ความเห็นจากกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง กับการ แก้ไขกฎหมายทำแท้ง ในรอบ 60 ปี

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ประกาศแก้ไข พ.ร.บ. เกี่ยวกับการ แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง โดยหญิงที่ตั้งครรภ์ แต่ยังไม่เกิน 12 สัปดาห์ สามารถทำแท้งได้ แต่หากเกิน 12 สัปดาห์ จะมีความผิดตามเงื่อนไขของกฎหมาย แก้ไขกฎหมายการทำแท้ง 

 

การทำแท้ง หรือการยุติตั้งครรภ์ เป็นปัญหาทั้งทางสังคม ทางการแพทย์ และทางกฎหมาย ที่มีความละเอียดอ่อน และหลากหลายในประเด็นต่าง ๆ ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันในวงการต่าง ๆ อยู่อย่างต่อเนื่อง

แต่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 มาตราว่าด้วยการทำแท้ง โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 หรือหนึ่งวันหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 ตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งหมายความว่า ผู้หญิงที่ทำแท้ง อาจไม่ได้มีความผิดตามกฎหมายอาญาเสมอไป

กฎหมายทำแท้ง1

ประมวลกฎหมายอาญามาตรามาตรา 301 – 305 ว่าด้วยการทำแท้ง มีผลบังคับใช้มาแล้ว 60 ปี ดังนั้นการแก้ไข พ.ร.บ. เพิ่มเติมของประมวลกฎหมายว่าด้วยการทำแท้งฉบับนี้ จึงถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งแรกในรอบ 60 ปี อีกทั้ง ยังเป็นสิ่งที่สังคมเรียกร้องให้เกิดขึ้น มาโดยตลอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เดิมทีการทำแท้งในทุก ๆ กรณี ถือว่ามีความผิด และมีโทษทั้งจำ และปรับทั้งต่อผู้ทำแท้ง และแพทย์ผู้ที่เป็นคนดำเนินการทำแท้ง และยังรวมไปถึงบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รู้เห็น และให้การสนับสนุน ในเคสนั้น ๆ

และล่าสุด เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา ได้มีการประกาศแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาฉบับที่ 28 มาตราว่าด้วยการทำแท้ง อย่างเป็นทางการซึ่ง หมายความว่า หญิงมีครรภ์หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ การทำแท้งจะไม่มีความผิด แต่หากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ จะสามารถทำแท้งได้ภายใต้ 3 เงื่อนไข และหากอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ทำแท้งได้ภายใต้ 1 เงื่อนไข การทำแท้งที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กฎหมายทำแท้ง2

พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) ที่ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 มีผลบังคับใช้ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นไป มีทั้งหมด 4 มาตรา ดังนี้

มาตรา 1 

พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย อาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

มาตรา 2 

พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

 

มาตรา 3 

ให้ยกเลิกความในมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 301 หญิงใดทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกขณะมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”

 

มาตรา 4 

ให้ยกเลิกความในมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“มาตรา 305 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 301 หรือมาตรา 302 เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา ในกรณีดังต่อไปนี้ ผู้กระทำไม่มีความผิด”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

(1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น

(2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์ อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง

(3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ

(4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์

(5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

กฎหมายทำแท้ง3

ผศ.ดร. รณกรณ์ บุญมี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นว่าภาพรวมของกฎหมาย “ดีขึ้นมาก” จากจุดที่ผู้หญิงไม่มีอำนาจตัดสินใจในร่างกายของตัวเองเลย กลับมามีสิทธิในการตัดสินใจเพิ่มขึ้น

“แค่ผู้หญิงสามารถมีส่วนในการตัดสินใจในเรื่องร่างกายตัวเองได้ก็ถือว่าเป็นชัยชนะแล้ว ถือว่าเป็นความก้าวหน้าของแนวคิดเสรีนิยม การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ เป็นชัยชนะที่เราไม่คาดหวังว่าจะเห็นด้วยซ้ำ ไม่คิดว่าเมืองไทยจะขยับมาได้เร็วขนาดนี้”

