ความจริง vs ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก ที่คนเฒ่าคนแก่มักพูดถึง

พอมีลูก เรามักจะได้ยินคำพูดบางอย่างเวลาผู้ใหญ่มาเยี่ยม เช่น ทำไมลูกน่าเกลียดน่าชัง หรือบางครั้งการที่ลูกมีอาการผวาหรือยิ้มตอนนอน คนเฒ่าคนแก่ก็ว่าแม่ซื้อมาเล่นด้วย ฯลฯ บางเรื่องอาจเป็นเรื่องจริง บางเรื่องอาจเป็นความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมา มีอะไรที่คนสมัยก่อนมักพูดถึงเกี่ยวกับทารกบาง มาดูกันค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความจริง vs ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

ความเชื่อที่ส่งต่อกันมา ตั้งแต่รุ่นตายาย จนถึงคุณแม่ยุคใหม่ทุก ๆ คน มีอะไรบ้าง ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก ข้อไหนที่คนยังคงเชื่อกันอยู่ จนถึงปัจจุบัน และ ความเชื่อไหน ที่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์เรียบร้อยแล้ว มาดูกัน

ความเชื่อโบราณเกี่ยวกับทารก

#1 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า ลูกหน้าตา “น่าเกลียดน่าชังจังแลย”

ความเชื่อ

ได้ยินแบบนี้อย่าเพิ่งรีบตกใจ หรือโกรธที่มีคนมาทักลูกเราแบบนี้นะคะ เพราะโบราณเขาว่า เด็กที่ยังเป็นทารกอยู่นั้น แม้จะมีหน้าตาน่ารักอย่างไร ก็ห้ามทักว่าน่ารักเด็ดขาด เพราะเชื่อว่า ถ้าพูดแบบนี้ จะถูกผีมาเอาตัวไป โบราณเขาเชื่ออย่างนั้น จึงให้แก้เคล็ดด้วยการพูดว่า “น่าเกลียดน่าชัง” ผีจะได้ไม่มากวน ทำให้เด็กไม่งอแง ไม่สบาย หรือแย่งเอาชีวิตไป

ความจริง

ถึงแม้ความเชื่อเรื่องนี้แม้ไม่ใช่เรื่องจริง แต่ผู้ใหญ่หลายคน ก็ยังคงพูดสืบต่อกันมา จะสังเกตว่าปู่ย่าตายายมักไม่ค่อยชมเด็ก ๆ ว่าน่ารัก แต่เขาจะพูดว่า “น่าเกลียดน่าชัง” แทน ซึ่งความหมายคำว่า น่าเกลียด ของคนเฒ่าคนแก่ ก็เป็นการแสดงความเอ็นดูทารกน้อยว่า น่ารัก นั้นแหละค่ะ เพราะ ความน่ารัก ไร้เดียงสานั้น มีอยู่ในตัวเด็กทุก ๆ คนอยู่แล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

#2 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า เวลาลูกนอนหลับแล้วยิ้มขึ้นมา แสดงว่ากำลังเล่นกับแม่ซื้อ

ความเชื่อ

เวลาที่ลูกน้อยกำลังนอนหลับอยู่ เรามักจะเห็นอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะหลับของลูก เช่น การผวาจากเสียงรบกวน หรือเราอาจจะได้เห็นทารกยิ้มขึ้นมาเองเหมือนกำลังนอนฝันดี ซึ่งอาการลักษณะนี้โบราณเชื่อว่า เด็กกำลังเล่นกับแม่ซื้อ ซึ่งเปรียบเสมือนนางฟ้าประจำตัว ผู้คอยดูแลรักษาคุ้มครองตัวเด็ก ไม่ให้ตัวเล็กเป็นอันตราย ซึ่งประกอบกับบางครั้ง ที่เราอาจจะพบว่าลูกตกจากที่สูง ตกจากเตียง หรือโต๊ะ แล้วไม่ได้รับอันตรายเท่าไหร่ เป็นเพราะมีแม่ซื้อคอยคุ้มครองรองรับให้นั่นเอง

ความจริง

อาการสะดุ้ง กระตุก ผวา หรือยิ้มในขณะที่ลูกหลับ ถือเป็นอาการธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ กับเด็กทารกที่คุณแม่ไม่ต้องตกใจกลัวว่าลูกเป็นอะไรนะคะ  เพราะทารกแรกเกิดมักใช้เวลาส่วนใหญ่กับการนอน และตื่นขึ้นมาร้องไห้ เพราะหิว หรือขับถ่าย ไม่สบายตัว อาจสะดุ้งตกใจกับเสียงดัง เป็นเรื่องปกติของเด็กทารกในวัยนี้ ที่กำลังเริ่มปรับชินให้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่นั่นเอง

#3 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า ลูกมีปาน คือ เด็กที่เคยเกิดมาแล้วชาติหนึ่ง

