ลูกรอดเพราะ "คาร์ซีท" อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย

ลูกรอดเพราะ "คาร์ซีท" อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย หากเคยคิดว่าคาร์ซีทไม่จำเป็น ไม่มีก็ได้ ถ้าอยากเเลกกับชีวิตเเละความปลอดภัยของลูก ก็ได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกรอดเพราะ “คาร์ซีท” อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย

ลูกรอดเพราะ “คาร์ซีท” อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง จากคำบอกเล่าของคุณพ่อ Chaowat Pruksapradupkun

อุบัติเหตุไม่คาดฝัน

วันนี้เกิดเหตุไม่ขาดคิดขึ้นเวลาประมาณบ่าย3โมงครึ่ง ขับรถอยู่เลนส์กลางบนสะพานพระราม 4 พอถึงช่วงกลางสะพานเห็นมอเตอร์ไซค์ชายหญิงคู่1ขับรถยึกยักอยู่เลนส์ซ้ายสุดหลังรถสิบล้อ พอรถผมกำลังแซงไปไม่เกิน 5 เมตร รถมอเตอร์ไซค์ออกแซงขวาชนรถสิบล้อ ล้มลงมาในเลนส์กลางซึ่งมีรถผมอยู่ระยะไม่เกิน 5 เมตรอยากกระทันหัน ผมเบรคแล้วหักออกขวา รถสีดำชนตูดรถผมอย่างจังกระเด็นไปชนเกาะกลางถนน

พอรถถูกชนแล้วหยุดนิ่งผมรีบหันไปดูลูกก่อนเลยได้เห็นสันชาตญาณความเป็นแม่ของเหมี่ยวที่ได้กอดลูกไว้กับคาร์ซีท (ปกติเหมี่ยวจะทำอะไรช้า)แต่เหตุเกิดกับมีสติกับไว้มาก สุดยอด ทำให้ตัวผมคอเคล็ดเกิดจากเบลท์ ส่วนเหมียวกระอักเลือดออกมาทันที(เพราะนั่งหลังกับลูกแต่ตอนนี้ไม่เป็นอะไรแล้ว)ส่วนลินินไม่เป็นอะไร เพราะนั่งคาร์ซีท อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ (ผมไม่ได้ขับเร็วไม่เกิน 70 เพราะอีกประมาณ 100 เมตร ผมใกล้ที่จะลงตรงทางลงปากเกร็ดแล้ว)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กฎหมายในไทย ???

แม้ว่าตามสถิติจาก WHO หรือองค์การอนามัยโลกจะพบว่าในแต่ละปีเด็กทั่วโลกเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ประมาณ 186,300 คน หรือในทุกๆ 4 นาที จะมีเด็ก 1 คนเสียชีวิต โดยประเทศไทยพบการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่มีเด็กเสียชีวิต ส่วนใหญ่เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุที่มีการชนกันอย่างแรงทำให้เด็กหลุดจากที่นั่งกระเด็นออกมานอกรถหรือเด็กหลุดจากอ้อมกอดของผู้ปกครองไปกระแทกกับส่วนต่างๆ ในรถ ส่วนหนึ่งของสาเหตุการเสียชีวิตนั้นเกิดจากการไม่ใช้ที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กหรือคาร์ซีท
 
การใช้คาร์ซีทสามารถช่วยลดการเสียชีวิตของเด็กได้ถึงร้อยละ 70 ปัจจุบัน 96 ประเทศทั่วโลก มีกฎหมายบังคับใช้ที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก แต่โดยส่วนใหญ่เป็นประเภทในกลุ่มที่มีรายได้สูง ส่วนกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและปานกลางยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้น้อยมาก จากการประเมินการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับที่นั่งพิเศษสำหรับเด็กของประเทศไทยโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่ากับศูนย์ นั่นหมายความว่าในเมืองไทยไม่มีกฎหมายบังคับใช้คาร์ซีทนั่นเอง

กฎหมายคาร์ซีททั่วโลก

ในเเต่ละประเทศที่พัฒนาเเล้วนั้น กฎหมายคาร์ซีทถือว่าเข้มทีเดียวค่ะ นอกจากการปรับเป็นเงินประมาณ 1-2 หมื่นบาทเเล้ว ยังมีการห้ามพ่อแม่เดินทางโดยไม่มีคาร์ซีทในรถสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 10-12 ปีอีกด้วย โดยประเทศที่มีกฎหมายบังคับเรื่องนี้ก็อย่างเช่น สหราชอาณาจักร อเมริกา แคนาดา สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี เดนมาร์ก เเละเนเทอร์เเลนด์ โดยคาร์ซีที่ได้มาตรฐานจะมีตราสัญลักษณ์ UN-ECE Regulation 44/04 และของสหภาพยุโรป Directive 77/541/EEC ติดอยู่เป็นต้นค่ะ
 
 

ช่างกฎหมาย ป้องกันเองก็ได้

เเม้ในเมืองไทยจะไม่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้อย่างเป็นทางการ เเต่การจำหน่ายคาร์ซีทก็มีอยู่ทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ คุณพ่อคุณเเม่ก็ควรจะหาซื้อมาไว้ใช้งานเองได้นะคะ
 
 

บทความที่น่าสนใจ

 
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา