ทำความรู้จักกับ ประเภทของโรงเรียน และความแตกต่าง ของโรงเรียนทั้ง 6 ประเภท ที่เป็นที่นิยมในเมืองไทย คุณพ่อคุณแม่ ควรศึกษา ประเภทของโรงเรียน ให้ดี ก่อนส่งลูกเข้าเรียน คุณพ่อคุณแม่หลายท่านที่กำลังวางแผนจะมีลูก หรือกำลังมีลูกอยู่ในวัยที่กำลังจะต้องส่งเข้าโรงเรียน ซึ่งในช่วงนี้จะทั้งพ่อและแม่จะมีการตั้งคำถามขึ้นมามากมาย ว่าควรส่งลูกเรียนโรงเรียนแบบไหนดี ประเภทของโรงเรียน มีอะไรบ้าง เพราะสมัยนี้ก็มีโรงเรียนมากมายเต็มไปหมด ซึ่งโรงเรียนแต่ละประเภท ก็จะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละด้าน และต่างก็มีจุดเด่น จุดด้อย รวมไปถึงค่าใช้จ่าย ที่ต่างกันออกไป
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่ยังไม่ทราบว่าโรงเรียนในเมืองไทย ที่เป็นที่รู้จักและนิยมอยู่ในสมัยนี้ มีทั้งหมดกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไร เราได้ลองสร้างแบบสอบถาม และแจกจ่ายให้เด็กกลุ่มหนึ่งเพื่อให้พวกเขาแชร์ว่าโรงเรียนประเภทที่พวกเขาได้เรียนหรือจบมานั้นมีจุดเด่นและจุดที่ต้องคำนึงถึงอย่างไรบ้าง นอกจากนี้เรายังส่งแบบสอบถามอีกชุดให้คุณพ่อคุณแม่กลุ่มหนึ่ง เพื่อรวบรวมความเห็นว่าทำไมพวกเขาถึงส่งลูกเรียนโรงเรียนประเภทนั้น ๆ
สำหรับบทความนี้ จะพูดถึง โรงเรียน 6 ประเภท ที่สามารถพบเป็นที่นิยม และสามารถพบได้โดยทั่วไป ในเมืองไทย ซึ่งทั้ง 6 ประเภท ประกอบไปด้วย
- โรงเรียนรัฐบาล
- โรงเรียนคาทอลิก หรือ โรงเรียนเอกชน
- โรงเรียนสาธิต
- โรงเรียนทางเลือก
- โรวงเรียนสองภาษา
- โรงเรียนนานาชาติ
โรงเรียนแต่ละประเภท นอกจากเรื่องภาพรวมของโรงเรียนที่ดูแตกต่างกันแล้ว สังคมในโรงเรียน ก็อาจส่งผลต่ออนาคตของเด็กที่จบการศึกษามาจากโรงเรียนนั้น ๆ ด้วย
1. โรงเรียนรัฐบาล
เมื่อพูดถึงโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนประเภทนี้ มีจุดเด่น ที่แม้ไม่ต้องบอกก้อรู้ได้ว่าโรงเรียนประเภทนี้ มีจุดเด่นในด้านใด จากที่ได้พูดคุยกับบรรดาศิษย์เก่าที่จบการศึกษาในช่วงมัธยมจากโรงเรียนรัฐบาลนั้น ส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า โรงเรียนรัฐบาลนอกจากจะมีค่าเทอมที่ค่อนข้างถูกแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คนที่จบจากโรงเรียนประเภทนี้จะผ่านสังคมที่หลากหลายมา ซึ่งจากการผ่านสังคมที่หลากหลายนั้น นั่นส่งผลให้ พวกเขารู้จักการใช้ชีวิตแบบติดดิน ทำให้รู้สึกเหมือนได้ เตรียมพร้อมที่เจอช่วงชีวิตต่อจากนี้
