กฎหมายออกแล้วจ้า แม่ท้องนำค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร ลดภาษีสูงสุด 60,000 บาท

แม่ท้องเอาค่าฝากครรภ์-ค่าคลอดบุตร ลดหย่อนภาษีสูงสุด 60,000 บาทเลยจ้า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ค่าฝากครรภ์ค่าคลอด ลดภาษี

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้ ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ค่าฝากครรภ์ค่าคลอด ลดภาษี สูงสุด 60,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

แม่ท้องนำค่า ฝากครรภ์

กฎกระทรวงฉบับที่ 338 (พ.ศ. 2561) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

แม่ท้องนำค่าฝ ากครรภ์

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (99) ของข้อ 2 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร

“(99) เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตน ตามจํานวนที่จ่ายจริงสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวแต่ไม่เกินหกหมื่นบาท หากการจ่ายค่าฝากครรภ์ และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราวมิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษี ตามจํานวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท ทั้งนี้ สําหรับเงินได้ พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป และให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด”

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๑ อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่ประเทศไทยมีอัตราการเกิดของประชากรลดลง ทําให้มีประชากรวัยแรงงานลดลงและอัตราส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีเงินได้มีบุตรเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้โครงสร้างประชากรของประเทศมีความเหมาะสมกับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต สมควรกําหนดให้เงินได้เท่าที่ผู้มีเงินได้หรือคู่สมรสได้จ่ายเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรของตนตามจํานวนที่จ่ายจริง แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคํานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ จึงจําเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องนำค่าฝาก ครรภ์

ใจความสำคัญของค่าฝากครรภ์ค่าคลอด ลดภาษี สูงสุด 60,000 บาท คือ

  • ค่าใช้จ่ายต้องเป็นค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
  • ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละคราว มิได้จ่ายในปีภาษีเดียวกัน ให้ได้รับยกเว้นภาษี ตามจํานวนที่จ่ายจริงในแต่ละปีภาษี แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหกหมื่นบาท หมายถึง หากมีค่าฝากครรภ์ในปีภาษีหนึ่ง เช่น ตั้งครรภ์ตั้งแต่ปีนี้ กำหนดคลอดลูกปีหน้า
  • สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับค่าใช้จ่ายที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป หรือเบิกย้อนหลังได้
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

แม่ท้องนำค่าฝากครรภ์

อย่างไรก็ตาม ข่าวจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ มีรายละเอียดว่า สิทธิการหักลดหย่อนดังกล่าวให้เฉพาะผู้ที่ไม่ได้มีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ หรือคลอดบุตรจากแหล่งอื่น ๆ เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิข้าราชการ เป็นต้น

 

ที่มา : prachachat.net และ ratchakitcha.soc.go.th

แม่เตรียมเฮ! มีลูกคนที่ 2 ได้ลดหย่อนภาษีเพิ่ม หักค่าคลอด 3 หมื่นบาทต่อลูกหนึ่งคน

ค่าคลอดประกันสังคม เบิกอย่างไร เบิกได้เท่าไหร่ เบิกที่ไหน ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

33 คำถาม : เงินประกันสังคมกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรยื่นอย่างไรให้ได้เงิน

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดเข้าเมื่อไหร่ ลงทะเบียนที่ไหน ถ้าเงินไม่เข้าทำอย่างไร

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya