คลอดลูกได้สิทธิอะไรบ้าง ประกันสังคมได้เท่าไหร่ ลดหย่อนภาษีได้อย่างไร

แม่ๆ อย่าพลาดนะ ได้เงินคืนทั้งภาษี และประกันสังคมเลย!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คลอดลูกได้สิทธิอะไรบ้าง

แม่คลอดลูก หลายท่านคงสงสัยว่า คลอดลูกได้สิทธิอะไรบ้าง เงินประกันสังคม ที่สมทบไปทุกๆ เดือน กับ ภาษีเงินได้ ที่จ่ายไป สามารถเบิกได้รึเปล่า อยากบอกว่า คุณแม่เบิกเงินค่าคลอดลูกได้นะคะ สำหรับ แม่คลอดลูก สิทธิ ต่างๆ ที่ได้ จะแบ่งออกเป็น สิทธิภาษี และ สิทธิประกันสังคม ของคุณแม่ ดังนี้ค่ะ

คลอดลูกได้สิทธิอะไรบ้าง

ลดหย่อนภาษี ของคุณแม่

สำหรับแม่ท้อง ราชกิจจานุเบกษา ประกาศใช้ ประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ค่าฝากครรภ์ และ ค่าคลอด ลดภาษี สูงสุด 60,000 บาท ซึ่งสรุปได้ว่า

  1. คุณแม่ หรือคู่สมรส สามารถนำค่าใช้จ่ายอย่าง ค่าฝากครรภ์ และ ค่าคลอดบุตร มาลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  2. ค่าใช้จ่ายต้องเป็น ค่าฝากครรภ์ และ ค่าคลอดบุตร
  3. ลดหย่อน ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตรสําหรับการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ได้สูงสุดไม่เกินปีละ 60,000 บาท และจ่ายตามจำนวนจริงสำหรับการตั้งครรภ์แต่ละครั้ง
  4. คุณแม่เริ่มใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับค่าใช้จ่ายที่เกิดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป หรือจะเบิกย้อนหลังก็ได้

และ คุณแม่ ยังสามารถ ลดหย่อนภาษีบุตร ได้อีก จำนวน 30,000 บาท

คำว่า “บุตร” หมายถึง บุตรโดยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมที่จดว่าเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท โดยในกรณีที่เป็นบุตรโดยกฎหมายสามารถหักได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรมหรือมีทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรชอบด้วยกฎหมายอยู่ในความดูแลรวมกัน จะหักได้สูงสุดไม่เกิน 3 คน นับเฉพาะที่มีชีวิตอยู่นะคะ มีเงื่อนไขดังนี้

  1. บุตรต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี
  2. ถ้าบุตรอายุระหว่าง 21-25 ปี ต้องศึกษาอยู่ในระดับ ปวส. ขึ้นไป
  3. บุตรต้องมีเงินได้ในปีไม่เกิน 30,000 บาท (ยกเว้นกรณีเงินปันผล)

เบิกประกันสังคม ของคุณแม่

คุณแม่ที่เป็น ผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ ผู้ประกันตนภาคบังคับ ที่ทำงานอยู่ในบริษัท เป็นลูกจ้าง และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หรือ คุณแม่ที่เป็น ผู้ประกันตนมาตรา 39 ก็มีสิทธิได้รับเงินกรณีคลอดบุตรเช่นเดียวกับมาตรา 33 หากส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนไข กรณีคลอดบุตรต้องจ่ายเงินสมทบครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนคลอดบุตร

นอกจากนี้ ผู้ประกันตนหญิง หรือ คุณแม่ยังได้รับเงินสงเคราะห์หยุดงานเพื่อคลอด เป็นจำนวนเหมาจ่ายครึ่งหนึ่งของค่าจ้าง เฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ด้วย

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ จ่ายเงินสงเคราะห์หยุดงาน สมมติ คุณแม่ มีรายได้ 15,000 บาท ต่อเดือน ครึ่งเดือนเท่ากับ 7,500 บาท ก็เท่ากับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เงินครึ่งเดือน 7,500 x 3 เดือน (90 วัน) = 22,500 บาท

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุด ยังมี ค่าสงเคราะห์บุตร หาก ผู้ประกันตนมีบุตร อายุตั้งแต่ 0-6 ปี จะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายรายเดือนๆละ 400 บาท อีกด้วยนะคะ

สรุปอีกครั้ง สิทธิภาษีของแม่ มี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. ค่าฝากครรภ์ และ ค่าคลอด ลดภาษี สูงสุด 60,000 บาท
  2. ลดหย่อนภาษีบุตร ได้ 30,000 บาทต่อคน มีบุตรตัวเองไม่จำกัดจำนวนคน ถ้ามีบุตรบุญธรรมด้วย รวมไม่เกิน 3 คน บุตรอายุไม่เกิน 25 ปี

สรุป สิทธิประกันสังคมของแม่ ก็มี

  1. ค่าคลอดบุตร 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
  2. ค่าสงเคราะห์หยุดงานเพื่อคลอด เหมาจ่ายครึ่งหนึ่งของค่าจ้าง 90 วัน
  3. ค่าสงเคราะห์บุตร อายุตั้งแต่ 0-6 ปี เหมาจ่ายรายเดือนๆ ละ 400 บาท

พอมาดูอย่างนี้แล้ว เห็นไหมคะว่า เงินสมทบประกันสังคม กับ ภาษีเงินได้ ที่จ่ายแต่ละเดือน ให้ประโยชน์ตอบแทนกลับมาจริงๆ ดังนั้น อย่าลืมทำหน้าที่พลเมืองที่ดี และไม่พลาดจ่ายสมทบประกันสังคม เพื่อรักษาสิทธิของตัวเองด้วยนะคะ


บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 วิธีเตรียมตัวก่อนคลอด คนท้องใกล้คลอดต้องทำอะไรบ้าง จะได้ไม่พลาดในวันคลอด

คนท้องทำไมท้องอืด​ แน่นท้อง กินยาอะไรได้ไหม วิธีลดอาการท้องอืดขณะตั้งครรภ์

แม่ท้องพ่อช่วยอะไรได้บ้าง สิ่งที่สามีควรทำในวันที่ภรรยาตั้งครรภ์ไปจนถึงวันที่ลูกคลอด

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team