"กระป๋องคนจน" เรื่องเล่าเยาว์วัย ของในหลวงรัชกาลที่ 9 กษัตริย์นักออม

อย่างที่ทราบกันดีว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นต้นแบบของพสกนิกรชาวไทยในเรื่องของการประหยัด อดออม ที่ได้รับการถ่ายทอดและปลูกฝั่งมาจากสมเด็จย่า ซึ่งเป็นที่มาของ "กระป๋องคนจน"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กระป๋องคนจน กระปุกออมสินของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อครั้นยังทรงพระเยาว์

ในหนังสือเรื่อง “จักรยาน กระป๋องคนจน เจ้าฟ้าแห่งสยาม” สมเด็จย่าทรงปลูกฝังให้พระโอรสและพระราชธิดารู้จักทำงานบ้าน ทำสวน ช่วยเหลือตนเอง และการอดออมอย่างเช่นสามัญชน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานะ พระองค์ทรงสอนให้รู้จักเห็นคุณค่าของสิ่งของ เงินทอง

 

ครั้นที่ครอบครัวของพระองค์ท่าน พำนักอยู่ที่ วิลล่าพัฒนา ประเทศสหรัฐอเมริกา ในหลวงรัชกาลที่ 9 เมื่อทรงพระเยาว์ ได้วิ่งมาบอกพระชนนีว่า “อยากได้จักรยาน เพื่อนๆ เขามีกัน” พระองค์ทรงเอ่ยกับพระชนนีด้วยแววตาใสซื่อ คนอื่นๆ อาจพาลูกไปซื้อเลยเดี๋ยวนั้น แต่พระชนนีกลับส่งยิ้มให้ แล้วตอบกลับลูกว่า “ลูกอยากได้จักรยาน ลูกต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวัละเหรียญ ได้มากค่อยเอาไปซื้อจักรยาน” ในหลวงได้ยินดังนั้น จึงนำเงินไปหยอดลงกระป๋องเล็กๆ ทุกวัน

 

จนเวลาผ่านไปจนถึงปีใหม่ พระชนนีจึงบอกว่า “ปีใหม่แล้ว เราไปซื้อจักรายานกัน ดูซิว่าในกระป๋องมีเงินเท่าไหร่” สุดท้ายแล้วในหลวงก็ได้จักรยานคันใหม่ด้วยเงินในกระป๋อง กับเงินที่พระชนนีสมทบให้ ซึ่งมีมากกว่าเงินในกระป๋องเสียเอง ที่สมเด็จย่าทำเช่นนี้ เพื่อให้ลูกรู้จักประหยัด อดออม และทรงเรียกกระป๋องออมสินว่า “กระป๋องคนจน”

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นอกจากนี้ พระชนนียังบอกให้ลูกนำเงินที่ได้จากการทำกิจกรรมที่มีกำไร มาหักภาษี โดยนำไปหยอดในกระปุกไว้ 10 เปอร์เซนต์ และในทุกๆ เดือน สมเด็จย่าจะทรงถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนคนตาบอด เด็กกำพร้า หรือกิจกรรมเพื่อคนยากจน

 

คำสอนต่างๆ เหล่านี้ ได้ติดตัวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มาโดยตลอด ซึ่งเป็นหนึ่งในพระราชจริยาวัตรที่เป็นแบบอย่างของคนไทยในเรื่องของ “ความพอเพียง” “ความประหยัด” ดั่งพระราชดำริ เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 31 ธันวาคม 2502 ความว่า

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

“การใช้จ่ายอย่างประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุข
ของผู้ประหยัดเอง และครอบครัวช่วยกันป้องกันความขาดแคลน
ในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดี

ไม่เฉพาะแก่ผู้ที่ประหยัดเท่านั้น ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย”

 

พระองค์คือต้นแบบของการอดออม

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ (SiPH) จัดกิจกรรมเพื่อสังคม “ออมเพื่อให้ตามรอยพ่อ” รณรงค์ส่งเสริมและปลูกฝังนิสัยการออมและการแบ่งปันแก่สังคมไทย ด้วยการออมเงินในกระปุกส่วนตัวและนำมาแลกรับกระปุกที่ระลึกสัญลักษณ์อุปกรณ์ทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยจะนำเงินออมร่วมสมทบทุนสร้างอาคารนวมินทรบพิตร 84 พรรษา อาคารศูนย์การแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ทั้งนี้ ผู้ร่วมออมจะได้รับกระปุกออมเงินสัญลักษณ์จำลองอุปกรณ์ทรงงาน 3 แบบ ได้แก่ วิทยุสื่อสาร กล้องถ่ายรูป และพระราชพาหนะทรงงาน ที่แต่ละชิ้นมีเรื่องราวที่น่าประทับใจในความห่วงใย พระอัจฉริยภาพ และทรงเป็นผู้เสียสละเพื่อความสุขของประชาชนอย่างแท้จริง

 

 

ขั้นตอนง่ายๆ ในการร่วมโครงการ “ออมเพื่อให้ตามรอยพ่อ

  1. ออมเงินให้เต็มกระปุกขนาดใดก็ได้
  2. นำมาแลกรับกระปุกที่ระลึกสัญลักษณ์อุปกรณ์ทรงงาน

โดยกำหนดให้แลกกระปุกวิทยุสื่อสารเป็นแบบแรกในวันที่ 28 ก.ค.-20 ส.ค. ตามด้วยกล้องถ่ายรูป ในวันที่ 21 ส.ค.-20 ก.ย. และพระราชพาหนะทรงงานใน วันที่ 21 ก.ย.-20 ต.ค.

 

ช่องทางในการแลกกระปุก

  1. ทางเว็บไซต์ www.savingforgiving.com
  2. โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
  3. ที่กิจกรรมโรดโชว์ที่ห้างสรรพสินค้าตามวันเวลาที่กำหนด

 

ที่มา: teenee khaosod และแรงบันดาลใจจากพระราชา กษัตริย์ผู้เป็นแบบอย่าง

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

คำสอนของพ่อหลวง

ภาพเด็กก้มกราบพระบาท ในหลวง ร.9 ในวันนั้นเติบใหญ่เป็นข้าราชการในวันนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Khunsiri