การทำใบงานเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ใบงานวันแม่ : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

การทำใบงานเด็ก 1 ขวบขึ้นไป มีความสำคัญอย่างไร จะต้องทำใบงานอย่างไร ซับซ้อนแค่ไหน เรามีคำตอบค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การทำใบงานเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ใบงานวันแม่ ใบงานวันพ่อ เป็นการพัฒนาการเขียนเป็นอีกหนึ่งทักษะ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัย ที่คุณพ่อคุณแม่ ควรให้ความสำคัญ เพราะทักษะด้านการเขียนนั้นมีประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน คุณพ่อคุณแม่สามารถเสริมสร้างทักษะการเขียนให้กับเด็กได้เองจากที่บ้าน ด้วยการให้เด็กเริ่มฝึกจากการเขียนชื่อของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นชื่อเล่น ชื่อจริง นามสกุล ทั้งชื่อที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เพราะการเขียนชื่อเป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก เมื่อเขียนได้เด็กจะเกิดความภูมิใจและกระตุ้นความสนใจในการเขียนได้ดีที่สุด

ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำ การทำใบงานเด็ก 1 ขวบขึ้นไป ให้กับคุณพ่อคุณแม่ เพื่อสามารถคิด หรือออกแบบแบบฝึกหัด เพื่อฝึกทักษะการพัฒนาการให้กับลูกน้อยได้ด้วยวิธีของคุณพ่อคุณแม่เอง

 

ใบงาน วันแม่

 

ลูกน้อยต้องการทักษะด้านไหนบ้าง

เป็นโจทย์คำถามที่เราจะต้องให้ความสำคัญก่อนเป็นอันดับต้น ๆ การวางรากฐานที่ดีจะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างก้าวกระโดด จนบางครั้งเราเองยังต้องตกใจ

  • กล้ามเนื้อมือ

ก่อนที่เด็กจะเริ่มฝึกเขียน หรือหยิบจับดินสอได้คล่องนั้น เด็กจำเป็นจะต้องมีกล้ามเนื้อมือที่แข็งแรง พร้อมสำหรับการขีดเขียน คุณพ่อคุณแม่สามารถพัฒนากล้ามเนื้อมือให้เด็กได้ด้วยการหากิจกรรมที่ใช้มือในการทำเป็นหลัก เช่นการฝึกให้เด็กขยำกระดาษ การปั้นดินน้ำมัน การกรอกน้ำใส่ขวด การร้อยลูกปัด การใช้กรรไกรตัดกระดาษ ฯลฯ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยในการเสริมสร้างทักษะการควบคุมการจัดการกับประสามมือ และนิ้วมือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการจับดินสอมาขีดเขียนบนแผ่นกระดาษนั่นเอง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • การขีดเขียน

เด็กในช่วงวัย 1 ปีครึ่ง ถึง 2 ปีครึ่ง เริ่มเป็นวัยที่มีพฤติกรรม ที่ชอบขีดเขียนอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ผู้ปกครองควรหากิจกรรมง่าย ๆ ที่สามารถทำเองได้ เช่น การวาดรูป การขีดเขียนอย่างมีอิสระ ในการเขียนครั้งแรก อาจจะเริ่มใช้สีเทียนที่มีขนาดแท่งที่ใหญ่ เพื่อให้เด็กสามารถจับได้อย่างถนัดมือ ส่วนกระดาษที่ใช้ อาจจะใช้เป็นสมุดวาดเขียน หรือกระดาษ A4 และในทุกครั้ง เราก็ควรจดบันทึกวันที่ที่น้องเริ่มหัดขีดเขียนในแต่ละครั้ง เพื่อที่เราจะได้ใช้เปรียบเทียบดูพัฒนาการเป็นระยะ ๆ ว่าในการขีดเขียนแต่ละครั้งนั้น มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน

ผู้ปกครองสามารถเพิ่มความสนุก ความตื่นเต้นให้กับเด็ก ๆ ได้ ด้วยการใช้กระดาษลอกลาย หรือกระดาษไข ที่มีขนาดใหญ่ แล้วใช้เทปใสแปะที่มุมทั้งสี่ด้าน ติดเข้ากันกับฝาผนัง ในระดับที่พอดีกับตัวเด็ก และให้เด็กใช้สีระบายอย่างมีอิสระ ตามจินตนาการของเขาเอง (ถ้ากลัวเสื้อผ้าเด็กจะเลอะเทอะ แนะนำให้หาเสื้อผ้าเก่า ๆ ให้เด็กนำมาใส่ก่อนเริ่มทำกิจกรรมค่ะ)