ในส่วนของฝั่ง พ่อแม่ที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนรัฐบาลนั้นส่วนใหญ่ ปัจจัยหลัก ๆ น่าจะมาจาก ค่าใช้จ่ายที่ไม่เยอะจนเกินไป และเดินทางสะดวก ชื่อเสียงของโรงเรียนนั้น ๆ และอีกอย่าง อาจเลือกเพราะตัวเองเคยเป็นศิษย์เก่า นั่นเอง
โรงเรียนรัฐบาล ถือได้ว่า เป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ครอบครัวส่วนใหญ่เลือกที่จะให้ลูกได้เข้าเรียน ด้วยค่าใช้จ่าย ที่เมื่อเทียบกับตัวเลือกอื่น ๆ แล้ว โรงเรียนรัฐบาลนั้น ค่อนข้างจะจ่ายน้อยกว่าโรงเรียนประเภทอื่นค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว (ประมาณ 3,000-6,000 บาทต่อปี) หลายคนมีความคิดที่ว่าใคร ๆ ก็สามารถเข้าโรงเรียนประเภทนี้ได้ และอาจถูกมองว่า โรงเรียนประเภทนี้เป็นแค่ตัวเลือกธรรมดา ๆ ตัวหนึ่ง เท่านั้น แต่เอาเข้าจริง ๆ การเรียนการสอนในโรงเรียนรัฐบาลนั้น มีความเข้มข้นไม่แพ้กัน เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ครูที่จะสามารถเข้าสอนในโรงเรียนรัฐบาลได้นั้น ก็ต้องผ่านการสอบหลายสนามสอบเลยทีเดียวกว่าจะได้ เข้าไปสอนในโนโรงเรียนรัฐบาลได้ ทางด้านกฎระเบียบก็ค่อนข้างจะเข้มงวด ตั้งแต่ทรงผมจนถึงเครื่องแบบ
นอกจากจุดเด่นที่เป็นด้านดีแล้ว โรงเรียนรัฐบาลก็มีจุดที่ควรคำนึงถึงเพิ่มเติมด้วย ถ้าจะส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนประเภทนี้ จุดด้อยของโรงเรียนรัฐบาล ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ เรื่องเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน และที่สำคัญ หลักสูตรในการเรีนยนการสอน ซึ่งในโนรงเรียนรัฐบาล จะต้องใช้หลักสูตรตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ให้มาเท่านั้น และเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า หลักสูตรจากทางกระทรวงศึกษาธิการนั้น ก็มีทั้งที่ดี และไม่ดี แต่เนื่องจากไม่สามารถสอนหลักสูตรอื่น ๆ หรือเนื้อหานอกเหนือจากในหลักสูตรของกระทรวงฯ แล้ว เด็กที่เรียนโรงเรียนรัฐบาล ก็จำเป็นต้องเรียนตามหลักสูตรนั้นไปจนจบ ซึ่งอาจส่งผลให้ ต้องไปหาความรู้เพิ่มเติมจากโรงเรียนกวดวิชานั่นเอง
2. โรงเรียนคาทอลิก (โรงเรียนเอกชน)
ข้ามมาฝั่งโรงเรียนเอกชนบ้าง อีกหนึ่งตัวเลือกที่ตีคู่มากับโรงเรียนรัฐบาล และยังเป็นตัวเลือกแรก ๆ ของหลายครอบครัว โรงเรียนเอกชนหรือโรงเรียนคาทอลิก เป็นโรงเรียนที่มีพื้นฐานมาจากศาสนาคริสต์ องค์ประกอบหลาย ๆ อย่างมีความเป็นศาสนาคริสต์ ตั้งแต่ชื่อโรงเรียนไปจนถึงวิธีการเรียกอาจารย์ผู้สอน แต่เด็กที่เข้าเรียนไม่จำเป็นต้องนับถือศาสนาคริสต์