 

ธารารัตน์ ปัญญา นักรณรงค์ด้านสิทธิสตรี ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมาธิการ พิจารณากฎหมายฉบับนี้ เห็นด้วยว่าเป็นการ “ขยับไปอีกก้าว” ของสิทธิผู้หญิง แต่ก็ยังไปไม่ไกลถึงจุดที่เธอคาดหวัง

“เราไม่สามารถยกเลิกความผิดของผู้หญิงออกไปเลยในเวลานี้ ถือว่ายังต้องค่อยเป็นค่อยไป เรารู้สึกว่าจากประเทศที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ ขยับมาเป็นวันนี้ก็นับว่าดี แต่การต่อสู้ก็ยังไม่จบ”

 

จริง ๆ แล้วในชั้นกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย มีการเสนอให้ยกเลิกมาตรา 301 ที่กำหนดบทลงโทษผู้หญิงที่ทำให้ตัวเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

แต่ข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการสนับสนุน เพียงแต่มีการลดโทษให้น้อยลงเหลือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

กฎหมายทำแท้ง4

นอกจากมาตรา 301 ของประมวลกฎหมายอาญาแล้ว อีกมาตราหนึ่ง ที่เกี่ยวกับการทำแท้ง คือมาตรา 305 ซึ่งเป็นส่วนที่ว่าด้วยการยกเว้นการรับโทษของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภา

มาตรา 305 อนุ 5 ระบุว่าหญิงอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ (3 – 5 เดือน) ยืนยันยุติตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจ และรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม และผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์ และวิธีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

 

ผศ.ดร. รณกรณ์กล่าวว่า การผูกข้อกฎหมายเข้ากับหลักเกณฑ์ของแพทยสภา เป็นสิ่งที่น่ากังวล เนื่องจากข้อบังคับของแพทยสภา ออกโดยคนกลุ่มเดียว โดยไม่ต้องผ่านความเห็นของผู้แทนราษฎร อีกทั้งจะเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ก็ได้ หรือเมื่อมีการเปลี่ยนกรรมการ แนวคิดหรือข้อกำหนดต่าง ๆ จะเปลี่ยนตามหรือไม่

“ตอนนี้ยังไม่มีข้อบังคับออกมา ข้อบังคับแทพยสภาที่ออกมาเมื่อปี 2548 มีแค่พูดถึงเรื่องของสุขภาพจิตกับเรื่องการถูกข่มขืน…แต่เมื่อไหร่ที่แพทยสภาออกข้อกำหนดในเรื่องนี้ออกมา ก็ต้องมาลุ้นกัน ผมคิดว่ารัฐสภาไม่ควรเอาข้อบังคับของแพทย์สภาเข้ามาอยู่ในมาตรา 305 เลย” นักวิชาการด้านนิติศาสตร์ระบุ

“หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น” ที่กฎหมายระบุนั้นก็มีไม่ต่ำกว่า 5 หน่วยงานซึ่งมีกฎเกณฑ์และกระบวนการทำงานที่ต่างกัน อาจทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่ขอรับคำปรึกษาประสบปัญหาและต้องใช้เวลานาน

ด้านสุมาลี โตกทอง สมาชิกเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม เห็นด้วยว่าภาคประชาสังคมต้องมีส่วนร่วมในการออกข้อกำหนด และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องของหน่วยงานต่าง ๆ หลังจากนี้ และกังวลว่าระยะเวลาและกระบวนการที่ใช้ในการพิจารณาเพื่ออนุมัติการยุติการตั้งครรภ์ของแต่ละหน่วยงานตามที่กฎหมายระบุอาจทำให้เกิดความล่าช้าจนทำให้หญิงตั้งครรภ์หมดโอกาสที่จะทำแท้ง

