ความผิดปกติที่ทำให้น้ำนมแม่เยอะเกินไป

คุณแม่ที่ตั้งใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่างก็หวังให้ตัวเองมีน้ำนมเพียงพอให้ลูกน้อยกินไปนานๆ และมักจะแอบอิจฉาคุณแม่คนอื่นที่ปั๊มนมได้เยอะๆ เสมอ แต่ในอีกมุมหนึ่งของคุณแม่ที่มีน้ำนมเยอะเกินไปกลับบอกว่า อย่าอิจฉาฉันเลย เป็นเพราะอะไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เฟซบุ๊ค The Leaky B@@b ได้โพสต์ภาพน้ำนมของคุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งปั๊มนมได้มากเกือบ 30 ออนซ์ใน 45 นาที คุณแม่หลายท่านอาจจะร้องโอ้โห น่าอิจฉาจัง แต่คุณแม่กลับไม่ยินดีเลยที่มีนมแม่เยอะขนาดนี้ เธอเล่าว่าการมีน้ำนมเยอะทำให้เธอประสบปัญหาในการให้นม

  • เต้านมไวต่อความรู้สึก เพียงโอบกอดลูกน้อย หรือสัมผัสถูกเต้านมก็รู้สึกเจ็บแล้ว
  • เมื่อน้ำนมเต็มเต้า คุณแม่จะรู้สึกคัดและเจ็บปวดมาก และเป็นวันละหลายรอบ
  • ท่อน้ำนมอุดตันได้ง่าย
  • ใช้เวลานานในการทำให้นมเกลี้ยงเต้า
  • หัวนมแตก และมีน้ำนมซึมออกมาตลอด
  • ต้องหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสรรพคุณเพิ่มน้ำนม
  • มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่โรคเต้านมอักเสบ

โดยเมื่อเร็วๆ นี้ คุณแม่เพิ่งตรวจพบ “เนื้องอกต่อมใต้สมอง” ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับโปรแลคตินสูงผิดปกติ  ทำให้ร่างกายไม่ตอบสนองต่อความพยายามในการลดปริมาณน้ำนม

เรามาทำความรู้จักเนื้องอกต่อมใต้สมองกันค่ะ ว่ามันคืออะไร? และเป็นอันตรายหรือไม่?

รู้จัก “เนื้องอกต่อมใต้สมอง”

นพ.ศรัณย์  นันทอารี  อาจารย์สาขาวิชาประสาทศัลยศาสตร์  ภาควิชาศัลยศาสตร์  คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า  ต่อมใต้สมองเป็นส่วนเล็กๆ ของสมอง ที่อยู่บริเวณฐานกะโหลก มีหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนชนิดต่างๆ เช่น ฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโต ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม เมื่อต่อมใต้สมองกลายเป็นเนื้องอกอาจมีอาการแสดงออกได้หลายรูปแบบ  ขึ้นอยู่กับว่าเนื้องอกนั้นผลิตฮอร์โมนชนิดใด

ในกรณีที่เนื้องอกนั้นผลิตฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม ในผู้หญิงจะมีอาการขาดประจำเดือนหรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีบุตรยาก อาจมีน้ำนมไหล  ทั้งๆ ที่ไม่ได้ให้นมบุตร ความรู้สึกทางเพศลดลง และมีน้ำนมไหลโดยที่ไม่ได้ให้นมบุตร ด้วยเหตุนี้เองทำให้คุณแม่ที่ให้นมบุตรอยู่อาจมีน้ำนมไหลมากผิดปกติ

การรักษา

นพ.ศรัณย์  กล่าวว่า เนื้องอกต่อมใต้สมองจัดว่าเป็นเนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง และมีการเจริญเติบโตช้า แพทย์มักรักษาด้วยการผ่าตัด ถ้าก้อนไม่ใหญ่มากสามารถผ่าตัดรักษาให้หายขาดได้

สำหรับเนื้องอกต่อมใต้สมองบางอย่าง โดยเฉพาะเนื้องอกต่อมใต้สมองชนิดที่สร้างฮอร์โมนกระตุ้นต่อมน้ำนม สามารถให้ผู้ป่วยกินยาต้านฮอร์โมนแทนการผ่าตัดได้ ก้อนเนื้องอกมักจะมีขนาดเล็กลงหลังจากได้ยา รวมทั้งน้ำนมที่ไหล ก็จะหยุดไป และประจำเดือนสามารถกลับมาเป็นปรกติ แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องกินยาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เนื่องจากว่าเมื่อหยุดกินยาเนื้องอกก็จะโตกลับขึ้นมาใหม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การฉายรังสีมักจะเลือกใช้เป็นวิธีสุดท้ายเมื่อเนื้องอกนั้นไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมดและไม่สามารถใช้ยาต้านฮอร์โมนได้ โดยการฉายรังสีจากช่วยชะลอหรือยับยั้งไม่ให้เนื้องอกนั้นโตกลับขึ้นมาใหม่

 

หากคุณแม่เป็นคนหนึ่งที่มีน้ำนมเยอะเกินไป และมีอาการเช่นเดียวกับที่คุณแม่ท่านนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาเนื้องอกต่อมใต้สมองนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา เฟซบุ๊ค The Leaky Boob

ข้อมูลอ้างอิงจาก si.mahidol.ac.th

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

9 ปัญหายอดนิยม กับทางแก้ของแม่ให้นม

รับมือกับปัญหาน้ำนมเยอะเกินความต้องการ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา