กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด ช่วยกระตุ้นพัฒนาการเด็กเล็ก - 12 เดือน

การเล่นกับลูกก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ ความฉลาดให้กับลูก แต่การเล่นกับลูกแรกเกิดต้องเล่นอย่างไร ถึงจะเหมาะสม กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด โดยไม่ต้องซื้อของเล่น มาดูกันเลย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี กุมารแพทย์ แนะนำ กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด ว่า การเล่น ถือเป็นการเรียนรู้ที่มีคุณค่าอย่างมากของเด็กทุกวัยทั้งด้านสติปัญญาและความสัมพันธ์กับผู้อื่น คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกน้อยได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยไม่จําเป็นที่ลูกจะต้องมีของเล่นมากมาย เพราะคุณพ่อคุณแม่ถือเป็นของเล่นที่ดีที่สุดสำหรับลูก การเล่นกับลูกวัยทารกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการนั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยมีคำแนะนำดังนี้ค่ะ

 

กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด สำคัญอย่างไร และมีอะไรบ้าง?

อันดับแรก เราควรทราบถึงหลักการในการเล่นตามช่วงวัยของทารก ว่าจะมีลักษณะการเล่นที่เน้นการตอบสนองของระบบประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยมีการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสแบบตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน ในช่วงเวลาสั้น ๆ เช่น ไม่เกิน 5 นาที ยกตัวอย่าง เช่น การให้เด็กได้มองเห็นสิ่งของที่มีสีสันสดใส หรือสัมผัสของที่สามารถบีบ เคาะ แล้วมีเสียงดังเกิดขึ้นทันที หรือเล่นจั๊กจี๋ให้เด็กหัวเราะเสียงดัง เป็นต้น

 

อยากทำกิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด แต่ละช่วงวัยควรเล่นอะไรดี

  • ทารกแรกเกิดถึง 3 เดือน ในช่วงวัยนี้ควรเน้นการเล่นที่ส่งเสริมการกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสเป็นหลักเช่น การสัมผัสจากคุณพ่อคุณแม่ ของเล่นที่มีสีสันสดใส หรือมีเสียงดังชัดเจน โดยคุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้อย่างง่ายดาย แม้ขณะกำลังเลี้ยงลูก เช่น เปลี่ยนผ้าอ้อมหรืออาบน้ำให้ลูกก็สามารถสัมผัสลูกอย่างนุ่มนวล นวดผ่อนคลายให้ลูก เล่นปูไต่ พูดคุยกับลูกและร้องเพลงให้ลูกฟัง
  • ทารกที่อยู่ในวัย 4 ถึง 6 เดือน ในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกอย่างมีจุดมุ่งหมายมากขึ้น เพราะเด็กจะเริ่มสนใจร่างกายของตน และสนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัวมากขึ้น เช่น สนใจมองการเคลื่อนไหวของแขนขาตนเอง เริ่มคว้าสิ่งของ และชอบสัมผัสพื้นผิวต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกได้โดยหาสิ่งของในบ้านที่มีลักษณะผิวสัมผัสต่าง ๆ กันทั้งนุ่ม แข็ง เรียบ ขรุขระ มาให้ได้คว้าจับโดยแกว่งของล่อให้ลูกยื่นมือมาคว้า หรือแขวนของสิ่งนั้นไว้เหนือเตียงให้ลูกมองและคว้า อุ้มลูกแล้วร้องเพลงที่มีการเคลื่อนไหวโยกตัวไปมา พูดคำสั้น ๆ ซ้ำ ๆ กับลูกให้ออกเสียงตาม
  • ทารกวัย 7 ถึง 9 เดือน เด็กวัยนี้จะเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเอง เข้าใจภาษามากขึ้น เข้าใจการหายไปของวัตถุที่เคยเห็นในสายตา สามารถหยิบของชิ้นเล็กได้ด้วยนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นจ๊ะเอ๋กับลูก ร้องเพลงที่มีการตอบสนองพร้อมท่าทางประกอบช่วยจับลูกให้เคลื่อนไหวตามจังหวะเพลง ทำท่าต่าง ๆ ให้ลูกหัดทำตาม เช่น ปรบมือ บ๊ายบาย กระตุ้นให้ลูกคลานหรือคืบ โดยเอาของเล่นมาวางตรงหน้า เมื่อลูกเข้ามาใกล้ก็จับของเล่นให้ห่างออกไป ใส่ของชิ้นเล็กที่ไม่อันตรายเช่น ลูกเกดในถ้วยเล็ก ๆ แล้วคว่ำปากถ้วยลง ให้ลูกหัดหยิบลูกเกดใส่ถ้วยเองทีละชิ้นด้วยนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ หรือให้ลูกกินสิ่งของต่าง ๆ ที่ออกจากกล่อง
  • ทารกวัย 10-12 เดือน สำหรับวัยนี้ ทารกสามารถเข้าใจภาษาและสื่อสารได้ดีขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวได้เองมากขึ้นโดยการเกาะยืนหรือเกาะเดินจนเดินก้าวแรกได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นกับลูกโดยการพูดคุยเล่าเรื่องต่าง ๆ เล่านิทานหรืออ่านหนังสือนิทานภาพสั้น ๆ ทําเสียงสัตว์ต่าง ๆ ให้ลูกทำตาม เช่นแมวร้อง เหมียว เหมียว ให้ลูกดูภาพต่าง ๆ แล้วชี้บอกว่าสิ่งนั้นคืออะไรซ้ำ ๆ ให้ลูกทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น บ๊ายบาย หากลูกทำได้ก็ให้รางวัลเช่น กอด เหมือนเป็นการเล่นเกม หาของที่ลูกสนใจมาตั้งและชี้ชวนให้ลูกยืนและเกาะเดินไปหยิบเอง ให้ลูกรู้จักการหยิบผลไม้ชิ้นเล็ก ๆ ขึ้นมาทานเอง โดยเมื่อทำได้ก็ชมเชยและให้รางวัลอย่างสนุกสนาน เพียงเท่านี้ก็เป็นการเล่นง่าย ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้

 

9 วิธีช่วยพัฒนาความรู้จากกิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาด

พญ.กุสุมาวดี คำเกลี้ยง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวว่า ฐานความคิดของเด็กอายุ 3-5 ขวบมาจากจินตนาการ ซึ่งมีในเด็กทุกคน หน้าที่ของพ่อแม่ต้องส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยผ่านการเล่น

  1. จัดมุมเล่นบทบาทสมมติในบ้านหรือห้องเรียน พร้อมอุปกรณ์ เช่น เสื้อผ้า ของใช้ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ที่ใช้วาดรูป ยิ่งมากยิ่งหลากหลาย เด็กจะสร้างสรรค์ได้มากเท่าที่จินตนาการจะพาไป การเล่นสวมบทบาทเป็นคนอื่นหรือตัวละครจากนิทาน การวาดรูป ระบายสี ปั้นแป้ง จะช่วยให้เด็กแสดงออกถึงความคิด
  2. เล่นกับลูกเมื่อลูกชวนเล่นตามเรื่องที่เด็กสร้างขึ้น โดยให้ลูกเป็นผู้นำการเล่น เพื่อให้เด็กใช้ความคิดและจินตนาการอย่างเป็นอิสระ หากพ่อแม่เป็นผู้นำการเล่นเอง จะขัดขวางจินตนาการของเด็ก
  3. เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อให้เด็กเล่นสร้างบ้าน เพราะบ้านเป็นสถานที่ที่เด็กรู้สึกผ่อนคลายอบอุ่นและปลอดภัย เด็กจะใช้จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างบ้านแบบต่าง ๆ ที่เด็กฝันอยากจะมี
  4. ส่งเสริมให้ลูกเล่นของเล่นอย่างอิสระ เช่น บล็อก ตัวต่อเลโก้ ดินน้ำมัน หรือเล่นทราย ที่สามารถต่อหรือสร้างเป็นอะไรก็ได้ ของเล่นประเภทนี้จะช่วยให้เด็กใช้ความคิด จินตนาการอย่างไม่มีข้อจำกัด
  5. เล่นเล่าเรื่องคนละประโยคหรือเล่นต่อเพลง เด็กจะได้รับการกระตุ้นให้คิด
  6. พาเด็กไปสัมผัสธรรมชาติให้มากเท่าที่จะทำได้ เช่น ไปเที่ยวสวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทะเล น้ำตก ป่า ความหลากหลายในธรรมชาติ มีทั้งพืช สัตว์ ก้อนหิน ดินทราย ถือเป็นครูทางจินตนาการของเด็ก ฝึกให้เด็กช่างสังเกต กระตุ้นความอยากในการเรียนรู้
  7. ใช้หัวใจมองเห็นสิ่งมหัศจรรย์ในตัวลูก รักเขาตามที่เขาเป็น อย่าใช้ความคาดหวังของพ่อแม่ตัดสินลูกหรือเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น เพราะเด็กมีความพิเศษต่างกัน ที่สำคัญเด็กที่ฉลาด มักคิดต่างจากใคร ๆ โดยเฉพาะผู้ใหญ่
  8. สร้างบรรยากาศแห่งความรักความอบอุ่นในครอบครัว เด็กจะได้ทั้งอาหารใจและยาบำรุงสมองชั้นดีด้วย
  9. ควรฝึกให้ลูกรู้จักการสังเกต รู้จักตั้งคำถาม และคอยตอบคำถามของลูกด้วยความรักและความใส่ใจ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาดกระตุ้นพัฒนาการทารก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เคล็ดลับอีกอย่างก็คือ กิจกรรมเล่นกับลูกให้ฉลาดเพื่อเสริมพัฒนาการลูกนั้น จริง ๆ พ่อแม่ควรเล่นกับลูกตั้งแต่อยู่ในท้อง แต่ถ้าลูกคลอดออกมาแล้ว ก็หมั่นใกล้ชิดลูกบ่อย ๆ ทำกิจกรรมหรือเล่นกับลูกให้มาก ๆ นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อยากรู้ว่าลูกฉลาดแค่ไหน แม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกหัวไว ส่อแววอัจฉริยะ เทคนิคการเลี้ยงลูกให้ฉลาด

คนท้องกินอะไรได้บ้าง คนท้องต้องกินอะไร ลูกในท้องฉลาด แม่ท้องแข็งแรง ตัวไม่บวมลดง่าย

9 เรื่องจริงจากหัวอก แม่ที่เลี้ยงลูกเอง เท่านั้นจะรู้ซึ้งงงง!!

วิธีเลี้ยงลูกให้เรียนเก่ง หัวไว พ่อแม่ต้องไม่บังคับลูก ถ้าไม่อยากฉุดลูกให้โง่ลง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Tulya