“ถ้าหญิงที่อายุครรภ์ยังไม่มากนักก็อาจจะมีเวลามากพอ (ที่จะรอกระบวนการพิจารณา) แต่ถ้าคนที่อายุครรภ์มากจนใกล้จะเกินกำหนด (ที่กฎหมายอนุญาตให้ทำแท้ง) ถ้าต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่ซับซ้อนวุ่นวายมาก ๆ ก็มีสิทธิที่จะเกินกภาคส่วนต้องช่วยกันทำหลังจาก พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาฉบับนี้มีเวลา ตรงนี้เรายังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการตีความข้อกฎหมายให้สิทธิกับผู้หญิงมากน้อยแค่ไหน”

กฎหมายทำแท้ง5

ด้านสมาชิกเครือข่ายสนับสนุนทางเลือกของผู้หญิงที่ท้องไม่พร้อม ให้ความเห็นว่า  ภาคประชาสังคมด้านสิทธิสตรีและอนามัยแม่และเด็กเห็นว่า สิ่งที่หน่วยงานของรัฐ และทุกผลบังคับใช้คือ การให้ข้อมูล ให้ความรู้ และคำแนะนำแก่ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ภาครัฐมีหน้าที่สำคัญในการประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้ประชาชนว่ากฎหมายมีผลบังคับใช้แล้ว หากต้องการใช้บริการหรือเข้ากระบวนการต้องติดต่อหน่วยงานไหน อย่างไรบ้าง 

 

ประเทศไทยมีระบบการดูแลผู้หญิงตั้งครรภ์ไม่พร้อมในระดับหนึ่ง แต่ผู้หญิงเข้าไม่ถึงเนื่องจากภาครัฐไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีสิทธิประโยชน์ให้ผู้หญิงที่ยังไม่พร้อมที่จะมีลูก 

 

กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ และเปิดช่องให้มีการทำแท้งได้ หากเข้าเงื่อนไขที่กำหนด ความรับรู้และความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับการทำแท้งจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปด้วย และในอนาคตกฎหมายของไทยอาจจะไปไกลถึงจุดที่ยกเลิกความผิดและบทลงโทษผู้หญิงที่ทำแท้งได้

 

นพ. วรชาติกล่าวว่า แพทย์อาสาในเครือข่ายฯ ทำงานโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพในร่างกายของบุคคลเป็นหลัก

“เราไม่เคยเถียงเรื่องบาปบุญคุณโทษนะ เพราะว่ามันเถียงกันไม่จบ แต่ประเด็นคือเรื่องสิทธิ เสรีภาพบเนื้อตัวร่างกายของคน ๆ หนึ่ง ถ้าเป็นเราเองเราจะทำยังไง เพราะฉะนั้นเราเลยให้สิทธิกับเขามากกว่า เราเชื่อว่าไม่มีใครตั้งใจท้องเพื่อยุติการตั้งครรภ์ เราเข้าใจว่าแต่ละคนมีความจำเป็นที่ต่างกัน”

 

เขายอมรับว่าสังคม รวมทั้งแพทย์เองก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องการยุติการตั้งครรภ์

“แต่ละคนมีความเชื่อไม่เหมือนกันซึ่งไม่เป็นไร ผมก็แค่อยากช่วยคน (หมอ) ที่ไม่ทำ (ยุติการตั้งครรภ์) ก็ไม่เป็นไร ก็ส่งมาให้คนที่พร้อมจะทำ”

 

บทความจาก www.bbc.com

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

สภาไฟเขียว ทำแท้งไม่ผิดกฎหมาย หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์

ครม. เห็นชอบแก้กฎหมาย ผู้หญิง ไม่พร้อมมีครรภ์ สามารถทำแท้งได้

ท้องในวัยเรียน ท้องไม่พร้อม แต่ไม่อยากทำแท้ง ต้องทำยังไง

 

บทความโดย

@GIM