ในส่วนของการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าชื่อเรียกของโรงเรียนประเภทนี้ จะเรียกว่าโรงเรียนคาทอลิก แต่ก็ยังอิงหลักสูตรการเรียนการสอนของทางกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับค่าใช้จ่ายต่อปีนั้น ถ้าเป็นหลักสูตรไทยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 80,000-90,000 บาท / ปี แต่ถ้าเป็นหลักสูตร English Program ค่าใช้จ่ายอาจพุ่งขึ้นเป็นแสนต้น ๆ ต่อปี เรียกได้ว่าคูณสองจากหลักสูตรไทยเลยทีเดียว
จากการที่ได้พูดคุยและสอบถาม จากผู้ที่จบการศึกษาในช่วงชั้นมัธยมจากโรงเรียนประเภทคาทอลิก ดูเหมือนว่าส่วนใหญ่จะเห็นความสำคัญในเชิงสังคมที่กว้างขึ้น ได้เพื่อนเยอะ โดยเฉพาะเพื่อนจากต่างโรงเรียนแต่อยู่ในเครือเดียวกัน ซึ่งถ้าเป็นโรงเรียนประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีเครือพันธมิตร อาจเป็นเรื่องยาก ที่เด็กจะได้ไปสานสัมพันธ์กับเด็กจากโรงเรียนอื่น ๆ
นอกเหนือไปจากนั้นยังมีข้อได้เปรียบด้าน connection เชิงวิชาการ ที่ค่อนข้างกว้าง สามารถนำไปต่อยอดได้ง่าย ทางฝั่งคุณพ่อคุณแม่ที่ส่งลูกเรียนโรงเรียนคาทอลิก ส่วนใหญ่ก็จะเลือกเพราะปัจจัยด้านสังคม และชื่อเสียงของโรงเรียนเช่นกัน
ในด้านของจุดอ่อนของโรงเรียนประเภทนี้คือ ถึงแม้ว่าจะมีการใช้หลักสูตรการเรียนาการสอนตามกระทรวงศึกษาธิการ แต่การเรียนของเด็กในโรงเรียนประเภทคาทอลิก ถือว่าหนักจนเกินไปบางโรงเรียนต้องไปเรียนในวันเสาร์ด้วย ซึ่งการเรียนถึง 6 วันต่อสัปดาห์ ถือว่าหนักเกินไป อาจเกิดภาวะเครียดสะสมได้
และโรงเรียนคาทอลิกบางแห่ง ครู-อาจารย์ ก็มีน้อยเกินไป หากเปรียบเทียบกับจำนวนนักเรียน โรงเรียนประเภทนี้ บางโรงเรียนไม่ต่อยจำกัดจำนวนนักเรียนให้เหมาะสมกับจำนวนครู จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องครูผู้สอนไม่เพียงพอ อาจส่งผลให้เด็ก ไม่ได้รับการเรียนการสอนเต็มที่
3. โรงเรียนสาธิต
โรงเรียนสาธิต เป็นโรงเรียนที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะศึกษาศาสตร์ หรือคณะครุศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อเป็นสถานฝึกปฏิบัติงานของนิสิตนักศึกษาในคณะนี้ ดังนั้น เด็กที่เข้าเรียนในโรงเรียนประเภทนี้ นอกจากจะได้เรียนกับครูวัยผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังจะได้เรียนกับนิสิตนักศึกษาฝึกสอนด้วย
ข้อดีของการได้เรียนกับ นิสิตนักศึกษาฝึกงานนั้น คือในระหว่างการเรียนการสอน อาจมีการใช้วิธีการสอนใหม่ ๆ วิธีคิดที่นอกกรอบ และบางคนอาจจะพยายามทำให้ชั้นเรียนไม่น่าเบื่อจนเกินไป ด้วยการพานักเรียนเล่นเกมส์ หรือให้มีส่วนร่วมในชั้นเรียน อีกทั้งผู้สอนมีช่วงอายุ ที่ใกล้เคียงกับนักเรียน จึงมีแนวโน้มเชื่อมสัมพันธ์กันได้ง่ายขึ้น
