คุณแม่ตั้งครรภ์ รับมือเท่าทันกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน เรื่องหนึ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนนั่นคือ รูปร่างของตัวเองที่เปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้นเพื่อให้คุณแม่คลายจากความกังวลใจ เราจึงมีคำแนะนำในการดูแลตัวเอง เพื่อให้คุณแม่ตั้งครรภ์ รับมือเท่าทันกับรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงกันได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

แน่นอนว่า คุณแม่ขณะตั้งครรภ์นั้นจะต้องมีน้ำหนักมากขึ้น ดูอวบอิ่มและมีน้ำมีนวลขึ้น ซึ่งคุณแม่แต่ละคนควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับน้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์ด้วย โดยเฉลี่ยสำหรับคุณแม่ที่รูปร่างปกติ ไม่อ้วน-ผอมเกินไป ก็ควรมีน้ำหนักขึ้นประมาณ 11-16 กิโลกรัม แต่ไม่ต้องกังวลว่าน้ำหนักนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างถาวร เพราะเมื่อลูกน้อยลืมตาดูโลกแล้ว น้ำหนักจะเริ่มลดลง และการให้ความสำคัญกับการกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน งดขนมขบเคี้ยวของหวาน น้ำอัดลม รวมทั้งหมั่นออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำเป็นประจำ ก็จะยิ่งทำให้น้ำหนักหลังคลอดลดลงได้เร็วยิ่งขึ้น

 

2. อาการปวดหลัง

หากคุณแม่มีอาการปวดหลังอันเนื่องมาจากครรภ์ที่ขยายใหญ่ขึ้น ให้ทำตามวิธีเหล่านี้ดู จะช่วยลดความไม่สบายเนื้อสบายตัวลงไป และทำให้นอนหลับได้สบายขึ้น

  • ยืดเหยียดร่างกาย หรือทำโยคะแบบง่ายๆ เช่น ท่า side stretching, cat and cow จะช่วยยืดให้กล้ามเนื้อหลังผ่อนคลายและแข็งแรง
  • ฝึกนอนตะแคง หรืออาจนอนหงายแล้วสอดหมอนรองใต้เข่าด้วย จะทำให้ส่วนหลังและเอวได้คลายตัวลง

 

3. ข้อมือ/เท้าบวม

เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายคุณแม่จะสำรองสารน้ำไว้ในร่างกายมากขึ้น จึงอาจจะทำให้เกิดอาการบวมตามหลังมือ ขา และข้อเท้าได้ ลองทำตามวิธีเหล่านี้ดูเพื่อบรรเทาอาการบวม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • พยายามพักเท้า หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนานๆ
  • เลือกรองเท้าที่สวมใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป
  • เวลานอนให้ยกขาสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเอาหมอนเล็กๆหนุนใต้ขา

หมายเหตุ: หากมือหรือใบหน้ามีอาการบวมขึ้นอย่างรวดเร็ว ให้ปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะเป็นสัญญาณบ่งชี้อาการอันตรายในช่วงตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า ภาวะครรภ์เป็นพิษ (Pre-eclampsia)

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

4. คันตามผิวหนัง

จริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดหากคุณแม่จะรู้สึกคันตามผิวหนังในช่วงที่ครรภ์และเต้านมเริ่มขยาย คุณแม่บางคนอาจจะมีจ้ำแดงๆ ตรงฝ่ามือหรือฝ่าเท้า วิธีบรรเทาอาการคันคือ หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน ให้ใช้สบู่อ่อนๆ หรือมอยซ์เจอไรเซอร์ได้บ่อยครั้งเท่าที่ต้องการ ไม่ควรเกาบริเวณที่คันอย่างรุนแรง เพราะอาจทำให้เกิดแผลและรอยแตกบนผิวหนังได้ แต่ที่ควรระวังคือ หากมีอาการคันร่วมกับมีผื่นผิดปกติขึ้นตามตัว หรือมีตาเหลืองตัวเหลือง ให้รีบพบแพทย์

 

5. ผิวแตกลาย

ผู้หญิงบางคนเท่านั้นที่จะประสบปัญหาผิวแตกลาย แต่หากเกิดผิวแตกลายขึ้นแล้ว รอยแตกลายนั้นไม่สามารถหายได้โดยสิ้นเชิง มีแต่ทำให้จางลงได้เท่านั้น ดังนั้นการป้องกันการเกิดผิวแตกลายจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ซึ่งผิวแตกลายนั้นมักจะเกิดขึ้นบนผิวหนังบริเวณที่ยืดขยายอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น ที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณหน้าท้อง สะโพก และเต้านม คุณแม่สามารถลดโอกาสการเกิดผิวแตกลายด้วยการค่อยๆ เพิ่มน้ำหนักตัวทีละนิด โดยระวังไม่ให้เกินน้ำหนักที่เหมาะสม รวมถึงการใช้เบบี้ออยล์ทาบริเวณหน้าท้องและต้นขาจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ป้องกันการเกิดรอยแตกได้อีกทางหนึ่ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาร่วมค้นพบข้อมูลดีๆ เพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage : JohnsonsBabyClub

 

ตรวจสอบข้อมูลโดย นพ.ประสิทธิ์ วิริยะกิจไพบูลย์

สูตินรีแพทย์ รพ.กรุงเทพ-พระประแดง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team