คู่มือฝึกทักษะชีวิตสำหรับเด็ก ตั้งแต่อายุ 2 - 18 ปี เด็กแต่ละช่วงอายุควรฝึกอะไรบ้าง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คู่มือฝึกทักษะชีวิตสำหรับเด็ก ตั้งแต่อายุ 2 – 18 ปี

คู่มือฝึกทักษะชีวิตสำหรับเด็ก เด็กแต่ละช่วงอายุพ่อแม่ควรเน้นฝึกอะไรบ้าง อยากให้ลูกมีทักษะการใช้ชีวิตที่ดี มีพัฒนาการที่สมวัยควรทำอย่างไร มาดูกันค่ะ

1. เด็กอายุ 2 – 3 ขวบ

ในช่วงวัยนี้ เด็กควรเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเองขั้นพื้นฐาน ดังนี้

  • ช่วยเก็บของเล่นให้เข้าที่
  • แต่งตัวด้วยตนเองได้ หรือช่วยพ่อแม่แต่งตัวด้วยตัวเอง
  • ถอดเสื้อผ้าของตัวเองไปใส่ในตระกร้า
  • ล้างจานของตัวเองหลังจากกินข้าวเสร็จทุกมื้อ
  • แปรงฟันและล้างหน้าด้วยตัวเอง

2. เด็กอายุ 4 – 5 ขวบ

ในช่วงวัยนี้ นอกจากการเรียนรู้ที่จะช่วยตัวเองขั้นพื้นฐานได้แล้ว เด็กๆ ควรเรียนรู้ในเรื่องของความปลอดภัยมากขึ้น ดังนี้

  • รู้ชื่อตัวเอง ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของพ่อหรือแม่ไว้ติดต่อในกรณีฉุกเฉิน
  • วิธีการโทรศัพท์หรือการขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน
  • ช่วยทำความสะอาดบ้านง่ายๆ เช่นท เช็ดโต๊ะอาหาร ปัดฝุ่นเฟอร์นิเจอร์
  • ให้อาหารสัตว์เลี้ยง
  • รู้จักการใช้จ่ายเงิน
  • สามารถหวีผมด้วยตัวเองได้
  • ช่วยงานบ้านขั้นพื้นฐาน เช่น ซักเสื้อผ้า เก็บผ้า เป็นต้น
  • เลือกเสื้อผ้าที่จะสวมใส่เองได้

คู่มือฝึกทักษะชีวิตสำหรับเด็ก

3. เด็กอายุ 6 – 7 ขวบ

เด็กช่วงวัยนี้จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือตัวเองมากขึ้นไปอีก และสามารถที่จะเริ่มช่วยพ่อแม่ทำอาหารได้แล้ว ซึ่งสิ่งที่เด็กๆ ควรทำได้ มีดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • สามารถผสมอาหาร หรือตัดส่วนผสมอาหารได้
  • ทำอาหารง่ายๆ เช่น แซนวิช
  • ช่วยจัดข้าวของหรืออาหารให้เข้าที่ หลังจากที่ไปจ่ายตลาด
  • ช่วยล้างผักและล้างจาน
  • ทำความสะอาดบ้าน เช่น กวาดบ้าน
  • ทำความสะอาดห้องน้ำ เช่น การเช็ด หรือถูห้องน้ำ
  • สามารถจัดเตียงหลังจากที่ตื่นนอนด้วยตัวเอง
  • อาบน้ำเองได้

4.เด็กอายุ 8 – 9 ขวบ

ในช่วงเวลานี้ เด็กจะเริ่มมีความภูมิใจและหวงของตัวเองมาก พ่อแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักดูแลของของตัวเอง โดยมีวิธีการดังนี้

  • ให้ลูกได้ฝึกพับเสื้อผ้าของตัวเอง
  • เรียนรู้การเย็บ ซ่อมเสื้อผ้าอย่างง่ายๆ
  • พาลูกเล่น ออกกำลังกายกลางแจ้ง เช่น ปั่นจักรยาน
  • ให้ลูกดูแลสุขภาพอนามัยของตัวเอง ตั้งแต่การล้างมือ การเข้าห้องน้ำ และการแปรงฟัน
  • ฝึกให้ลูกกวาดบ้านอย่างถูกวิธี
  • ให้ลูกช่วยเตรียมอาหารอย่างง่ายๆ
  • ให้ลูกช่วยในการจับจ่ายซื้อของเข้าบ้าน
  • ให้ลูกช่วยเช็คของในบ้าน ดูว่ามีของใช้หรือของกินอะไรใกล้หมดแล้ว
  • สามารถนำขยะออกไปทิ้งที่ทิ้งขยะนอกบ้านได้

คู่มือฝึกทักษะชีวิต สำหรับเด็ก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5.เด็กอายุ 10 – 13 ขวบ

เด็กอายุเท่านี้ พวกเขาจะเริ่มต้องการอิสระมากขึ้น และอยากจะแสดงออกถึงความสามารถบางอย่างได้ ทั้งยังสามารถที่จะทำอะไรโดยลำพังได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรฝึกลูกในเรื่องดังต่อไปนี้

  • ให้ลูกไปซื้อของด้วยตัวเอง
  • เปลี่ยนผ้าปูที่นอนของตัวเอง
  • ใช้เครื่องซักผ้าและเครื่องอบผ้าได้
  • สามารถอยู่บ้านคนเดียวได้แล้ว
  • สามารถทำอาหารได้ด้วยตัวเอง
  • ใช้เตาอบ เตาไมโครเวฟได้
  • ลูกควรเรียนรู้ที่จะอ่านฉลากอาหาร
  • ลูกสามารถดูแลพี่น้อง หรือเพื่อนๆ ได้
  • สามารถใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดบ้านอื่นๆ ได้
  • เด็กสามารถที่จะรีดผ้าของตัวเองได้แล้ว

6.เด็กอายุ 14 – 18 ขวบ

ในช่วงวัยนี้ หากพ่อแม่ฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง และทำงานบ้านเป็นประจำก็จะทำให้ลูกมีความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ มากขึ้น ดังนั้น พ่อแม่ต้องฝึกลูกไปอีกขั้นตามนี้

  • ให้ลูกได้ลองล้างห้องน้ำทั้งห้อง
  • สูบลมจักรยานด้วยตัวเอง
  • ให้ลูกช่วยพ่อแม่ล้างรถ
  • ทำความเข้าใจกับฉลากยา และการกินเวลาที่ลูกป่วย
  • เข้าพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ
  • เข้าใจเรื่องการใช้เงิน และการจัดการเงินในบัญชีธนาคาร
  • ให้ลูกได้ลองชำระเงินค่าสาธารณูปโภคต่างๆ เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำ ค่าไฟ

สิ่งเรานี้เป็นพื้นที่ที่จะทำให้ลูกสามารถเตรียมตัวสู่การเป็นวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหย่ที่ดีได้ในอนาคต แน่นอนว่าอนาคตของลูกจะเป็นคนเช่นไร ส่วนหนึ่งมาจากการปลูกฝังของพ่อแม่ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งมาจากการเลือกนำมาปฎิบัติและปรับใช้ของลูกน้อยเองค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา: familyeducation

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

ลูกผู้ชายไม่ต้องทำงานบ้าน จริงไหม ข้อดีของการสอนลูกทำงานบ้าน ฝึกลูกให้ช่วยทำงานบ้าน ตั้งแต่เล็ก

การช่วยเหลืองานบ้าน สอนลูกทำงานบ้าน กิจกรรมฝึกความรับผิดชอบ ให้ลูกรู้จักหน้าที่ มีวินัย

พ่อแม่ที่ตีลูก ดุด่าลูก ใส่อารมณ์กับลูก ระวังลูกโตไปเป็นเด็กเสียคน ไร้วินัย

บทความโดย

Khunsiri