นอกจากนี้ เด็กที่เรียนโรงเรียนสาธิต ก็จะได้รับการเตรียมพร้อมหากจะเข้ามหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่กำกับดูแลโรงวเรียนสาธิตนั้น ๆ ในโรงเรียนสาธิตบางแห่ง ยังเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ช่วงชั้นอนุบาล จนถึงมัธยมปลายก็มี ครอบครัวที่อยากให้ลูกเรียนที่เดียวยาว ๆ ก็สามารถศึกษารายละเอียดโรงเรียนประเภทนี้ได้ อีกทั้งไม่ต้องเผชิญการสอบเข้าในชั้นมหาลัย ซึ่งต้องแข่งขันกับเด็กจากโรงเรียนประเภทอื่น ๆ เรียกได้ว่ามหาโหดเลยทีเดียว
ในด้านของการส่งลูกเข้าเรียน ในโรงเรียนประเภทนี้ สำหรับเด็กใหม่ก็อาจจะเข้มข้นหน่อย โดยจะต้องแสดงความสามารถ ต้องสอบแข่งขันกันในด้านวิชาการ จึงเชื่อกันว่าเด็กสาธิตจะวิชาการแน่นสุด ๆ
ทั้งนี้ โรงเรียนสาธิตเป็นได้ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ขึ้นอยู่กับมหาวิทยาลัยที่โรงเรียนสังกัด ด้วยจากการสุ่มสอบถามจากครอบครัวที่ส่งลูกเรียนในโรงเรียนสาธิต จะมีค่าใช้จ่ายต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 25,000-50,000 บาทต่อปี
ข้อดีของโรงเรียนประเภทนี้คือ มีชื่อเสียงที่ค่อนข้างน่าเชื่อถือตั้งแต่ชั้นประถมไปจนถึงมัธยม เด็กที่เรียนในโรงเรียนประเภทนี้จะมีเพื่อนสนิทที่เรียนด้วยกันเป็นระยะเวลาที่นานจึงทำให้ มีเพื่อนที่ค่อนข้างสนิทจากที่นี่
อีกทั้งที่โรงเรียนประเภทนี้ จะมีกิจกรรมในเด็กนักเรียนได้ทำเยอะ ซึ่งเป็นการฝึกและสอนให้เด็กมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก แต่ก็ยังมีความเป็นตัว ของตัวเองที่สูง
ในส่วนของจุดด้อย ในบางโรงเรียนเด็กที่เรียนในโรงเรียนประเภทนี้จะอ่อนในด้านทักษะของภาษา ซึ่งดูอ่อนอย่างเห็นได้ชัดหากเทียบกับโรงเรียนประเภทคาทอลิก
4. โรงเรียนทางเลือก
หลายคนอาจไม่ค่อยคุ้นหูกับโรงเรียนประเภทนี้ โรงเรียนทางเลือก เป็นโรงเรียนที่เป็นอิสระจากการควบคุมของรัฐบาล มีการเรียนการสอน จะต่างจากระบบการศึกษากระแสหลัก เช่น แทนที่จะเรียนแต่ในห้องเรียนอย่างเดียว ก็มีการเรียนนอกห้องเรียน การเรียนแบบเชิงปฏิบัติ หรือมีกิจกรรมที่หลากหลาย
นอกจากนี้ ยังรวมถึงโรงเรียนที่มุ่งเน้น การสอนเด็กกลุ่มพิเศษ เช่น เด็กอัจฉริยะ เด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มนี้ในบางคน อาจเรียนในหลักสูตรปกติไม่ได้ หรือเรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งเมื่อเป็นแบบนี้ทั้งครู และผู้ปกครองจะต้องดูแลกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นโรงเรียนประเภทนี้ จึงมีครูค่อนข้างเยอะเมื่อเทียบกับนักเรียน ทั้งนี้ก็เพื่อให้นักเรียนได้รับความดูแลอย่างทั่วถึง
โรงเรียนทางเลือกที่เรามักเห็นได้บ่อย ๆ จะเป็นโรงเรียนในระดับอนุบาล ซึ่งครูในโรงเรียนประเภทนี้ นอกจากจะมีเยอะแล้ว ยังใจดี และมีทักษะพื้นฐานในการดูแลเด็กพิเศษ อีกด้วย
ทางด้านค่าใช้จ่าย จากข้อมูลที่ได้สอบถามจากผู้ปกครอง ที่ให้เด็กเรียนในโรงเนียนประเภทนี้ พบว่ามีตั้งแต่ระดับ 20,000 – 50,000 บาท/ปี ไปจนถึงระดับแสนต้น ๆ เลยทีเดียว ที่สำคัญคือ นี่เฉพาะระดับอนุบาลเท่านั้นนะ
ข้อดี หากส่งลูกเรียนในโรงเรียนประเภทนี้ ตามที่บอกข้างต้น ครูที่ดูแลเด็กในโรงเรียนประเภทนี้ จะค่อยข้างมีความใส่ใจในตัวเด็กดูแลค่อนข้างใกล้ชิด โดยเฉพาะหากเป็นเด็กพิเศษแทบจะดูแลยคนต่อคนเลย เพราะฉะนั้น พ่อแม่จึงค่อนข้างวางใจได้กับโรงเรียนในประเภทนี้ โรงเรียนบางแห่งอาจมีการจัดการเรียนการสอนที่ตรงใจเด็ก เน้นไปที่การทำกิจกรรมา มากกว่านั่งที่โต๊ะเรียนอย่างเดียว เด็กก็จะรู้สึกสนุก และไม่เบื่อกับเนื้อหาที่เรียนอยู่
ส่วนจุดด้อย เนื่องจากโรงเรียนประเภทนี้ ยังมีไม่ค่อยเยอะ จึงอาจเป็นปัญหาเล็กน้อย หากครอบครัวไหนที่อยากส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนประเภทนี้ แต่ไม่มีอยู่ใกล้ ๆ ที่พัก ซึ่งอาจจะต้องลำบากเรื่องเดินทางไปรับ-ส่งลูก
และโรงเรียนประเภทนี้ จำเป็นต้องมีครูที่เยอะ เพื่อดูแลเด็กให้ทั่วถึง จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ มีค่าเทอมที่ค่อนข้างสูง ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่ค่าใช้จ่ายที่สูงก็แลกมากับความปลอดภัยของลูก และความสบายใจของพ่อแม่ ครอบครัวไหนสนใจโรงเรียนประเภทนี้ ก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ เพื่อประกอบการตัดสินใจ
5. โรงเรียน 2 ภาษา
โรงเรียนสองภาษา (Bilingual) มีหลักสูตรที่ต่อยอดมาจากหลักสูตรการเรียนการสอนแบบไทยปกติ หมายความว่า หลักสูตรที่ใช้ในการเรียนการสอนก็ยังอิงอยู่กับกระทรวงศึกษาธิการ เรียนเหมือนโรงเรียนรัฐบาลและเอกชนทุกอย่าง จำนวนนักเรียนต่อห้องก็คล้ายคลึงกับโรงเรียนรัฐบาล คืออาจมีเยอะถึง 60 คน / ห้องเหมือนโรงเรียนรัฐบาล