ความเชื่อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรื่องปาน หรือรอยตำหนิที่ติดตัวเด็กทารกมา โบราณเชื่อว่า ทารกนั้นเคยได้เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง แล้วถูกป้ายเพื่อทำเป็นหนิเอาไว้ ปานแดงก็เชื่อว่า ถูกป้ายด้วยปูนแดง และปานดำจะถูกป้ายด้วยถ่าน เพื่อว่าเวลาที่เกิดใหม่อีกครั้ง ญาติพี่น้องในชาติที่แล้ว จะจำได้จากตำหนิ

ความจริง

ปาน กระ หรือรอยตำหนิที่ติดตัวมากับทารก อาจเกิดขึ้นได้จากกรรมพันธุ์ และการเกิดปานไม่ว่าจะสีใดก็ตาม เป็นเพราะเซลล์ผิวหนังผิดปกติ เป็นเรื่องของผิวหนังของทารกแต่ละคนที่สามารถเกิดขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

Read : ปานเขียว หรือปานมองโกเลียนในเด็ก อันตรายไหม?

#4 ใคร ๆ ก็มักจะทักว่า ถ้าทารกร้องไห้ไม่หยุด ต้องทำการเรียกขวัญ

ความเชื่อ

เวลาที่เด็กร้องไห้ไม่หยุด โบราณเขาว่า ให้ทำการเรียกขวัญเด็กง่าย ๆ ด้วยการโอบกอด และตบหลังเบา ๆ พร้อมพูดว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมา” เป็นการเรียกขวัญ ให้กลับเข้ามา เพื่อเด็กจะได้หยุดร้องไห้ ความเชื่อนี้เรายังเห็นได้ในปัจจุบัน เช่น เวลาที่ลูกล้มเจ็บ หรือตกใจร้องไห้เสียงดัง พ่อแม่ก็มักจะปลอบลูกด้วยคำพูดว่า “ขวัญเอ๋ยขวัญมา” จนเป็นความคุ้นชิน ที่ทำกันต่อ ๆ มาไปซะแล้ว

ความจริง

การที่เด็กทารกร้องไห้เสียงดัง ไม่หยุดร้องนั้น เป็นเพราะลูกน้อยยังไม่สื่อสารเป็นคำพูดได้นั้นเอง การร้องไห้ จึงเป็นการแสดงออกให้พ่อแม่รู้ และตอบสนองต่อความต้องการของเขา เช่น หิวแล้ว ได้เวลากินนม หรือง่วงนอน หรือไม่สบายตัว หรือต้องการให้พ่อแม่เอาใจใส่ ซึ่งการที่พ่อแม่ได้เข้ามาโอบกอด จะทำให้ลูกสัมผัสได้ถึงความรัก และรู้สึกมั่นคงถึงความปลอดภัย และเมื่อลูกพอใจในสิ่งที่ต้องการก็จะหยุดร้องเอง

 

#5 คุณแม่ตั้งครรภ์ทานเฉาก๊วย แล้วลูกจะคลอดออกมาตัวดำ

ความเชื่อ

โบราณเชื่อว่าถ้าหากคุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานเฉาก๊วย จะทำให้ลูกที่คลอดออกมาจะมีลักษณะตัวดำเหมือนเฉาก๊วย ถึงแม้ว่าผิวคุณแม่จะขาวแค่ไหนก็ตาม สีในขนมและอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานจะส่งผลต่อสีผิวของลูก คนโบราณสมัยก่อนจึงไม่นิยมให้คุณแม่รับประทานของดำอย่างเฉาก๊วย

ความจริง

ในความเป็นจริงแล้ว เฉาก๊วยไม่ได้ทำให้ลูกในท้องตัวดำตาม ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์แล้ว อาหารที่คุณแม่ทานไม่ได้มีผลต่อสีผิวลูกเลย แต่สีผิวที่ลูกน้อยจะได้รับนั้น มาจากกรรมพันธุ์ของคุณแม่และคุณพ่อค่ะ เพราะฉะนั้นคุณแม่ท้องสามารถรับประทานเฉาก๊วยได้ตามสบายเลยค่ะ ซึ่งแท้จริงแล้ว เหตุผลที่คนโบราณเขาเตือนไม่ให้กินก็อาจจะเป็นเพราะว่าส่วนใหญ่ขนมหวานอย่างเฉาก๊วยมีความหวานมากเกินไป จึงทำให้น้ำตาลในเลือดของคุณแม่ขึ้นสูง แต่แท้จริงแล้ว เฉาก๊วยมีคุณประโยชน์ในการช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ลดอาการร้อนใน แก้กระหายให้คุณแม่ได้ดีอีกด้วยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

_________________________________________________________________________________________

Credit content : www.thainannyclub.com, Central

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

ความเชื่อที่อาจไม่เคยรู้ ทำไมโบราณถึงต้องเก็บสายสะดือลูก

6 ความเชื่อที่โบราณว่าไว้ เกี่ยวกับทารกแรกเกิด

ดูดวง ทำนายฝัน ฝันเห็นมรดก ถุงเงิน มรกต ผ้าแพร อาคาร

บทความโดย

Napatsakorn .R