ข้อควรระวังและข้อดีสำหรับการ คลอดลูกในน้ำ
- สำหรับการคลอดโดยวิธีนี้คุณแม่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ แต่ถือเป็นวิธีที่ปลอดภัยเพราะเมื่อศีรษะของทารกพ้นจากช่องคลอดแล้ว ก็จะลอยตัวอยู่ในน้ำได้ ซึ่งน้ำจะช่วยรองรับแรงกระแทก และป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย
- เป็นการคลอดที่พ่อ แม่ ลูก จะได้อยู่ใกล้ชิดกันมาก ๆ อีกทั้งไม่ต้องคอยกังวล เพราะจะมีสูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอยู่ตลอดเวลา
- คุณแม่จะรู้สึกสบายตัว และเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ และน้ำอุ่นจะช่วยให้กล้ามเนื้อเชิงกรานขยายตัวและช่องคลอดเปิดได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้การฉีกขาดของช่องคลอดก็จะน้อยกว่าการคลอดด้วยวิธีธรรมดา ทำให้คุณแม่เจ็บน้อยลง ระยะเวลาคลอดสั้นลง อีกทั้งยังฟื้นตัวได้เร็วกว่าคลอดด้วยวิธีธรรมดาอีกด้วย
- ช่วยให้เจ็บน้อยกว่าการคลอดแบบอื่น เพราะการอยู่ใต้น้ำจะทำให้คุณแม่รู้สึกว่าเบาสบาย ไม่อึดอัดเหมือนอยู่ในห้องคลอด สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างอิสระ น้ำอุ่นช่วยคลายกล้ามเนื้อส่วนเชิงกรานและทำให้ช่องคลอดขยายเปิดให้ทารกออกมาได้ง่าย ลดการฉีกขาดของช่องคลอด
- ลดความกังวลเมื่อคุณแม่เจ็บน้อยลง ความกลัว ความกังวลต่าง ๆ ก็จะลดน้อยลง ความดันโลหิตก็จะคงที่ แรงหดรัดตัวของมดลูกก็น้อยตามลงไปด้วย แรงต้านหรือแรงลอยตัวในน้ำช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณมดลูกได้ออกซิเจน เลือดไหลเวียนดี ทำให้ระยะเวลาในการคลอดสั้นลง
- ไม่ต้องพักฟื้นนาน เหมือนการผ่าตัดคลอด คุณแม่จะได้ใช้เวลาแห่งความสุขกับเจ้าตัวน้อย โดยไม่ต้องทรมานบาดแผลผ่าตัด และยังตักตวงความภูมิใจที่ได้เป็นแม่ตามธรรมชาติโดยสมบูรณ์เมื่อเสร็จสิ้นวิธีการคลอดลูกแล้ว ทารกจะถูกกระตุ้นการดูดนมแม่ และแพทย์จะทำการตัดสายสะดือ จากนั้นก็มาถึงขั้นตอนการคลอดรกบนเตียง โดยเลือดจะออกหลังจากคลอดรกออกไปแล้ว คุณแม่มือใหม่จึงลดความกังวลในเรื่องของการติดเชื้อและเบาใจได้
ส่วนคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่เกรงว่าการคลอดลูกในน้ำจะทำให้ทารกจมน้ำนั้นไม่เป็นความจริง เมื่อทารกคลอดออกจากท้องแม่และอยู่ในน้ำอุ่นยังคงได้รับออกซิเจนผ่านทางสายสะดือ อีกทั้งน้ำอุ่นนั้นมีอุณหภูมิเหมือนในน้ำคร่ำทำให้ทารกรู้สึกปลอดภัยเหมือนยังอยู่ในท้องแม่ แรงดันในน้ำยังช่วยพยุงตัวของทารกเอาไว้ให้ลอย เมื่อคุณแม่อุ้มขึ้นมาจากผิวน้ำทารกจึงจะเริ่มหายใจ นอกจากนี้แล้วน้ำยังช่วยล้างเมือกและคราบน้ำคร่ำที่ติดตัวทารกในเบื้องต้นอีกด้วยค่ะ
กรณีไหนที่คุณแม่ไม่ควรใช้วิธีคลอดลูกในน้ำ
การคลอดลูกในน้ำ คุณแม่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ รวมถึงจะต้องไม่เป็นโรคติดต่อ เช่น เริม งูสวัด ที่ผิวหนังหรืออวัยวะเพศ เนื่องจากเชื้อจะสามารถกระจายได้ง่ายในน้ำ ทำให้เป็นอันตรายกับทารก นอกจากนี้กรณีที่ไม่ควรใช้วิธีคลอดลูกในน้ำอีก ได้แก่ ทารกมีน้ำหนักตัวมากเกินไป ครรภ์เป็นพิษ ท้องแฝด เด็กทารกไม่กลับหัว คุณแม่มีเลือดออกมาก หรือมีอาการเจ็บท้องต้องคลอดก่อนกำหนดประมาณ 2 สัปดาห์หรือมากกว่า เป็นต้น
สำหรับ การ คลอด ลูก ใน น้ำ ปัจจุบัน นั้น ยัง ไม่ ค่อย เป็น ที่ นิยม ใน ประเทศไทย เท่าไรนัก และ โรงพยาบาล ที่ ให้ บริการ คลอด ใน น้ำ นั้น มี อยู่น้อย อีก ทั้ง ค่าใช้จ่าย ใน การคลอด ก็ ค่อน ข้าง สูง กว่า เมื่อ เทียบ กับ การ คลอด ด้วย วิธีปกติ ซึ่งหากคุณแม่คนไหนที่กำลังชั่งใจอยู่ว่าจะใช้วิธีคลอดในน้ำดีหรือไม่ หรือไม่ว่าคุณแม่จะคลอดวิธีไหนก็ตาม ที่สำคัญควรฟังคำแนะนำจากสูติแพทย์ที่คุณแม่ฝากท้องไว้ดีกว่า เพราะสิ่งที่แพทย์จะคำนึงอย่างแรกในการทำคลอดคือ ทำอย่างไรให้เด็กที่เกิดมารอด และแม่ต้องปลอดภัย