แต่ที่ต่างคือ ในการเรียนการสอนนั้น จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นส่วนใหญ่ โดยแต่ละโรงเรียนก็มีสัดส่วนการสอนเป็นภาษาอังกฤษแตกต่างกันไป ซึ่งจำนวนขั้นต่ำนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดไว้ว่าแต่ละระดับชั้น สามารถเรียนภาษาอังกฤษในวิชาไหนได้บ้าง เช่น ระดับอนุบาลสอนภาษาอังกฤษได้ไม่เกิน 50% ของการเรียนการสอนทั้งหมด ระดับประถมสามารถสอนภาษาอังกฤษเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และพลศึกษา เป็นต้น
สำหรับโรงเรียน 2 ภาษานี้ นอกจากจะมีแยกเป็นโรงเรียนเดี่ยว ๆ แล้ว โรงเรียนรัฐบาลบางแห่ง ก็มีการเปิดห้องเรียนเพิ่มเติม ที่มีหลักสูตรสอนเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) แบบนี้ก็นับรวมเป็นโรงเรียนสองภาษาได้เช่นกัน แต่โรงเรียนที่เป็นกึ่งรัฐบาล กึ่ง 2 ภาษานั้น ในระบบ 2 ภาษา จะรับนักเรียนจำนวนน้อยกว่าที่กล่าวไปข้างต้น คือ จะรับระบบ 2 ภาษา ประมานห้องละไม่เกิน 30 คน
ข้อดีของโรงเรียน 2 ภาษา ที่เห็นชัดที่สุดคือ เด็กจะมีความสามารถใช้ภาษาที่ 2 ได้เป็นอย่างดี ในขณะที่ก็ยังได้เรียนในวิชาพื้นฐานหลักของประเทศไทยอีกด้วย แต่ก็ต้องแลกมากับค่าใช้จ่ายที่อาจสูงกว่าปกตินิดหน่อย
โรงเรียนสอนภาษาจึงเป็นตัวเลือกหนึ่ง ที่ในปัจจุบัน หลายครอบครัวให้ความสนใจกับโรงเรียนประเภทนี้ เพราะแต่ละครอบครัว ก็อยากให้ลูกรู้ภาษาอังกฤษ แต่ก็ยังคงความเป็นไทยในหลักสูตรวิชาบางส่วนไว้
ในส่วนของค่าใช้จ่ายต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 80,000 ถึงแสนต้น ๆ การเรียนในหลักสูตรไทย ยังสามารถต่อยอดไประดับมหาวิทยาลัย หากเด็กต้องการเข้าเรียนสายเฉพาะทางที่ส่วนใหญ่มีสอนแค่หลักสูตรไทยเท่านั้น เช่น แพทย์ เป็นต้น แต่ถึงอย่างนั้น ศิษย์เก่าอีกท่านก็ได้เสริมว่า
ในส่วยของข้อด้อย ข้องโรงเรียนประเภทนี้ คือ ในหลักสูตรภาษาอังกฤษ ในบางโรงเรียนยังมีการใช้ครูที่เป็นคนไทย และครูบางคนก็ไม่สามารถสื่อสาร หรืออธิบายในบางประโยคที่เป็น แสลงหรือภาษาพูดของภาษาอังกฤษให้นักเรียนเห็นภาพหรือเข้าใจได้
นั่นหมายความว่า ถึงแม้จะเป็นโรงเรียน 2 ภาษา เหมือนกัน แต่ในแต่ละแห่ง ก็ไม่เหมือนกัน อีกทั้งโรงเรียน 2 ภาษา ก็ยังถือว่ามีสัดส่วนนักเรียนที่เป็นคนไทยอยู่ค่อนข้างเยอะ เด็ก ๆ จึงอาจไม่ได้พบ หรือเจอกับเพื่อนที่เป็นชาวต่างชาติเท่าไรนัก
6. โรงเรียนนานาชาติ
มาถึงตัวเลือกสุดท้าย เป็นตัวเลือกที่เชื่อว่า หลายครอบครัวอยากส่งลูกเข้าไปเรียนในโรงเรียนประเภทนี้มาก แต่อาจจะติดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะสูงถึงประมาณ 300,000-700,000 / ปี เลยทีเดียว
