การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ในช่วงที่คุณแม่ตั้งท้องเกือบ 40 สัปดาห์ อยากรู้กันไหมคะว่าเจ้าตัวเล็กในท้องของเรามีการเจริญเติบโตแต่ละสัปดาห์อย่างไรกันบ้าง ก่อนที่ลืมตาออกมาดูโลกด้วยร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ มาดูกันสิว่า การเจริญเติบโตทารกในครรภ์ในสัปดาห์ที่ 29-37 นี้มีพัฒนาการอะไรเพิ่มเติมมาบ้าง
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 29
ตอนนี้เจ้าตัวน้อยมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ ได้ประมาณ 1.3 กิโลกรัมและความยาวเป็น 15 นิ้ว ส่วนกล้ามเนื้อต่าง ๆ และปอดก็กำลังเติบโตเต็มที่ มีหัวที่เริ่มใหญ่ขึ้นสำหรับสมองที่ขยายตัวขึ้น ช่วงนี้ร่างกายของลูกควรได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างมาก โดยเฉพาะโปรตีน วิตามินซี กรดโฟลิค และธาตุเหล็ก เพราะกระดูกทารกในครรภ์นั้นมีความต้องการแคลเซียมถึง 250 มิลลิกรัมทุกวัน ดังนั้นแม่ท้องควรเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองและลูกในท้อง รวมถึงการได้ดื่มนมหรือสารอาหารที่มีส่วนผสมของแคลเซียม เช่น ชีส โยเกริ์ต ฯลฯ เพื่อเพียงพอต่อความต้องการของลูกและแม่นะคะ
Read : หากแม่ท้องขาดแคลเซียมจะเป็นอย่างไร?
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 30
สัปดาห์นี้ทั้งน้ำหนักและความยาวของลูกเพิ่มขึ้นมาอีกนิด คือ หนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม และยาวประมาณ 15.7 นิ้ว เปลือกตายังปิดอยู่ แต่ก็มีการกะพริบ เมื่อไหร่ที่เริ่มลืมตาก็สามารถรับแสงได้
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 31
สัปดาห์นี้ลูกมีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้คล่องแคล่วมากขึ้น สามารถขยับหัวหมุนไปด้านข้างได้ ส่วนแขน ขาและตัวเริ่มมีไขมันสะสมมากขึ้น ทำให้ผิวไม่ค่อยเหี่ยวย่นเหมือนตอนแรก ๆ ช่วงนี้คุณแม่อาจจะเจอลูกกวนเวลานอนด้วยการเตะและมีการกลับตัวขึ้นลง แต่ยิ่งลูกมีการเตะดิ้นมากเท่าไหร่ก็แสดงว่าลูกคุณแม่แข็งแรงมากขึ้นนะคะ
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 32
ตอนนี้ลูกในท้องจะเริ่มรู้สึกอัดอัดบ้างแล้วเวลาอยู่ในมดลูก ด้วยน้ำหนักรวม 1.7 กิโลกรัม และขนาดตัวยาว 16.7 นิ้ว พัฒนาการของลูกที่เริ่มโตขึ้นทำให้พื้นที่ว่างด้านในเริ่มมีน้อยลง ส่วนอวัยวะอื่น ๆ อย่างเล็บมือ เล็บเท้า และเส้นผมก็เริ่มขึ้นอย่างเต็มที่แล้ว ผิวหนังเริ่มนุ่มและเรียบเนียนขึ้นเช่นกัน
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 33
น้ำหนักของลูกสัปดาห์นี้หนักกว่า 2 กิโลกรัมแล้ว มีผิวหนังที่เรียบเนียนไม่เหี่ยวย่นเพราะไขมันเข้าไปสะสมที่ใต้ผิวหนังมากขึ้น ส่วนกระดูกก็แข็งแรงและเชื่อมต่อกันมากขึ้น เพื่อการเตรียมพร้อมของร่างกาย หากต้องคลอดออกมาด้วยวิธีธรรมชาติ ส่วนสมองและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ก็ยังคงพัฒนาเติบโตไปเรื่อย ๆ
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 34
ช่วงนี้เจ้าตัวน้อยเริ่มอุ่นเครื่องรอพร้อมที่จะออกสู่โลกภายนอกแล้ว ระบบประสาทส่วนกลางและปอดเริ่มพัฒนาจนเกือบสมบูรณ์ ซึ่งโดยปกติแล้วนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 34-37 จะเป็นช่วงที่คุณแม่ พร้อมคลอดลูกแล้วค่ะ
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 35
ช่วงนี้ร่างกายลูกทั่ว ๆ ไปค่อนข้างมีพัฒนาที่สมบูรณ์ทุกอย่างแล้ว ไตก็พัฒนาจนสมบูรณ์ และ ตับก็สามารถขับถ่ายของเสียออกมาได้แล้วเช่นกัน ทารกที่นอนคุดคู้อยู่ในถุงน้ำคร่ำแทบไม่มีพื้นที่ให้น้ำคร่ำแล้ว มดลูกก็เริ่มขยายขนาดจนเต็มที่แล้ว
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 36
น้ำหนักตัวลูกยังคงเพิ่มได้อีกในสัปดาห์นี้ประมาณ 2.5 กิโลกรัม และขนาดตัวยาวมากกว่า 18 ½ นิ้ว เส้นผมขึ้นมาทั่วศีรษะแล้ว รวมทั้งขนอ่อนตามร่างกายด้วย ผิวหนังยังคงมีไขคล้ายขี้ผึ้งบาง ๆ เคลือบอยู่ เพื่อป้องกันผิวทารกหลังจากคลอดออกมา ในระหว่างช่วงต่อจากสัปดาห์นี้ ระบบต่าง ๆ และ ร่างกายของลูกก็จะเติบโตครบสมบูรณ์ เริ่มจะกลับหัวคว่ำลง แต่ถ้าลูกไม่ยอมคว่ำ คุณแม่อาจจะต้องเปลี่ยนความตั้งใจในการคลอดเอง เป็นการผ่าคลอดแทน ตามที่คุณหมอแนะนำ
การเจริญเติบโตทารกในครรภ์สัปดาห์ที่ 37
ตอนนี้ทั้งร่างกายและอวัยวะทุกส่วนของลูกพร้อมสมบูรณ์แบบสุด ๆ ที่จะออกมาลืมตาดูโลกภายนอกแล้ว ขอแสดงความยินกับสมาชิกใหม่ของครอบครัวคุณพ่อคุณแม่ด้วยนะคะ
ถ้าสัปดาห์นี้เจ้าตัวน้อยยังไม่ยอมออกมาให้คุณพ่อคุณแม่เห็นหน้า ก็อย่าเพิ่งกังวลใจไปนะคะ เพราะหลังจากสัปดาห์นี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 41 ก็ยังอยู่ในช่วงที่สามารถคลอดได้ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของลูกน้อยและคุณแม่ด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.iosociety.com , Theasianparent
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และ เด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พัฒนาการสมองของทารกในครรภ์
พัฒนาการกระดูกของทารกในครรภ์