คนท้องคอเลสเตอรอลสูงมีอันตรายอย่างไร เรียนรู้ป้องกันก่อนจะสาย

-

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเข้าสู่วัย 40 ปีขึ้นไป ภาวะคอเลสเตอรอลสูง เป็นภาวะที่ควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากมีอาการเรื้อรัง ไม่ได้มีการควบคุมอย่างจริงจัง และไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

มาทำความรู้จักกับคอเลสเตอรอล…

คอเลสเตอรอล คือ กลุ่มไขมันที่ไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดของเรา และมีความจำเป็นต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย เป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศ วิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป คอเลสเตอรอลส่วนหนึ่งร่างกายสร้างขึ้นเอง กล่าวคือตับเป็นผู้สร้างคอเลสเตอรอลทุกชนิดที่ร่างกายต้องการและอีกส่วนหนึ่งร่างกายได้รับมาจากอาหารที่รับประทานพบมากในอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ สัตว์น้ำที่มีกระดอง และไข่แดง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน

 

ชนิดของคอเลสเตอรอล

เมื่ออยู่ในกระแสเลือด คอเลสเตอรอลจะจับอยู่กับโปรตีน เรียกว่า ไลโพโปรตีน คอเลสเตอรอลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

คอเลสเตอรรอลชนิดที่ดี (High-Density Lipoprotein: HDL) ทำหน้าที่ในการนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินจากเซลล์กลับไปยังตับ เพื่อทำลายหรือขับออกในรูปของเสียจากร่างกาย

คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (Low-Density Lipoprotein: LDL) ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย หากมีมากกว่าที่เซลล์ต้องการ ไขมันนี้ก็จะไปสะสมที่บริเวณผนังหลอดเลือด ทำให้ความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือดเสียไป และเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันมีผลทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก หัวใจจึงต้องบีบตัวแรงมากขึ้น เพื่อเป็นแรงส่งให้เลือดไหลไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ทำให้การเต้นของหัวใจมีปัญหา และอาจหัวใจวายได้ในที่สุด

 

การตรวจวินิจฉัยคอเลสเตอรอลสูง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

วิธีการตรวจเลือดเท่านั้น โดยการตรวจจะอยู่ในการตรวจระดับไขมันในเลือด (Lipid Profile) ซึ่งจะแสดงให้เห็นระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี คอเลสเตอรอลที่ดี และไตรกลีเซอไรด์ได้ในคราวเดียว โดยค่าที่แสดงว่ามีระดับคอเลสเตอรอลโดยรวม (TC) สูงคือมากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ค่าระดับ LDL มากกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตรและมีค่าระดับ HDL น้อยกว่า 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

อันตรายของคอเลสเตอรอลสูง

ภาวะคอเลสเตอรอลสูงอาจไม่ส่งผลให้เกิดอาการอย่างเฉียบพลัน แต่จะค่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือผู้ป่วยไม่ดูแลและควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยโรคที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ โรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งเกิดจากการที่คอเลสเตอรอลไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดจนหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่น และทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงจนกลายเป็นสาเหตุของอาการต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

     หัวใจขาดเลือด เมื่อไขมันในเส้นเลือดสะสมอยู่ภายในหลอดเลือดจนทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงหัวใจได้เต็มที่ ก่อให้เกิดอาการเจ็บหน้าอกซึ่งเป็นสัญญาณของโรคหัวใจขาดเลือด ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

     โรคหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับอาการหัวใจวาย เมื่อหลอดเลือดตีบลงเนื่องจากไขมันในเลือด การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองจะลดลง ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

นอกจากจะส่งผลต่อระบบหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว ก็ยังอาจส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง ที่เป็นอันตรายไม่แพ้กัน และสามารถส่งผลกับไตจนเกิดโรคไตวายเรื้อรังได้ เพราะเมื่อหลอดเลือดในร่างกายรวมทั้งหลอดเลือดที่ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงไตตีบลงเนื่องจากไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ก็จะทำให้ไตสูญเสียการทำงานและวายในที่สุด

 

บุคคลที่มีความเสี่ยงต่อการมีภาวะคอเรสเตอรอลสูงและควรได้รับการตรวจวัดระดับไขมันในเลือดได้แก่

– มีอายุมากกว่า 40 ปี

– มีน้ำหนักเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วน

– มีประวัติครอบครัวป่วยด้วยโรคเกี่ยวระบบหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร

– มีสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดป่วยด้วยโรคไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรม

– ผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง สมองขาดเลือดชั่วคราว (Transient Ischemic Attack: TIA) หรือโรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Artery Disease: PAD)

– มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ต่อมไทรอยด์ทำงานบกพร่อง (Underactive Thyroid) หรือตับอ่อนอักเสบ (Pancreatitis)

และแนวทางป้องกันที่ดีนั้น ได้แก่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การควบคุมอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล รวมถึงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง หรือใช้น้ำมันที่มีไขมันอิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม แล้วหันมาใช้น้ำมันที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน และน้ำมันคาโนลา การกินอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ บรอกโคลี และธัญพืชก็เป็นทางเลือกที่ดีในการลดอาหารที่มีไขมันสูง

การออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอวันละ 30 นาทีทุกวัน หรืออย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ รวมถึงการจำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ก็เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับของ HDL และช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมได้เป็นอย่างดี หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

Source: pobpad

บทความโดย

nichnipa