โรงเรียนนานาชาติ เป็นโรงเรียนที่อ้างอิงหลักสูตรจากต่างประเทศ อาจจะเป็นอเมริกัน อังกฤษ หรือออสเตรเลีย นักเรียนจะได้เรียนเหมือนประเทศเจ้าของหลักสูตร เพียงแต่มีวิชาภาษาไทยมาเป็นวิชาบังคับด้วย (ตามกฎของกระทรวงศึกษาธิการ) ครู-อาจารย์ ของโรงเรียนประเภทนี้ จะเป็นชาวต่างชาติเป็นหลัก อีกทั้งยังต้องมีใบรับรองคุณวุฒิอาจารย์ และมีประสบการณ์สอนมาก่อน และเนื่องจากว่าคุณสมบัติแบบนี้ค่อนข้างหายาก ในประเทศไทย ทางโรงเรียนจึงจำเป็นต้องจ้างครูมาสอนโดยตรง จากต่างประเทศ ค่าจ้างจึงสูงตามไปด้วย นั่นเลยส่งผลให้ค่าเทอมของเด็กสูงตามไปด้วยนั่นเอง
นอกจากจะมีครูเป็นเจ้าของภาษาเป็นหลักแล้ว เพื่อนนักเรียนก็มีความหลายหลาย ต่างเชื้อชาติ ต่างภาษา ส่งผลให้ภาษาอังกฤษที่ได้เรียนมาได้มีการใช้งาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กที่จบจากโรงเรียนนานาชาติจะสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าภาษาไทย เห็นได้ชัดเจนว่าจุดแข็งหนีไม่พ้นภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ยังไงก็คงขาดไม่ได้สำหรับโรงเรียนนานาชาติ
เด็กที่เรียนในโรงเรียนนานาชาติจะได้ประสบการณ์ในเรื่องของสังคมหลากหลายเชื้อชาติ และการเรียนการสอนที่แตกต่างไปจากระบบเดิม ๆ ทางฝั่งคุณพ่อคุณแม่ ที่ส่งลูกเรียนนานาชาติก็ให้ความเห็นว่าพวกเขาคาดหวังให้เด็กหัดคิดได้ด้วยตัวเอง ไม่เรียนแบบท่องจำ และอยากให้เด็กได้ภาษาอังกฤษดี
แต่ถึงอย่างนั้น โรงเรียนนานาชาติใช่ว่าจะมีแต่ข้อดี ในเด็กบางคนอาจจะเก่งแค่ภาษาใดภาษานึง จนทำให้การใช้ภาษาไทย หรือภาษาอื่นๆ ได้ไม่ดีนัก ซึ่งส่งผลให้ เด็กคนนั้นๆ ถึงแม้จะเก่งภาษาอังกฤษมาก แต่ในส่วนของภาษาไทยก็อาจจะอ่อนสุดๆ ไปเลย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรดูให้ดี ว่าลูกได้รับการปลูกฝังด้านภาษาไทยพอ ๆ กับภาษาอังกฤษหรือไม่
ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีโรงเรียนนานาชาติเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละโรงเรียนก็จะมีหลักสูตรที่แตกต่างกัน ดังนั้นพ่อแม่ที่จะส่งลูกเข้าโรงเรียนประเภทนี้ ควรศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตร และต้องมั่นใจว่าจะสามารถนำพาลูกไปได้ตลอดรอดฝั่ง (ทั้งค่าใช้จ่าย และ การสนับสนุนลูกในด้านอื่นๆ)
ที่มา : www.finnomena.com
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :
คุณสมบัติของ โรงเรียนดีในชุมชน รร.มัธยมดีสี่มุมเมือง ต้องเป็นอย่างไร?
วิธีการจองโรงเรียนอนุบาล ต้องทำอย่างไร มีเอกสารอะไรบ้าง
การจองโรงเรียนอนุบาล : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