ของเล่นน้อยชิ้นทำให้เด็กมีพัฒนาการมากขึ้น

การเรียนรู้ผ่านการเล่นนำมาซึ่งจินตนาการและการพัฒนาสมองให้กับเด็กๆทุกคน เราควรจะเลือกของเล่นที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็ก แต่การมีของเล่นมากชิ้นเกินไปจนล้นห้องนั้นไม่ได้แปลว่าลูกจะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์หรือจินตนาการจากจำนวนของเล่นเหล่านั้น เราควรจำกัดของเล่นของเด็กโดยผ่านหลักการความเข้าใจพื้นฐานดังนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

  1. เด็กสามารถที่จะเรียนรู้จินตนาการเองได้ การที่มีของเล่นเยอะเกินไปอาจเป็นการจำกัดจินตนาการของเด็กที่ควรจะมีก็เป็นได้ มีนักวิชาการด้านการศึกษาชาวเยอรมัน 2 คนได้ทดลองนำของเล่นออกจากห้องเรียนเด็กอนุบาลเป็นเวลา 3 เดือน แรกๆเด็กจะเบื่อและดูเหมือนไม่มีอะไรทำแต่เวลาต่อมาเด็กเริ่มหันมาเล่นมาคุยกันมากขึ้น และช่วยกันสร้างสรรค์เกมและการเล่นร่วมกันมากขึ้นด้วย เด็กได้มีโอกาสพัฒนาทักษะการพูดคุยและสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนได้มากขึ้น
  2. เด็กจะพัฒนาสมาธิได้นานขึ้น เราไม่ควรให้เด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เร่งเร้า ตื่นเต้นตลอดเวลา การเล่นของเล่นน้อยชิ้นและให้ความสนใจกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้นานนั่นหมายถึงเด็กได้ฝึกสมาธิซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดี ซึ่งจะต่างกับเวลาที่เด็กรู้ว่ามีของเล่นอีกสารพัดชิ้นในห้อง เด็กจะตื่นเต้นและรีบซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการสอนให้เด็กสามารถสร้างสมาธิกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้
  3. การที่เด็กมีของเล่นน้อยชิ้น ไม่มากหรือน้อยเกินไปเราสามารถสอนให้เด็กรักษาของให้เห็นถึงคุณค่าของมัน ถ้าลูกไม่รักษาของลูกก็จะมีของเล่นน้อยชิ้นลง หลักการง่ายๆแบบนี้ลูกจะเรียนรู้อย่างรวดเร็วถึงการดูแลรักษาของ

  1. เล่นของเล่นน้อยลงจะทำให้เด็กมีโอกาสและเวลามากขึ้นกับการอ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ทำงานศิลปะและดนตรี จะช่วยให้เด้กมีอารมณ์ที่เย็นและหนักแน่นและสามารถเข้าใจสิ่งรอบตัวได้ดีมากขึ้น เราสามารถพาลูกไปเล่นกีฬาอยู่กับธรรมชาติมากขึ้นแทนที่จะเล่นแต่ของเล่น
  2. รู้จักวิธีแก้ปัญหา จุดมุ่งหมายที่สำคัญของการศึกษาที่ดี คือการสามารถปลูกฝังให้เด็กค้นคว้าหาวิธีแก้ปัญหาได้ด้วยอุปกรณ์หรือทักษะที่มีอยู่รอบตัว ในการเล่นก็คงเหมือนกันเราสามารถนำหลักการนี้มาใช้กับการเล่นของลูก ของเล่นน้อยชิ้นหมายถึงลูกจะต้องถูกบังคับไปในตัวให้ฝึกการตัดสินใจ การแก้ปัญหาการสร้างสรรค์ด้วยอุปกรณ์ที่มีจำกัด ความสามารถในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่มีอุปกรณ์ ผู้ช่วยจำกัดจะเป็นทักษะที่วิเศษเป็นอย่างมากสำหรับลูกในวัยที่เป็นผู้ใหญ่
  3. ลูกทะเลาะกันน้อยลง พ่อแม่หลายคนคิดว่ามีของเล่นให้ลูกมากๆจะได้ไม่แย่งกัน เถียงกัน แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ใช่ ทุกครั้งที่ลูกมีของเล่นใหม่ลูกก็มีโอกาสถกเถียงกัน ถ้าการแก้ปัญหาคือซื้อสองชิ้นจะได้ไม่แย่งกันเป็นทางออกของคุณนั่นคุณกำลังสอนให้ลูกคุณไม่รู้จักการแบ่งปัน พี่น้องที่มีของเล่นน้อยชิ้นพ่อแม่ต้องสอนให้แบ่งปันให้อยู่ร่วมกันให้ได้ เราต้องสอนไม่ให้ลูกเห็นแก่ตัว
  4. สอนความอดทนและมุ่งมั่น ของเล่นน้อยชิ้นหมายถึงเด็กมีตัวเลือกน้อยลงเพราะฉะนั้นเด็กจะต้องเล่นของเล่นชิ้นนั้นถึงแม้ว่าจะยากแค่ไหนก็ตามเพราะไม่มีตัวเลือกอื่นให้เลือก และนี่เองเด็กจะต้องพยายามเล่นให้ได้ เช่นถ้าเป็นเกมต่อภาพเด็กจะได้ฝึกความอดทน การมุ่งมั่น สมาธิ ถ้าทำได้ครึ่งทางแล้วยากแต่พอเห็นมีของเล่นอื่นที่ง่ายกว่าเด็กก็จะทิ้งเกมต่อภาพไปทำ/เล่นอย่างอื่นที่ง่ายกว่า เราควรส่งเสริมให้เด็กสร้างความอดทนทำอะไรก็ทำให้สำเร็จ
  5. เราจะได้มีโอกาสสอนลูก เลี้ยงลูกให้เข้าใจว่าการเล่นของเล่นไม่ใช่กิจกรรมสำคัญที่สุดในชีวิต ร้านของเล่นไม่ใช่ที่ที่ต้องไปบ่อยกว่าสวนสาธารณะ เราควรสอนลูกว่าความสุข สนุก ไม่จำเป็นต้องได้มาจากการเสียเงินเพื่อไปซื้อมา ความสุข สนุกสามารถสร้างเองได้และไม่มีของเล่นก็มีความสุขได้เช่นกัน

เขียนโดย : อาวีนันท์ กลีบบัว Executive School Director , RBIS Rasami British International School

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team