โรค IPD1 เป็นโรคติดเชื้อที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรวางใจ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยิน อาจรู้จัก แต่ยังไม่เข้าใจความรุนแรง พูดง่ายๆ โรค IPD มันคือภัยร้ายใกล้ตัวลูกน้อย ที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้
วันนี้ เราจะพามาทำความรู้จักเจ้าวายร้าย IPD (ไอพีดี) แบบเข้าใจง่าย ผ่านการ์ตูน Music Video ‘Bye Bye IPD’ ที่จะทำให้คุณแม่เข้าใจโรค IPD มากขึ้น ซึ่งเป็นอีกโรคสำคัญในเด็กเล็กที่คุณแม่ทุกคนควรระวังและสร้างภูมิคุ้มกันให้กับลูก ๆ ค่ะ
มารู้จักกันโรค IPD ให้มากขึ้น
โรค IPD (Invasive Pneumococcal Disease) หรือ
ไอพีดี คือ โรคติดเชื้อจากแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ชนิดรุนแรงและรุกราน เชื้อชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโพรงจมูกและลำคอสามารถแพร่กระจายสู่ผู้อื่นได้ง่ายคล้ายโรคไข้หวัดผ่านทางการไอหรือจาม น้ำมูก น้ำลาย เชื้อชนิดนี้ทำให้เกิดโรคได้ในทุกกลุ่มอายุโดยเฉพาะในเด็กเล็กวัย 0-5 ขวบ (ยิ่งเด็กยิ่งเสี่ยง) ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันโรคบกพร่องและ ผู้ที่มีโรคประจำตัว
เชื้อนิวโมคอคคัส ทำให้เกิด 4 โรค ดังนี้
- โรคปอดบวม ผู้ป่วยอาจจะมีอาการไข้สูง เหนื่อยหอบ อาจเกิดหลังจากติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะไวรัสไข้วัดใหญ่ได้
- โรคติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ซึมลง ความดันเลือดต่ำ เด็กอาจมีอาการชักได้
- โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ผู้ป่วยจะมีไข้ ซึมลง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เด็กอาจมีอาการชักได้
- โรคหูชั้นกลางอักเสบ ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ปวดหู อาจทำให้แก้วหูทะลุหรือสูญเสียการได้ยินได้
จากสถิติขององค์การอนามัยโลกระบุว่าโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียในชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในเด็กวัย 5 ขวบปีแรก7
การติดต่อของโรค
เชื้อนิวโมคอคคัส เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่ง อาศัยอยู่ในโพรงจมูกและลำคอพบได้มากในเด็ก สามารถแพร่กระจายได้จากการไอหรือจาม ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก่อให้เกิดโรคไม่เท่ากัน
ในประเทศไทยพบว่า มี 13 สายพันธุ์ที่พบบ่อย (ร้อยละ 90)2 ได้แก่ 1, 3, 4, 5, 6A, 6B, 7F, 9V, 14, 18C, 19A, 19F และ 23F
ซึ่งสายพันธุ์ 19A พบปัญหาดื้อยาสูง ทำให้รักษาได้ยาก และพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี3
โรค IPD อันตรายแค่ไหน ?
- เด็กทารกที่เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากโรค IPD มีโอกาสเสียชีวิตถึง 50%4
- เด็กที่เคยป่วยเป็นโรค IPD มีโอกาสสูญเสียการได้ยิน พิการทางสมอง การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ และมีอาการชักได้4
- ต้องพักรักษาตัว นาน 12 วัน5 โดยเฉลี่ย และมีค่ารักษามากกว่า 50,000 บาท6 โดยเฉลี่ย แม้ว่าจะรักษาตัวในโรงพยาบาลของรัฐ
วิธีการง่าย ๆ ป้องกันลูกน้อยจากโรค IPD
แม้ว่าโรค IPD จะมีความรุนแรงหรือติดต่อกันได้ง่าย แต่การป้องกันก็ไม่ใช่เรื่องยาก คุณแม่ต้องคอยระมัดระวังให้เด็กมีสุขอนามัยที่ดี รักษาความสะอาดอยู่เสมอ เช่นการล้างมือให้สะอาด การระวังไม่ให้เข้าใกล้หรือสัมผัสกับน้ำมูก หรือสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากผู้ที่ป่วยอยู่ เป็นต้น
วัคซีนป้องกันโรค IPD ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย แต่อาจมีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับวัคซีนทุกชนิด ดังนั้นคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันนะคะ
เห็นมั้ยคะคุณแม่ โรคนี้ป้องกันได้ไม่ยาก เรามารวมพลังของคุณแม่ปกป้องลูกน้อยให้ห่างไกลจากเจ้าเหล่าวายร้าย IPD กันเถอะค่ะ 🙂
อย่าลืมปกป้องลูกน้อยจากวายร้าย IPD
ปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
#ByeByeIPD #สร้างภูมิคุ้มกันให้หนูห่างไกลIPD
____________________
Reference
- Imohl M, Linden M. Mutscher C, Reinert RR. Serotype distribution of invasive pneumococcal disease during the first 60 days of life. Vaccine 2010;28 :4758-4762.
- Rhodes J, et al. Pneumococcal Bacteremia Requiring Hospitalization in Rural Thailand: An Update on Incidence, Clinical Characteristics, Serotype Distribution, and Antimicrobial Susceptibility, 2005-2010. PLoS One. 2013;8(6).
- Phongsamart W, Srifeungfung S, Chatsuwan T, et al.Changing trends in serotype distribution and antimicrobial susceptibility of Streptococcus pneumoniae causing invasive diseases in Central Thailand, 2009-2012. Human Vaccines & Immunotherapeutics. 2014;10(7):1866-1873.
- World Health Organization. Pneumococcal vaccines WHO position paper–2012. Wkly Epidemiol Rec. 2012;87(14):129-144.
- Baldo V, Cocchio S, Lazzari R. Estimated hospitalization rate for diseases attributable to Streptococcus pneumoniae in the Veneto region of north-east Italy. Prev Med Rep. 2015;2:27-31.
- Dilokthornsakul P, Kengkla K, Saokaew S, et al. An updated cost-effectiveness analysis of pneumococcal conjugate vaccine among children in Thailand. Vaccine. 2019;37:4551-4560.
- World Health Organization. Global immunization data[Internet]. 2014[cited 2020 Mar 9]; [about 4 p.]. Available from: www.who.int/immunization/monitoring_surveillance/global_immunization_data.pdf
สนับสนุนโดย
Pfizer (Thailand) Limited
Floors 36 and 37, United Center Building
323 Silom Road, Silom, Bangrak, Bangkok 10500
Tel (66) 2761 4555
PP-PNP-THA-0298