พ่อแม่ต้องรู้ การทำ CPR ช่วยชีวิตลูกได้

พ่อแม่ต้องรู้ การทำ CPR ช่วยชีวิตลูกได้ ระหว่างที่ลูกอยู่ระหว่างความเป็นและความตาย สิ่งที่พ่อแม่ต้องมีคือสติและวิธีการทำ CPR

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พ่อแม่ต้องรู้ การทำ CPR ช่วยชีวิตลูกได้

พ่อแม่ต้องรู้ การทำ CPR ช่วยชีวิตลูกได้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นนั้น นอกจากอาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ แล้ว เรื่องที่พ่อแม่ทุกคนควรจะต้องรู้ไว้คือ การทำ CPR นั่นเองค่ะ

CPR คือ ???

Cardiopulmonary resuscitation หรือ CPR เป็นการช่วยชีวิตคนที่ไม่หายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ซึ่งเป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นก่อนผู้ป่วยจะถึงมือเเพทย์นั้นเองค่ะ

โดยหลักการคือช่วยให้คนที่ไม่หายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจหรือหัวใจกลับมาเต้นอีกครั้งนึง เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อได้รับอันตรายจากการขาดออกซิเจนอย่างถาวร ซึ่งสามารถทำได้โดยการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ การผายปอดและการนวดหัวใจภายนอก

เมื่อไหร่ที่ต้องทำ CPR

  • สำลัก สิ่งแปลกปลอมเข้าหลอดลม เช่น ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ เมล็ดถั่ว เป็นต้น
  • สูดดมสารพิษ แก็สพิษ ควันพิษ
  • ถูกไฟดูด
  • จมน้ำ
  • การบาดเจ็บที่ทรวงอก ทำให้ทางเดินหายใจได้รับอันตรายและเนื้อเยื่อได้รับบาดเจ็บ
  • โรคระบบประสาท เช่น บาดทะยัก ไขสันหลังอักเสบ ทำให้กล้ามเนื้อหายใจเป็นอัมพาต
  • แมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ แตน ต่อยบริเวณคอ หน้า ทำให้มีการบวมของเนื้อเยื่อของทางเดินหายใจและหลอดลมมีการหดเกร็ง
  • ได้รับยากดศูนย์ควบคุมการหายใจ เช่น มอร์ฟีน ฝิ่น โคเคน บาร์บิทูเรต ฯลฯ
  • โรคหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน
  • มีภาวะหายใจวายจากสาเหตุต่างๆ มีการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ

ทำ CPR โดยยึดหลัก ABC

A มาจาก Airway คือการเคลียร์ทางเดินหายใจ ไม่ให้ลิ้นหรือสิ่งแปลกปลอมมาปิดกั้นลมหายใจ

B มาจาก Breathing คือการเป่าลมเข้าไปในปอด หรือที่เรียกว่าการผายปอด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

C มาจาก Circulation คือการปั๊มหรือนวดหัวใจให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงยังสมองและส่วนต่างๆ ของร่างกาย

ขั้นตอนการทำ CPR

1.เรียก

เพื่อเด็กให้รู้สึกตัว หากไม่รู้สึกตัวให้คนอื่นช่วยโทรแจ้งศูนย์นเรนทรที่เบอร์ 1669

2.เปิดทางเดินหายใจให้โล่ง

โดยการเชยคางขึ้น มืออีกข้างกดหน้าผากเพื่อให้หัวแหงนไปด้านหลัง และตรวจดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมรึเปล่า หากมีหันหัวเด็กตะแคงและล้วงเอาออกก่อน แล้วจึงเชยคางให้แหงนขึ้นอีกครั้ง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

cardiopulmonary resuscitation คือ

ในกรณีที่เด็กไม่หายใจ

  • ถ้าเป็นเด็กเล็กต่ำกว่า 1 ขวบ ให้เป่าลมเข้าปากและจมูก ครั้งละ 1 วินาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • ถ้าเป็นเด็กโตมากกว่า 1 ขวบ ใช้มือบีบจมูกแล้วให้เป่าลมเข้าปาก ครั้งละ 1 วินาที ติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • สังเกตด้วยว่าเวลาเป่าลมหน้าอกเด็กขยายขึ้นแสดงว่าเป่าลมเข้าปอด เเต่ถ้าเป่าเเล้วอกเด็กไม่ขยายอาจมีสิ่งอุดกั้นทางเดินหายใจอยู่ หรืออาจเชยคางไม่สูงพอ ให้เชยคางใหม่
Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

