สำหรับคุณแม่ที่เตรียมร่างกายของตัวเองให้พร้อม เพื่อที่จะทำการคลอดลูกเอง หรือว่าคุณแม่ที่ต้องผ่าคลอดในกรณีที่ไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ มาดูกันค่ะว่า แต่ละ ขั้นตอนคลอดลูก ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้ ที่คุณแม่ต้องเจอนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง
ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก แบบไหนที่แม่ท้องควรรู้!!
การคลอดลูกแบบธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนคลอดลูกขั้นตอนที่ 1
เริ่มตั้งแต่ในระยะเจ็บครรภ์จริง ที่คุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์สม่ำเสมอเป็นระยะ เนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จนกระทั่งถึงเวลาที่ปากมดลูกเปิดประมาณ 10 ซม. ช่วงนี้จะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด ในระยะนี้คุณแม่ยังคงเจ็บครรภ์อยู่ แต่จะค่อนข้างห่าง 5 – 10 นาทีต่อครั้ง ครั้งละ 20 – 30 นาที และจะเริ่มเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น นานมากขึ้น จะมีอาการปวดไปทั่วท้อง บริเวณหลังส่วนล่างแถวเอว และกระเบนเหน็บ และอาจเลยไปถึงต้นขา ในช่วงที่ปวดมาก ๆ คุณหมอจะฉีดยาบรรเทาอาการปวดให้ แต่ถ้าหากปวดรุนแรง ก็อาจจะใช้วิธีการบล็อกหลังเพื่อระงับความเจ็บปวด
ในส่วนของทารกซึ่งกลับหัวรออยู่ในท่าคลอด จะมีการหมุนศีรษะอย่างช้า ๆ พร้อมกับเคลื่อนตัวลงต่ำอย่างช้า ๆ เพื่อใช้ศีรษะเป็นส่วนนำออกทางช่องคลอด
ขั้นตอนคลอดลูกขั้นตอนที่ 2
เข้าสู่ระยะที่ปากมดลูกเปิดหมด ทารกพร้อมที่จะคลอดออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว ในตอนเบ่งคลอดนี้ จะทำให้คุณแม่เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน จะรู้สึกปวดทั่วท้องเป็นระยะ เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่ขึ้น จะปวดบริเวณหลังส่วนล่าง กระเบนเหน็บ และก้นกบ ทารกจะคลอดออกมา โดยเคลื่อนศีรษะในลักษณะก้มหน้า ให้ส่วนที่แคบที่สุดของศีรษะค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกมา พอหัวพ้นช่องคลอด คุณหมอก็จะใช้มือช่วยดึงตัวทารกออกมา ถึงตอนนี้ความเจ็บปวดของคุณแม่ก็จะหายเป็นปลิดทิ้งทันทีเมื่อลูกออกมาพ้นช่องคลอด และได้ยินเสียงลูกร้องไห้แง ๆ เป็นสัญญาณว่าทารกน้อยออกมาแล้ว ความตื้นตันใจก็จะเข้ามาแทนที และอยากที่จะมองเห็นลูกในวินาทีนั้นเลย
บทความอื่นที่น่าสนใจ : อาการปวดท้องคลอดลูกเป็นอย่างไร อาการใกล้คลอด เจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอก
ขั้นตอนคลอดลูกขั้นตอนที่ 3
คือ ระยะที่คุณแม่ผ่านพ้นความเจ็บปวดที่สุดไปแล้ว หลังจากที่ทารกน้อยออกมาดูโลกกว้างด้วยความปลอดภัย แต่ขั้นตอนสุดท้ายยังไม่หมด หลังจากนี้คุณแม่ต้องคลอดรกตามมา ใช้เวลาในการคลอด 5 – 10 นาที แต่ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ แล้ว
ขั้นตอนคลอดลูกโดยการผ่าตัด
การคลอดโดยผ่าตัดคลอด
การผ่าตัดคลอดคือการนำทารกออกมาทางหน้าท้อง นอกจากกรณีที่คุณแม่สมัครใจจะคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดตั้งแต่แรกแล้ว ยังมีกรณีที่แม่ท้องไม่สามารถคลอดตามธรรมชาติแบบปกติได้ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและทำการผ่าตัดคลอดในสาเหตุ
- ทารกตัวโตเกินไป
- กระดูกเชิงกรานแคบ เล็ก ทารกไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้
- ทารกอยู่ในท่าไม่ปกติ คือไม่เอาหัวกลับลง อยู่ในท่าขวาง
- ทารกเอาก้นลง ไม่สามารถคลอดตามปกติได้
- เคยได้รับการผ่าตัดที่มดลูกมาก่อน เช่น ผ่าตัดในครรภ์ก่อนผ่าตัดมดลูก
- ทารกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตราย เช่น รกเกาะต่ำ ขาดออกซิเจน
- คุณแม่ที่มีอายุมาก
- คุณแม่ที่เป็นโรคร้าย เช่น ตัวบวม ความดันโลหิตสูง
อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนคลอดลูกไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดลูกโดยวิธีไหน สิ่งสำคัญคือการที่ลูกน้อยออกมาอย่างปลอดภัย และได้ยินเสียงลูกร้องในวินาทีแรก ซึ่งหลังจากนั้นกว่าคุณแม่จะได้พบหน้าลูกน้อย อาจจะต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายและดูอาการหลังคลอด คุณแม่ที่คลอดเองก็อาจจะฟื้นตัวเร็วหน่อย แต่สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด อาจใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวหลังคลอด
หลังการคลอด คุณแม่คงรู้สึกโล่งใจที่การคลอดผ่านไปได้ด้วยดี
แต่อาจมีความกังวลใจต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วสภาพร่างกายของคุณแม่จะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด รวมทั้งแผลที่เกิดจากการคลอด ก็จะหายไปในระยะนี้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง
ด้านจิตใจ
หลังจากการคลอด ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่ยังต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ อ่อนเพลียจากการคลอด กังวลใจกับสรีระของตนเองและการเลี้ยงลูก จึงทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เรียกว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ดังนั้น คุณพ่อจึงเป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูและดูแลงานบ้านแทนคุณแม่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น
ด้านร่างกาย
1.การดูแลแผล
- แผลฝีเย็บ
คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย แผลจะหายประมาณ 7 วัน แต่อาจจะรู้สึกเจ็บประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่สามารถทำความสะอาดโดยใช้น้ำและสบู่ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังและซับให้แห้ง เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดหรืออาบน้ำในอ่าง ในกรณีที่คุณแม่เป็นริดสีดวงทวาร หากมีอาการปวดอาจจะประคบด้วยถุงน้ำแข็ง ใช้ครีมหรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำและรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารมาก เพื่อลดอาการท้องผูก - แผลผ่าตัด
คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยปลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ถ้าสังเกตว่ามีน้ำซึมเข้าแผล ให้กลับมาเปลี่ยนปลาสเตอร์ปิดแผล แผลจะหายประมาณ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้ จะช่วยให้หลับสบายขึ้น
2. น้ำคาวปลา
คือน้ำคร่ำปนกับเลือดที่ออกจากแผลในมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกจะมีสีแดงเข้ม จากนั้นจะจางลงเรื่อยๆ คล้ายกับสีน้ำล้างเนื้อแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นมูกสีเหลือง ๆ ตามปกติจะมีอยู่ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ
3. การฟื้นตัวตัวของมดลูก
ระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ แต่หลังคลอดมดลูกก็จะหดตัวลงจนมีขนาดปกติและกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน (มดลูกเข้าอู่) ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ หากมีอาการปวดมดลูกรับประทานยาแก้ปวดได้
4. การดูแลเต้านม
ขนาดของเต้านมใหญ่ขึ้นและมีอาการคัดตึงในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด เป็นภาวะที่ต่อมน้ำนมเริ่มผลิตน้ำนมสำหรับลูก เวลาอาบน้ำงดฟอกสบู่บริเวณลานนม เพื่อให้น้ำมันธรรมชาติที่ผิวหนังสร้างขึ้นยังคงอยู่ ช่วยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากมีอาการนมคัดแต่ยังไม่มีน้ำนมให้ใช้ผ้าชุปน้ำเย็นประคบเต้านม และทานยาแก้ปวดได้ พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเร็วขึ้น หากมีน้ำนมไหลแล้วให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก ก็จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านมดีขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมทุกครั้งทั้งก่อนและหลังให้นมลูก
5. การรับประทานอาหาร
คุณแม่หลังคลอดยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เหมือนในระยะตั้งครรภ์เพราะต้องใช้พลังงานในการฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่เองและผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก
คุณแม่ควรรับประทานประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ นม และอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และของหมักดอง งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานยาควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ เพราะยาบางชนิดหลั่งออกทางน้ำนมได้ (ช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอดให้งดนมก่อน)
6. การพักผ่อน
ช่วงที่พักฟื้นในโรงพยาบาลคุณแม่จะได้พักผ่อนเต็มที่ เมื่อกลับบ้านช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ ต้องดูแลตัวเอง ดูแลลูก และคุณพ่อ จึงควรจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่นทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ลูกวันละ 1 ครั้ง ควรได้หลับพักผ่อนบ้าง ขณะลูกหลับเพื่อไม่ให้คุณแม่เหนื่อยอ่อนเพลียมากเกินไป
7. กิจจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด
- ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก
- ไม่ควรออกแรงเบ่งมากๆ หรือนาน ๆ
- ไม่ควรขึ้ง – ลง บันไดบ่อย ๆ
- ไม่ควรขับรถโดยไม่จำเป็น
- ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ทำได้เฉพาะท่ากายบริหารเบา ๆ
8. การมีเพศสัมพันธ์
คุณแม่อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง เนื่องจากความอ่อนเพลีย กังวล และความไม่สุขสบาย และเจ็บแผล จึงควรงดในช่วง 4 – 6 สัปดาห์แรก หรือจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดและวางแผนคุมกำเนิดแล้ว
9. การตรวจหลังคลอด
- คุณหมอจะนัดคุณแม่มาตรวจ 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด
- เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย
- ตรวจดูสภาพของปากมดลูกและอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน (หรือแผลผ่าตัดหน้าท้อง หากคุณแม่ผ่าตัดท้อง)
- ตรวจดูมะเร็งปากมดลูก
- แนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด
อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ควรรีบมาพบแพทย์
- มีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
- น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
- ปวดท้องน้อย เจ็บปวดหรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
- ปวดศีรษะรุนแรง
- เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
- แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด อักเสบ บวมแดงหรือมีหนอง
หากคุณแม่ ไม่แน่ใจว่าอาการที่กำลังเป็นอยู่นี้ คือ อาการผิดปกติหลังคลอด หรือไม่ หรือถ้าหากอยากทราบวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอด สามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพหลังคลอด และสุขภาพของลูกรัก กับผู้เชี่ยวชาญผ่าน VDO Call หรือ ออนไลน์แชท สามารถ ดาวน์โหลด แอปพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพของสมาชิกในบ้าน ALive Powered by AIA ได้ ที่นี่
Source : www.honestdocs.co
บทความอื่นที่น่าสนใจ :
แผลคลอดธรรมชาติ แผลฝีเย็บ ใช้มีดกรีด หรือกรรไกรตัด ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก
ผิดปกติหลังคลอด อาการผิดปกติหลังคลอด เป็นแบบไหน แม่หลังคลอด มีอาการอย่างไร
ข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด