ความพิการแต่กำเนิด 5 โรคร้ายแรงที่แม่ท้องควรระวัง

แม่ท้องต้องอ่าน ความพิการแต่กำเนิด ที่พบบ่อยในเด็กไทย ป้องกันได้! ถ้าไม่อยากเสียใจภายหลัง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Top 5 ความพิการแต่กำเนิด ที่พบบ่อยในเด็กไทย

พ่อแม่ทุกคนก็อยากให้ลูกในท้อง คลอดออกมาได้อย่างแข็งแรง ปลอดภัย ร่างกายครบ 32 แต่รู้กันหรือเปล่าว่า เด็กแรกเกิดในบ้านเรานั้น มีความพิการแต่กำเนิดถึงเกือบ 3% มาดูกันดีกว่าว่า Top 5 ความพิการแต่กำเนิด ที่พบบ่อยในเด็กไทย มีอะไรบ้าง

 

ความพิการแต่กำเนิดมีอุบัติการณ์ประมาณร้อยละ 3 ของทารก

นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลจากข้อมูลการจดทะเบียนความพิการแต่กำเนิดในประเทศไทย ปี 2558 โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ทำการสำรวจ 49 โรงพยาบาลในพื้นที่ 41 จังหวัด จากจำนวนเด็กเกิดมีชีพ 171,401 ราย คิดเป็นร้อยละ 23.27 ของเด็กแรกเกิดทั้งประเทศ พบเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด จำนวน 4,679 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.73

 

ความผิดปกติที่พบบ่อย 5 อันดับแรก

1. โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือดเกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์ โดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ความผิดปกติที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มีเลือดดำปนอยู่ในเลือดแดงที่ไปเลี้ยงร่างกาย โรคนี้มีความแตกต่างกันไปตามด้านพยาธิสภาพ และอาการแสดง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

2. ภาวะแขนขาพิการ

ความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก เช่น แม่ไม่ได้วิตามินโฟลิก หรือกินอาหารที่มีโฟเลต ทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้นตอนที่มีการปฏิสนธิ ซึ่งทารกจะแสดงอาการตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ แขนขาทารกอาจได้รับการพัฒนาปกติ แต่มือและเท้าขาดหายไป หรือกระดูกเชิงกรานขาดไป

 

3. ปากแหว่งเพดานโหว่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความพิการของส่วนศีรษะและใบหน้า สาเหตุของโรคนี้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม และภาวะขาดสารของแม่ในขณะที่ตั้งครรภ์ ทารกจะมีปัญหาการดูดกลืนอาหาร เจริญเติบโตช้า ระบบทางเดินหายใจ และปัญหาด้านการสื่อสาร ทั้งการพูดและภาษา นอกจากนี้ยังกระทบกับจิตใจด้วย เนื่องจากเด็กจะมีปมด้อยในการเข้าสังคมเพราะหน้าตาและการพูดไม่ปกติ

 

4. กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความผิดปกติของโครโมโซม ในคนปกติจะมี 46 โครโมโซม แต่คนที่เป็นโรคดังกล่าวมี 47 โครโมโซม เป็นความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ที่พบได้บ่อยที่สุดจากแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก เด็กจะมีลักษณะของตาที่เฉียงขึ้นบน, ดั้งจมูกแบน, ตาห่าง, มือเท้าสั้น, กล้ามเนื้อที่อ่อนแรง และมักจะมีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดร่วมด้วย และมีพัฒนาการทางสมองล่าช้า

 

5. ภาวะน้ำคั่งในสมองแต่กำเนิด

มีอาการท่อน้ำเลี้ยงในสมองอุดตัน น้ำที่ส่งเข้าไปเลี้ยงในสมองไม่ดูดซึมและกลับมาไหลเวียนในร่างกายได้ เป็นเหตุให้ทารกศีรษะโต โดยน้ำได้ไปแทนที่กะโหลก ทำให้กะโหลกศีรษะยังเปิดอยู่แล้วขยายตัว บางรายเป็นโรคหลอดประสาทไม่ปิดหรือคือภาวะสมองสร้างไม่สมบูรณ์

สำหรับความพิการแต่กำเนิดอาจทำให้เกิดความพิการตลอดชีวิต หรืออาจเสียชีวิต ในระยะแรกๆ หลังคลอดได้ ทางที่ดีที่สุดคือ การป้องกัน! โดยนพ.สมเกียรติ ลลิตวงศา ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ได้แนะนำดังนี้

  • การวางแผนครอบครัวที่ดี เช่น การค้นหาคู่สมรสที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการมีบุตรเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย การมีบุตรในช่วงอายุมารดาที่เหมาะสมสามารถลดการเกิดโรคกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมได้
  • การเสริมสารอาหารที่เหมาะสมในหญิงวัยเจริญพันธุ์และมารดาที่ตั้งครรภ์ เช่น การเสริมสารโฟเลตอย่างน้อย 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์สามารถลดการเกิดภาวะหลอดประสาทไม่ปิดได้
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
  • ดูแลสุขภาพของมารดาที่มีโรคเรื้อรังทั้งก่อนและระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น มารดาที่เป็นโรคเบาหวาน โรคลมชักที่ต้องกินยากันชักระหว่างการตั้งครรภ์ หรือหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาสิว (Isotretinoin) ขณะตั้งครรภ์
  • การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด เพื่อค้นหาเด็กที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดและรักษาก่อนที่จะมีความพิการตามมา

 

แนวทางรักษาความพิการแต่กำเนิด

  • การรักษาทางการแพทย์ เช่น การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ รักษาภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด เพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน
  • การรักษาด้วยการผ่าตัด ปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 60 ของความพิการแต่กำเนิดสามารถให้การรักษาได้ด้วยการผ่าตัด เช่น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ปากแหว่ง เพดานโหว่ เป็นต้น
  • การฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลรักษาแบบประคับประคอง

 

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ และ udh.go.th

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หยุดนะ!!! อย่าทำ!!! แม่ท้องหยุดทำสิ่งเหล่านี้ซะ! ถ้าไม่อยากให้ลูกพิการ

อาบน้ำทารกแรกเกิดหลังคลอดทันทีเลยดีหรือไม่?

 

บทความโดย

Tulya