cardiopulmonary resuscitation คือ

3.คลำชีพจร

  • ในเด็กเล็ก ใช้นิ้วหาชีพจรบริเวณต้นแขนหรือท้องแขนด้านในหรือบริเวณขาหนีบ
  • ในเด็กโต ใช้นิ้วหาชีพจรบริเวณคอด้านข้าง
  • หากไม่แน่ใจว่ามีชีพจร ให้รีบดำเนินการต่อไป

cardiopulmonary resuscitation คือ

4.นวดหัวใจ

  • เด็กเล็ก ให้ใช้นิ้ว 2 นิ้ว กดลงตรงกลางกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ กดลงลึกประมาณ 1/3-1/2 ของความหนาหน้าอก ด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที
  • เด็กโต ให้ใช้ส้นมือ มือเดียวหรือสองมือก็ได้ กดลงตรงกลางกระดูกหน้าอกเหนือลิ้นปี่ กดลงลึกประมาณ 1/3-1/2 ของความหนาหน้าอก ด้วยความเร็ว 100 ครั้งต่อนาที
  • หากมีคนช่วย 2 คน ให้ทำ 15 ครั้งตามด้วยการผายปอด 2 ครั้ง
  • หากมีคนช่วยคนเดียว ให้ทำ 30 ครั้งตามด้วยการผายปอด 2 ครั้ง
  • ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 5 รอบ หรือประมาณ 2 นาที หากเด็กยังไม่หายใจ ให้ทำต่อไปจนกว่าความช่วยเหลือจะมา หรือไปถึงโรงพยาบาล

cardiopulmonary resuscitation คือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อันตรายถ้าทำ CPR ไม่ถูกวิธี

  1. พ่อแม่ควรมีการฝึกอบรมในการทำ CPR ก่อน เพื่อที่จะสามารถทำได้ถูกต้อง
  2. วางมือผิดตำแหน่ง ทำให้ซี่โครงหัก ทิ่มโดนอวัยวะสำคัญ เช่น ตับ ม้าม เกิดการตกเลือดถึงตายได้
  3. การกดด้วยอัตราเร็วเกินไป เบาไป ถอนแรงหลังกดไม่หมด ทำให้ปริมาณเลือดไปถึงอวัยวะต่างๆ ที่สำคัญได้น้อย ทำให้ขาดออกซิเจน
  4. การกดแรงและเร็วมากเกินไป ทำให้กระดูกหน้าอกกระดอนขึ้น ลงอย่างรวดเร็ว หัวใจช้ำเลือดหรือกระดูกหักได้
  5. การกดหน้าอกลึกเกินไป ทำให้หัวใจชอกช้ำได้
  6. การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ เป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้ากระเพาะอาหาร เกิดท้องอืด อาเจียน ลมเข้าปอดไม่สะดวก ปอดขยายตัวไม่เต็มที่
  7. ถ้ามีอาการอาเจียนเกิดขึ้นก่อน หรือ ระหว่างการทำ CPR ต้องล้วงเอาเศษอาหารออกก่อน มิฉะนั้นจะเป็นสาเหตุของการอุดตันของทางเดินหายใจ
  8. การช่วยหายใจไม่ได้ผล เกิดการขาดออกซิเจน ถ้ามีอาการท้องอืดขึ้น ระหว่างการทำ CPR ให้จัดท่าเปิดทางเดินหายใจใหม่ และช่วยการหายใจด้วยปริมาณลมที่ไม่มากเกินไป

ที่มา ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  American Heart Association และ  

บทความที่น่าสนใจ

ลูกรอดเพราะ “คาร์ซีท” อุปกรณ์ช่วยชีวิต ไม่ใช่ของฟุ่มเฟือย

นาทีชีวิต ฮีโร่สาว CPR ปั๊มหัวใจ ผายปอด ช่วยเด็กชายจมน้ำให้ฟื้น