คลิป! หมอผ่าตัดทำคลอดแฝดสาม

ปกติเราจะเห็นแต่คลิปผ่าตัดคลอดเด็กหนึ่งคน แต่วันนี้เราจะมาดูคลิปผ่าคลอดเด็กแฝดสามที่กลายเป็นคลิปที่มีคนพูดถึงกันมากในขณะนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปคุณหมอผ่าตัดทำคลอดแฝดสามนี้ แสดงให้เห็นว่า หลังจากที่คุณหมอได้ผ่าท้องคุณแม่และนำตัวทารกออกมาได้หนึ่งคนลแล้ว คุณหมอก็ทำการหาถุงน้ำคร่ำใบที่สอง เพื่อเอาทารกอีกสองคนที่เหลือออกมา

ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตดี ๆ ก็จะสามารถเห็นเท้าของหนูน้อยในถุงน้ำคร่ำได้เลยละค่ะ และเนื่องจากมีเด็กถึงสองคน ทำให้ถุงน้ำคร่ำใบที่ว่านี้ค่อนข้างมีขนาดใหญ่ จึงใช้เวลานิดหน่อยกว่าที่จะเอาถุงน้ำคร่ำออกมาได้หมด

ในที่สุด คุณหมอก็สามารถเอาถุงน้ำคร่ำออกมาได้สำเร็จ คุณหมอทำการตัดถุงน้ำคร่ำทันที เพื่อเอาเด็กออกมา และตามต่อด้วยการตัดสายสะดือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลิปผ่าคลอดเด็กแฝดสามที่ว่านี้จะเป็นอย่างไร ไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

[youtube

ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างถูกวิธี

1. หลังจากที่คุณหมอเปิดแผลผ่าคลอดแล้ว แผลสามารถถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ  7  วัน รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอด และป้องกันการติดเชื้อ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ไม่ยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากจนเกินไป และควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะอากาศร้อนจะทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการอับชื้นได้ค่ะ

3. การขยับตัวมากๆ จะไม่ส่งผลกระทบกับแผลหากการขยับนั้นไม่ทำให้แผลมีการยืดขยาย สังเกตง่าย ๆ คือ ขยับตัวได้เท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ หากเจ็บหรือรู้สึกตึง ๆ แสดงว่า แผลมีการยืดขยายออกแล้ว

4. การทาครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินอี ก็สามารถช่วยลดการเกิดแผลเป็นได้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ให้นมลูกอยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่าครีมที่ทาจะส่งผลต่อน้ำนม เพราะการทายาเป็นเพียงการใช้ยาภายนอก และเฉพาะที่ ไม่เหมือนการกินที่ตัวยาจะแทรกซึมไปทั่วร่างกาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. ในช่วง 3 เดือนแรก : ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นคีลอยด์ คือ มีลักษณะหนา นูน สามารถป้องกันได้โดยไม่ยกของหนัก หรือยืดเหยียดแผลมากจนแผลตึงเกินไป การยืดเหยียดจนแผลตึงทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะหลุด จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนาๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด

ที่มา: Pregnancy and Motherhood

 

บทความโดย

Muninth