ความรู้จากแพทย์กับโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก

โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดเกิดจากอะไร มีแนวทางการรักษาอย่างไร และจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยของคุณเป็นโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดหรือเปล่า?...อ่านคำตอบจากแพทย์ได้ที่นี่ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โอกาสและความเสี่ยงโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก

  • สถานการณ์โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในปัจจุบัน จะพบในทารก 7.7 คน จากทารก 1,000 คน
  • แต่มีแค่ร้อยละ 1 ที่ตรวจทราบหรือพบเลยตั้งแต่แรกคลอดว่าเป็นโรคนี้
  • โดยในแต่ละปีมีทารกต้องการการผ่าตัดมากถึง 5,000-6,000 ราย แต่สามารถผ่าตัดได้เพียง 3,500 คน

สาเหตุของโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิดในทารก

  • สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัดแต่ความผิดปกติเกิดในขั้นตอนการสร้างอวัยวะตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อใน 3 เดือนแรกหรือเกิดจากกรรมพันธุ์
  • นอกจากนี้สาเหตุของโรคยังเกิดได้จากพฤติกรรมของมารดาขณะตั้งครรภ์ด้วย เช่น แม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้าตอนตั้งครรภ์
  • แม่มีอายุมากเกินกว่าวัยเจริญพันธุ์
  • หรือเด็กที่เกิดมาเป็นดาวน์ซินโดรม เด็กที่คลอดก่อนกำหนด หรือเกิดมาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงเป็นได้

อ่านข้อมูลต่อหน้าถัดไป >>>


ชนิดของโรคและอาการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ชนิดเขียว หรือมีออกซิเจนในเลือดต่ำ

  • เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
  • ทำให้เลือดดำปนกับเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย จนเด็กเกิดภาวะขาดออกซิเจน

2. ชนิดไม่เขียว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เกิดจากความผิดปกติในโครงสร้างระบบหลอดเลือดและหัวใจ
  • โดยอาจเกิดจากผนังกั้นหัวใจมีรูลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบ

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกเป็นโรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด?

  • สำหรับชนิดเขียว ผิวจะมีสีเขียวม่วงคล้ำ โดยจะเห็นได้ชัดขณะร้องหรือดูดนม
  • สำหรับชนิดไม่เขียว อาจพบได้จากการตรวจพบเสียงหัวใจเต้นผิดจังหวะโดยบังเอิญ และเด็กเล็กมักดูดนมได้ครั้งละน้อย  ๆ หายใจเร็ว น้ำหนักขึ้นช้า เป็นต้น


แนวทางในการรักษา

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • รักษาด้วยยา เพื่อประคับประคองอาการ
  • รักษาด้วยการสวนหัวใจในผู้ป่วยที่สามารถใส่อุปกรณ์สวนหัวใจได้
  • รักษาด้วยการผ่าตัด ในกรณีที่ใช้ยาแล้วไม่ได้ผล
  • สำหรับเด็กอายุแรกเกิดถึง 1 ปีในบางรายจำเป็นต้องจำกัดปริมาณนมและไม่สามารถรับนมแม่ได้ หรือควรเลี่ยงอาหารรสเค็ม
  • ส่วนเด็กที่มีอายุมากกว่า 1 ปี ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีพลังงานสูง และควรรับวัคซีนเสริมบางชนิด
  • นอกจากนี้ควรหมั่นดูแลสุขภาพช่องปากและฟันเพื่อลดโอกาสติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ

ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของศาสตราจารย์ นายแพทย์ กฤตย์วิกรม ดุรงค์พิศิษฏ์กุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือดโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ณ งานเสวนาในหัวข้อ “โรคหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด” โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team