กินนมแม่ ลดความเสี่ยงโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน

“โรคอ้วนในเด็ก” หรือภาวะน้ำหนักเกิน มักเกิดจากสาเหตุที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนเข้าใจว่า เด็กทารกที่โตเร็วและน้ำหนักเยอะถือว่าเป็นเด็กที่แข็งแรงและสุขภาพดี ความเข้าใจนี้จึงทำให้คุณแม่หลายท่านหยุดการให้นมแม่ แล้วเปลี่ยนมาใช้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแทนการให้ทารกได้กินนมแม่ เพียงเพราะต้องการให้ลูกมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การทำให้เด็กทารกที่มีการเจริญเติบโตในช่วงแรกของชีวิตเกิดภาวะน้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน และรวมไปถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ เป็นต้น(1)

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

จากการศึกษาพบว่าการที่ให้เด็กทารกได้ดื่มนมผงดัดแปลงจะทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าทารกที่ได้ดื่มนมแม่ และมีปริมาณของมวลไขมันในร่างกายมากกว่าเมื่อเข้าสู่วัยเด็ก(1) ผลของความแตกต่างระหว่างทารกที่ดื่มนมแม่กับการเลี้ยงด้วยนมผง จะส่งผลต่อการทำให้เด็กมีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในช่วงวัยเด็กได้ ดังนั้นการให้โภชนาการกับลูกในช่วงแรกเกิดจนถึงขวบปีแรกจึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการเลือกดูแลเอาใจใส่ทารก

ปัจจัยที่ทำให้ทารกมีความเสี่ยงโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน เกิดจาก

  1. การดื่มนมผงสูตรโปรตีนสูงมีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักอย่างรวดเร็วของทารก
  2. กรดอะมิโนในปริมาณที่มากเกินไปจะกระตุ้นระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย ทำให้เกิดการสร้างฮอร์โมนที่เรียกว่า Insulin Like-Growth Factor 1 (IGF-1) ที่เพิ่มขึ้นและไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสะสมไขมันและมวลกล้ามเนื้อ
  3. ทารกที่รับประทานนมผงดัดแปลงสูตรโปรตีนสูงอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของไต จะทำให้ทารกมีไตขนาดใหญ่กว่า และมีปริมาณสารประกอบยูเรียในเลือดซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการสลายโปรตีนปริมาณสูงกว่า เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมผงสูตรโปรตีนต่ำหรือทารกที่ได้รับนมแม่ ดังนั้นการได้รับโปรตีนขนาดสูงในช่วงวัยทารกจึงอาจจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อการทำงานของไตได้(6)

กินนมแม่ ลดความเสี่ยงโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกิน

สำหรับคุณแม่ที่เลือกให้ลูกได้ดื่มนมแม่ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกและช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้อย่างไร้ข้อสงสัย และมีผลการศึกษาของศาสตราจารย์ Koletzko และคณะ(3) พบว่าหากในกรณีที่นมแม่ไม่เพียงพอ ทารกที่ได้รับนมผงดัดแปลงชนิดโปรตีนต่ำใกล้เคียงนมแม่จะมีน้ำหนักและการเจริญเติบโตที่ใกล้เคียงกับทารกที่ดื่มนมแม่เป็นหลักเช่นกัน ซึ่งจะแตกต่างกับทารกที่ได้รับนมผงดัดแปลงชนิดโปรตีนสูงที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีดัชนีมวลกายที่มากกว่าทุกกลุ่มเมื่ออายุ 2 ปี โดยเฉพาะเมื่อติดตามไปอย่างต่อเนื่องจนถึงเด็กวัยเรียน ก็พบว่าเด็กวัยเรียนที่ได้รับนมผงสูตรโปรตีนต่ำกว่าตั้งแต่ทารกจะมีดัชนีมวลกายน้อยกว่าและลดโอกาสการเกิดโรคอ้วนได้ โดยที่การเจริญเติบโตในด้านความสูงก็ไม่แตกต่างกันอีกด้วย(4)

ดังนั้น สารอาหารประเภทโปรตีนที่อยู่ในนมแต่ละชนิดจึงมีความสำคัญต่อทารกในการได้รับปริมาณที่น้อยเกินไปหรือมากเกินไปซึ่งล้วนแต่มีผลเสียต่อร่างกายทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของชีวิตที่อาหารและโภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในการกำหนดอนาคตสุขภาพของลูกน้อย

สำหรับลูกน้อยในกรณีที่นมแม่ไม่เพียงพอ การเลือกนมผงดัดแปลงสูตรโปรตีนต่ำสำหรับทารกจึงมีความสำคัญต่อน้ำหนักตัวของลูกในอนาคตด้วย เพราะปริมาณโปรตีนที่เหมาะสมใกล้เคียงนมแม่และเพียงพอกับความต้องการตามวัยของทารก จะเป็นการป้องกันและช่วยลดความเสี่ยงภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน รวมถึงต้นตอของโรคร้ายต่าง ๆ ที่เพิ่มการเจ็บป่วยและเสียชีวิตลงได้ จึงน่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะกำหนดสุขภาพให้กับลูกต่อการเจริญเติบโตและการมีสุขภาพร่างกายในวันหน้าได้เป็นอย่างดี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เรียบเรียงโดย : แพทย์หญิงกุลนิภา กิตติศักดิ์มนตรี กุมารแพทย์โภชนาการ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับโปรตีนเพิ่มเติมได้ที่ : https://nestlebaby.in.th/th/allergy/benefit-of-protien/article4

เอกสารอ้างอิง

  1. Brands B, Demmelmair H, Koletzko B. How growth due to infant nutrition influences obesity and later disease risk. Acta Pediatr. 2014; 103: 578-85.
  2. Weng SF, Redsell SA, Swift JA, Yang M, Glazebrook CP. Systematic review and meta-analyses of risk factors for childhood overweight identifiable during infancy. Arch Dis Child. 2012; 97: 1019-26.
  3. Koletzko B, von Kries R, Closa R, Escribano J, Scaglioni S, Giovannini M, et al. Lower protein in infant formula is associated wuth lower weight up to age 2 years; a randomized clinical trial. Am J Clin Nutr. 2009; 89: 1836-45.
  4. Weber M, Grote V, Closa-Monasterolo R, Escribano J, Langhendries JP, Dain E, et al. Lower protein content in infant formula reduces BMI and obesity risk at school age; follow-up of a randomized trial. Am J Clin Nutr. 2014; 99: 1041-51.
  5. Koletzko B, von Kries R, Minasterolo RC, Subias JE, Scaglioni S, Giovannini M, et al. Can infant feeding choices modulate later obesity risk? Am J Clin Nutr. 2009; 89(suppl): 1502s-8s.
  6. Escribano J, Lugue V, Ferre N, Zaragoza-Jordana M. Grote V, Koletzko B, et al. Increased protein intake augments kidney volume and function in healthy infants. Kidney Int. 2011; 79: 782-90.

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team