางเทียบ จดใส่กระดาษ หรือทำตารางในโปรแกรม Excel  เพื่อเอาไว้ดูเปรียบเทียบความแตกต่างของแต่ละสถาบัน จดวันที่เปรียบเทียบข้อมูลก็ดี จะได้รู้ว่าข้อมูลค่าเทอมอัพเดทแค่ไหน ในตารางควรมีข้อมูลหลักๆ คือ ชื่อโรงเรียน ระดับการศึกษา ค่าเล่าเรียนล่าสุดและค่าเล่าเรียนปีที่ผ่านๆ มา ที่ตั้งของโรงเรียน ระยะทางจากบ้านไปโรงเรียน วิธีการเดินทาง จุดเด่นจุดด้อยของโรงเรียนนั้นๆ ข้อมูลติดต่อโรงเรียน

ค่าเทอมลูก

2. รวบรวมค่าใช้จ่ายในการเรียน ค่าเล่าเรียนลูกทั้งหมด

ลูกเรียนหนังสือมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ลิสต์ออกมา ค่าเทอม ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าอุปกรณ์โดยประมาณ เพื่อให้รู้ว่า เงินก้อนนั้นเท่าไหร่ เงินก้อนนั้นคือ เป้าหมายการเก็บเงิน เมื่อเป้าหมายชัดเจน การกระทำของเราก็จะชัดเจน ว่าจะทำยังไงให้เก็บเงินได้ถึงเป้าหมายนั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แต่ตัวเลขหลักๆ ที่พ่อแม่ควรโฟกัสคือ ค่าเทอมของโรงเรียน แหละค่ะ หาตัวเลขค่าเทอมปีล่าสุด และค่าเทอมเมื่อหลายปีที่แล้ว เพื่อมาคำนวนหาแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าเล่าเรียนลูก สมมติว่า

ค่าเรียนระดับชั้น ป. 1 ปัจจุบันปีละ 38,000 บาท สอบถามกับศิษย์เก่าที่เคยเรียนที่นี่เมื่อ 30 ปีที่แล้ว เขาบอกว่าตอนนั้นเรียนปีละ 5,000 บาท แสดงว่า ค่าเล่าเรียนสูงขึ้นปีละ 6.99% และจากการศึกษาข้อมูลค่าเล่าเรียนในไทยก็พบว่า ค่าเล่าเรียนแพงขึ้นปีละ 6-9% เดี๋ยวนี้มีแอพพลิเคชั่น ช่วยคำนวนค่าใช้จ่ายเยอะแยะเลย เช่น Financial Calculators ลองโหลดมาคำนวณกันได้นะคะ ใช้ง่าย และสะดวกมากๆ ด้วย

จากขั้นตอนแรก ที่เก็บข้อมูลโรงเรียนที่จะให้ลูกเข้าไปเรียน แต่ละชั้นต้องจ่ายปีละเท่าไหร่บ้าง แล้วก็มาคำนวณว่าเงินจำนวนนี้เพิ่มขึ้นปีละ 6% ค่าเล่าเรียนจะกลายเป็นเท่าไหร่ในอนาคตทั้งหมดกลายเป็นเป้าหมายการเก็บเงินของเรา

สมมติ  โรงเรียนที่ผู้ปกครองอยากจะให้ลูกเรียน มีเป้าหมายค่าเล่าเรียนทั้งหมด 2 ล้านบาทโดยประมาณ แบ่งเป็น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ระดับประถม : ปี 2561 ค่าเล่าเรียนปีละ 10,000 บาท อีก 7 ปีข้างหน้า ลูกจะเข้า ป.1 จะกลายเป็น 15,036.30 บาท รวมตั้งแต่ ป.1 - ป.6 เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 104,883.00 บาท

ระดับมัธยม : ปี 2561 ค่าเล่าเรียนปีละ 40,000 บาท อีก 13 ปีข้างหน้า ลูกจะเข้า ม.1 จะกลายเป็น 85,317.13 บาท รวมตั้งแต่ ม.1 - ม.6 เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 595,114.16 บาท

ระดับปริญญาตรี : ปี 2561 ค่าเล่าเรียนปีละ 100,000 บาท อีก 19 ปีข้างหน้า ลูกจะเข้าเรียนจะกลายเป็น 302,559.95 บาท รวมตั้งแต่ปริญญาตรีปี 1 - 4 เป็นจำนวนเงินทั้งหมด 1,323,583.60 บาท

ค่าเทอมลูกชั้นประถม + มัธยม + ปริญญาตรี = ประมาณ 2 ล้านบาท ต่อคน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ตอนนี้ คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วว่าแต่ละช่วงเวลาจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ รวมแล้วต้องเก็บเงินเท่าไหร่ ต่อไปก็ออกแบบแผนว่า จะต้องเก็บอย่างไรเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายตัวเลขนั้น

ค่าเทอมลูก

3. เลือกวิธีเก็บและสร้างเงินให้ถึงเป้าหมาย

พอเห็นค่าเล่าเรียนเพิ่มขึ้นปีละ 6% ในขณะที่ ดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์อยู่ที่ 0.5% ต่อปี (หรือน้อยกว่านั้นอีก) ดอกเบี้ยเงินฝากโตไม่ทันเงินเฟ้อค่าเล่าเรียน ทำอย่างไรดี

ขั้นแรกนำเป้าหมายตัวเลขเงิน มาดูว่า ต้องเก็บเงินปีละเท่าไหร่ เฉลี่ยเดือนละเท่าไหร่ แล้วหาว่า จะใช้วิธีไหนในการเก็บหรือลงทุนเงิน ให้ได้เงินจำนวนนั้นๆ ซึ่งมีมากมาย เช่น ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง หางานทำเพิ่ม ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

แบ่งช่วงเวลาเก็บเงิน เพราะลูกใช้เงินแต่ละช่วงไม่เท่ากัน แบ่งเป็นระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว

ระยะสั้น ก็เช่น อีก 1 - 3 ปี ลูกจะเข้าโรงเรียน ควรเก็บเงินไว้ที่ที่มีความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้เงินต้นปลอดภัย เช่น เงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง

ระยะปานกลาง เช่น ฝากประจำ สลากออมสิน สลากธกส. กองทุนรวมตลาดเงิน

และระยะยาว เช่น กองทุนรวมผสม กองทุนรวมหุ้น ซึ่งให้ผลตอบแทนมากกว่า 6% บางคนใช้ประโยชน์จาก SSF (ขายได้ทุก 10 ปี) เพื่อลดหย่อนภาษี และเก็บเป็นเงินค่าเล่าเรียนของลูก

สุดท้ายไม่ท้ายสุด รักษาเป้าหมายไว้ให้ได้ด้วย พ่อแม่วางแผนดิบดีว่า จะหาเงินให้ได้เท่านั้นเท่านี้ แต่ทุกคนรู้ดี ไม่มีใครรู้ว่าอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น ทุกสิ่งเกิดขึ้นได้ และเราต้องทำใจยอมรับมัน พ่อแม่อาจจะไม่ทันอยู่ส่งลูกเรียนจนจบ แต่โชคดีที่ทุกวันนี้ มีเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยคุ้มครองให้คนข้างหลังมีเงินดูแลตัวได้ระยะหนึ่ง นั่นคือ ประกันชีวิต

ถ้า พ่อแม่ทำประกันชีวิต เงินประกันจะให้ผลลัพธ์ได้ 2 อย่าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • หากพ่อหรือแม่เสียชีวิตกระทันหัน ลูกจะได้รับเงินก้อนจากประกันชีวิตเป็นทุนการศึกษา เรียนจนจบตามที่พ่อหรือแม่ตั้งใจไว้
  • พ่อหรือแม่มีชีวิตอยู่ ครบปีที่ 15 เงินก้อนนี้จะกลายเป็นเงินทุนการศึกษาให้ลูก หรือ กลายเป็นเงินทุนเริ่มต้นให้ลูกหลังเรียนจบ เผื่ออยากสร้างธุรกิจอะไร ก็เริ่มจากเงินก้อนนี้ได้

เห็นไหมคะว่า เรื่องฟังดูยาก ทำตามยาก ที่จริงแล้ว อยู่ที่การวางแผนล้วนๆ ไม่มีอะไรเกินไปกว่าความตั้งใจ และความมุ่งมั่นของพ่อและแม่ คือ ความตั้งใจที่สตรองที่สุดที่มนุษย์คนหนึ่งจะพึงกระทำได้ หลายคนบอกมารู้ว่าตัวเองแกร่งสุดๆ ก็ตอนที่เป็นพ่อแม่คนแล้ว ไม่อยากเชื่อว่าตัวเองจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ได้ ดังนั้นถ้า พ่อแม่วางแผนเงินแล้วก็เชื่อว่า เป้าหมายเพื่อลูก ไม่เกินเอื้อมแน่นอนค่ะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

มีลูกใช้เงินเท่าไหร่ เลี้ยงลูก 1 คน มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

เป็นแม่ที่ดีของลูก หน้าที่แม่ที่ดี การเตรียมตัวเป็นพ่อแม่ที่ดี เป็นแบบอย่างให้ลูก

คลอดลูกได้สิทธิอะไรบ้าง ประกันสังคมได้เท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้อย่างไร

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team