 

ใบงาน วันแม่

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ในช่วง 1 สัปดาห์ ผู้ปกครองควรที่จะหากิจกรรมให้แตกต่างกันออกไป เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซากจำเจ แล้วสร้างความเบื่อหน่ายให้กับเด็ก อีกทั้ง การฝึกกล้ามเนื้อในกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปนั้น ก็จะทำให้เกิดการใช้กล้ามเนื้อไม่ซ้ำเดิม ทำให้เกิดการพัฒนาทุกส่วนไปได้พร้อม ๆ กัน

 

ฝึกเขียนอย่างไรให้มีทักษะ

เมื่อเด็กได้รับการฝึกกล้ามเนื้ออย่างเต็มที่ การฝึกเพื่อให้เด็กมีทักษะในการเขียนอย่างถูกต้องจึงเป็นสิ่งสำคัญตามมา เมื่อเด็กเข้าสู่อายุ 2 ปีครึ่ง – 3 ปี ช่วงเวลานี้ผู้ปกครองควรเตรียมใบงานให้กับลูกน้อย เพราะเด็กในวัยนี้ความพร้อมเริ่มมีมากขึ้น ผู้ปกครองสามารถนำกิจกรรมศิลปะในรูปแบบต่าง ๆ มาจัดสลับกับการฝึกเขียนตามรอยเส้นปะ หรือที่นิยมเรียกกันว่าแบบฝึกลีลามือ ฝึกเพื่อให้เด็กได้รู้จักบังคับกล้ามเนื้อมือไปในทิศทางต่าง ๆ ในหนึ่งหน้ากระดาษก็ไม่ควรมีลายเส้นที่เยอะและถี่เกินไป เพราะอาจทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเขียนจนทำให้เด็กต่อต้าน การเขียนแต่ละครั้งผู้ปกครองไม่ควรคาดหวังกับเด็กจนเกินไปและไม่ว่าเด็กจะเขียนออกมาในรูปแบบใดก็ควรให้คำชม เพื่อเป็นการเสริมแรงในทางบวก เด็กจะสนุกและมีความสุขในการเขียน

ในการฝึกเขียนระยะแรก ๆ ผู้ปกครองอาจให้เด็ก ๆ ใช้สีในการเขียนก่อนก็ได้นะคะ แต่หากเด็กมีความพร้อมก็สามารถให้เด็กใช้ดินสอในการเขียนได้เลยค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง ใบงานภาษาอังกฤษอนุบาล แจกฟรี 100+ ชุด แบบฝึกหัด และ เสริมทักษะภาษา

 

การทำใบงานสำหรับเด็ก ใบงานวันพ่อ ใบงานฉีกตัดปะอนุบาล

เมื่อเด็ก ๆ เริ่มมีความคล่องแคล่วในการหยิบจับดินสอ สามารถบังคับกล้ามเนื้อมือให้เขียนตรงตามเส้นปะไปในทิศทางต่าง ๆ ได้แล้ว ผู้ปกครองก็ควรเพิ่มความท้าทายให้เด็ก ๆ โดยเริ่มให้เด็กเขียนชื่อเล่น แต่ยังเขียนตามรอยปะ ถ้าเด็กมีความพร้อมผู้ปกครองก็สามารถให้เด็กเขียนโดยไม่มีเส้นปะได้ค่ะ แต่จะเริ่มเขียนชื่อภาษาอังกฤษก่อน แล้วมาเป็นพยัญชนะไทยสลับกันไป ที่แนะนำให้เริ่มจากภาษาอังกฤษ เพราะชื่อภาษาอังกฤษจะเขียนง่ายกว่าพยัญชนะไทย เนื่องจากไม่มีสระ และวรรณยุกต์ทำให้เด็กจดจำได้ดีกว่า เมื่อเด็กเขียนได้คล่องแล้วค่อยกลับมาเขียนชื่อภาษาไทย แต่ถ้าจะให้ดีควรให้เด็กหมั่นฝึกอ่านตัวพยัญชนะไทย และอังกฤษ ให้แม่นยำจะทำให้การฝึกเขียนชื่อง่ายต่อตัวเด็กเองค่ะ ลองทำฝึกกันดูนะคะ

