กระบวนการสร้างน้ำนม ส่งรักแท้จากแม่สู่ลูก

หลังจากทารกลืมตาดูโลกแล้วจะมีพัฒนาการแข็งแรงสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสารอาหารที่ได้รับด้วยนะ อาหารวิเศษที่ลูกควรได้กินเป็นคำแรกในชีวิตก็คือน้ำนมอุ่นๆ จากอกแม่นั่นเองค่ะ เพราะในน้ำนมอุดมด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีโปรตีนและไขมันที่ย่อยง่าย รวมถึงสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับลูกน้อย แล้วคุณแม่รู้ไหมว่าแต่ละหยดๆ ที่ลูกได้ดื่มกินนั้นมาจากไหน เซลล์ เนื้อเยื่อ เส้นประสาทต่างๆ ในร่างกายของคุณแม่มีการทำงานหรือมี กระบวนการสร้างน้ำนม ขึ้นมาได้อย่างไร

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กระบวนการสร้างน้ำนม เริ่มต้นขึ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 16-22 สัปดาห์ ภายในร่างกายของคุณแม่จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมหัศจรรย์และซับซ้อนมาก โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยกัน

 

ช่วงที่ 1 สร้างฐานกำลังการผลิต

ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ร่างกายจะกระตุ้นฮอร์โมน Estrogen, Progesterone, Prolactin, HPL และอื่นๆ ส่งผลให้เต้านมสร้าง “ท่อนม” ขึ้นมา และแตกแขนงส่วนปลายกลายเป็น “ต่อมน้ำนม” เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 ฮอร์โมน HPL จะทำให้มีการสร้างน้ำนมขึ้นแต่ยังไม่มีน้ำนมไหลออกมานะคะ จนกระทั่งไตรมาส 3 ต่อมน้ำนมจะเพิ่มขึ้นอีกจนหน้าอกของคุณแม่ขยาย ร่างกายเริ่มผลิต Colostrum หรือหัวน้ำนม และเริ่มมีน้ำนมซึมออกมาบ้างเล็กน้อย

 

ช่วงที่ 2 น้ำนมมาเอง! หลังคลอดเบบี๋

หลังจากคลอดทารกแล้วราว 30-40 ชม. ฮอร์โมน Prolactin จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำนม ต่อมน้ำนมทำงานอย่างขยันขันแข็ง สังเกตได้ว่าเต้านมจะตึงๆ มีเลือดไหลเวียนมากขึ้น ผ่านไป 2-3 วันร่างกายก็ยังผลิตน้ำนมและไหลออกมาเองแบบอัตโนมัติ

 

ช่วงที่ 3 ไหลหรือหยุด สั่งได้ตามใจลูก

น้ำนมของคุณแม่จะไม่ได้ถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนเพียงอย่างเดียวแล้วนะคะ แต่จะไหลออกมาก็ต่อเมื่อได้รับการกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นการดูด การบีบด้วยมือ การปั๊มด้วยเครื่องปั๊มนม ซึ่งแม่ควรผลิตน้ำนมตุนไว้อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของลูก

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

แม้ว่ากระบวนการสร้างน้ำนมจะทำงานปกติดี แต่ก็มีคุณแม่จำนวนไม่น้อย ไม่สามารถให้นมลูกได้ตลอดเวลาที่ลูกต้องการ เนื่องจากติดปัญหาสุขภาพหรือจำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้านทุกวัน จึงพยายามสรรหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งนมที่ได้รับความนิยมมานานในหลายประเทศทั่วโลกก็คือ นมแพะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

นมแพะ คุณประโยชน์ที่เพียบพร้อมสำหรับลูกน้อย

มีการศึกษาพบว่าระบบการให้น้ำนมของแพะเป็นแบบอะโพไครน์¹ (Apocrine Secretion) ซึ่งเป็นแบบเดียวกับนมแม่ ทำให้ในน้ำนมของแพะมี Bioactive Components² สารอาหารตามธรรมชาติในปริมาณสูงอันประกอบไปด้วย นิวคลีโอไทด์ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทอรีน ช่วยพัฒนาเซลล์สมองและจอประสาทตาให้ทำงานประสานกันอย่างสมบูรณ์แบบ โพลีเอมีนส์ เพิ่มภูมิต้านทานต่อระบบทางเดินอาหาร และส่งเสริมระบบการย่อยอาหารให้สมบูรณ์ รวมถึงมี โกรทแฟคเตอร์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต

 

ลูกน้อยจะฉลาดสมวัย จดจำได้ดีขึ้นเพราะได้รับสารอาหารสำคัญคือ กรดไขมัน โอเมก้า 3 โอเมก้า 6 และโอเมก้า 9 ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของ DHA ARA และวิตามินบี 12 ช่วยสร้างเครือข่ายใยประสาทให้เชื่อมต่อกันได้ดี ในนมแพะยังอุดมไปด้วยโปรตีน CPP (Casein Phosphopepetides) หรือโปรตีนนุ่ม ที่ย่อยและดูดซึมง่าย คุณสมบัติย่อยง่ายนี้เอง จึงลดลดอาการท้องอืดได้ โปรตีนชนิดนี้ยังช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก สังกะสี แมกนีเซียม โดยเฉพาะแคลเซียมกับฟอสฟอรัส ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง นอกจากนี้ยังเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

รู้อย่างนี้แล้วก็สบายใจได้เลยนะคะ แม้จะลูกรักจะไม่ได้กินนมแม่ทุกช่วงเวลา แต่ก็ยังได้รับคุณค่าสารอาหารสูงเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีทั้งทางร่างกายและสมอง ลูกจะเติบโตพร้อมเรียนรู้โลกกว้างอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน

 

 

ข้อมูลอ้างอิง

¹Boutinaud M,et :133-47

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

²Silanikove N,et al. Small Rumin Res 2010;89:110-24

บทความโดย

theAsianparent Editorial Team