ในการฝึกเขียนชื่อ เรามีอีกวิธีที่อยากแนะนำให้ผู้ปกครองลองทำกัน คือ ใช้กระดาษเทา – ขาว กับกระดาษลอกลาย โดยตัดกระดาษทั้งสองชนิดให้มีขนาดความกว้าง 8 นิ้ว ยาว 4 นิ้ว จากนั้นใช้เมจิกเส้นใหญ่เขียนชื่อเล่นของเด็ก ลงบนกระดาษเทา – ขาว แล้ววางกระดาษลอกลายไว้ด้านบน ใช้คลิปหนีบกระดาษหนีบที่มุมซ้าย และขวา เสร็จแล้วให้เด็กใช้สี หรือดินสอเขียนลอกลายชื่อตัวเองได้เลยค่ะ เหมาะสำหรับฝึกให้เด็กจดจำว่า ในชื่อตัวเองมีพยัญชนะ และสระอะไรบ้าง เมื่อทำซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ เด็กก็จะจดจำได้เองโดยปริยายค่ะ ทั้งนี้อยากให้ผู้ปกครองอยู่ข้าง ๆ คอยให้คำแนะนำเด็ก ในเวลาทำกิจกรรม เพราะในช่วงแรกเด็กอาจจะสับสน ในการม้วนหัวพยัญชนะ หรือสระเด็กจะม้วนหัวสลับกัน ถ้าไม่คอยแนะนำเด็กจะจดจำในสิ่งที่ผิดได้ค่ะ

 

ใบงาน วันแม่

 

เมื่อเข้าสู่วัย 4 – 5 ปี ในเกณฑ์อายุนี้ เด็ก ๆ ก็จะมีความพร้อมมากมาย กล้ามเนื้อมือ และตาประสานสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี เขียนทั้งพยัญชนะไทย และอังกฤษได้คล่อง สามารถเขียนทั้งชื่อเล่น ชื่อจริง และนามสกุลได้แล้ว แต่ถ้าเด็กยังจดจำพยัญชนะชื่อของตัวเองได้ไม่ครบ ผู้ปกครองก็สามารถทำแบบทดสอบ เติมพยัญชนะจากชื่อของตัวเองที่หายไป โดยใช้ทฤษฏีเดิม คือ ทำซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ แค่นี้ก็หมดห่วงเรื่องลูกเขียนชื่อไม่ได้ และก็จะไม่ถูกกดดันจากครูที่โรงเรียนด้วยค่ะ

 

ตัวอย่างเกมส์ และใบงาน ใบงานฉีกตัดปะอนุบาล

  • สำหรับเด็กอายุ 1 – 2 ปี
    • ฝึกการขยำกระดาษ
    • ฝึกการฉีกกระดาษ แล้วนำมาแปะ
    • ฝึกการตักน้ำกรอกใส่ขวด (อาจจะเปลี่ยนน้ำเป็นทราย หรือข้าวสารก็ได้)
    • ฝึกการปั้นแป้งโด
    • ฝึกการตัดกระดาษออกเป็นชิ้น ๆ
    • ฝึกการเป่าสี
    • ฝึกการระบายสีด้วยการใช้มือจุ่มลงไปในสี แล้วนำมาทาบลงบนกระดาษเพื่อให้เกิดลวดลายต่าง ๆ
    • ฝึกการเรียงรูปทรงเลขาคณิต
    • ฝึกการนับเลข
  • สำหรับเด็กอายุ 2 – 3 ปี
    • ใช้สีช็อคหรือสีเทียนเพื่อให้เด็กได้ขีดเขียน และระบายสีลงบนรูปภาพ
    • ฝึกการลากเส้นอย่างง่าย
    • ฝึกการจับคู่รูปภาพ
    • ฝึกการจับคู่สี
    • เกมส์ตามล่าตัวเลข
    • การลอกลาย
    • การฝึกเขียนตามรอยประ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

แจกตัวอย่าง แบบฝึกขีดเขียน เตรียมความพร้อม

ที่มา : youngciety

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

โหลดฟรี! แจก แบบฝึกหัดระบายสีอนุบาล แบบฝึกหัดระบายสีเกี่ยวกับสัตว์!

แจกฟรีแบบฝึกหัดคัด A-Z เขียนตามเส้นประ สอนภาษาอังกฤษเด็ก

 

บทความโดย

Arunsri Karnmana