วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ ทำให้ลูกไม่เชื่อฟัง
เคยคิดไหมว่าทำไมลูกถึงไม่เชื่อฟัง สำหรับคนเป็นพ่อแม่ พวกเรามักจะพูดในสิ่งที่อยากพูดอยู่เสมอ โดยไม่ได้หยุดคิดว่าสิ่งที่เราพูดออกไปจะถูกเข้าใจอย่างถูกต้องหรือไม่ ในความจริงแล้ว บ่อยๆครั้งที่คำพูดที่เราพูดออกไป นั่นแหละคือสิ่งที่ทำให้ลูกยิ่งไม่เชื่อฟังเราเข้าไปใหญ่ มันเป็น วิธีการเลี้ยงลูกผิด ๆ
อแมนด้า มอร์แกน (Amanda Morgan) คุณแม่และคุณครูเจ้าของบล๊อก “Not Just Cute with Amanda Morgan” ฝากเคล็ดลับมาบอก ว่าทำไมนะ ลูกๆถึงไม่เชื่อฟังเรา
ทำให้ฟังดูเหมือนพวกเขามีทางเลือก
สำหรับผู้ใหญ่แล้วนั้น เวลามีคนถามให้เราทำอะไรซักอย่างแบบอ้อมๆ เพื่อเป็นการรักษามารยาท เราจะรู้ว่าเราไม่มีตัวเลือกหรอก นอกจากจะทำตามที่คนขอมา แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการนี้มันใช้ไม่ได้กับเด็กหรอก
อย่างเช่น ถ้าคุณอยากให้เด็กๆทานข้าวเย็น แต่กลับถามว่า อยากจะทานข้าวเย็นไหม? คุณไม่ได้บอกพวกเขาให้ทำในสิ่งที่คุณอยาก แต่เป็นการให้ทางเลือกพวกเขาที่จะปฏิเสธคุณ แทนที่จะถามแบบนั้น คุณควรที่จะบอกตรงๆและใช้คำพูดทางบวกเลยมากกว่า อย่างเช่น ถึงเวลาที่จะทานข้าวเย็นแล้วนะจ๊ะ
รูปแบบที่ 1 ผู้กำกับ
พ่อแม่คอยตามดูแล กำกับ ตัดสินใจ ปกป้องลูกทุกเรื่องมากเกินไป เลี้ยงลูกผิดวิธี คอยทำสิ่งต่างๆแทนลูกไปหมดทุกอย่าง จะส่งผลให้เด็กมีลักษณะ 2 แบบ
คือแบบที่ 1 เด็กขาดความมั่นใจ ไม่กล้าคิด หรือตัดสินใจด้วยตนเอง
แบบที่ 2 มีพฤติกรรมก้าวร้าว เพราะความอึดอัด จากการที่ถูกควบคุม ดูแลใกล้ชิดมากเกินไป จนทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าว ต้องการแหกเกราะป้องกันที่ตนรู้สึกอึดอัด ทำให้ลูกไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต
คุณพ่อคุณแม่ควรจะฝึกให้ลูกดูแลตัวเองได้ เริ่มจากการทำกิจวัตรต่างๆ ของตัวเองได้ตั้งแต่เด็กๆ ให้ลูกฝึกตัดสินใจจากสิ่งเล็กๆ ให้ลูกได้มีโอกาสเจอปัญหา และอุปสรรค ให้ลูกได้ฝึกแก้ไขปัญหา เผชิญอุปสรรค
คุณพ่อคุณแม่สามารถคอยให้คำแนะนำ เมื่อเขาต้องการความช่วยเหลือจริงๆ เพื่อฝึกให้ลูกมีทักษะการดูแลตนเอง การวางแผน การตัดสินใจ และการแก้ไขปัญหาค่ะ
สิ่งเหล่านี้ จะสร้างความภูมิใจในตัวเองของลูกทำให้ลูกสามารถดูแลตัวเองได้ ในวันที่ไม่มีพ่อแม่อยู่เคียงข้างแล้วค่ะ
รูปแบบที่ 2 เลี้ยงตามใจ
ไม่ว่าคุณลูกต้องการสิ่งใด คุณพ่อคุณแม่ก็จะหามาปรนเปรอทุกอย่าง ลักษณะแบบนี้เด็กจะมีของเล่นเยอะ แต่ไม่มีวินัย ไม่รู้จักการเก็บของเล่น เพราะมีคนคอยทำ
ซึ่งความจริงแล้ว การเลี้ยงลูก ไม่จำเป็นที่จะต้องให้มีของเล่นเยอะ ต้องสอนให้ลูกรู้จัก การจัดการควบคุมความต้องการของตัวเอง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ไม่มีใครได้ทุกสิ่งที่ตัวเองต้องการ
ดังนั้น ต้องเริ่มสอนลูกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ อธิบายให้เขาใจ และเริ่มฝึกระเบียนวินัยแบบง่าย ๆ เช่นการเก็บของเล่น การทำกิจวัตรประจำวันตามเวลาที่ตกลงกัน เป็นการฝึก ในเริ่มต้น เพื่อให้ลูกเข้าใจและยอมรับกฎระเบียน กติกาของสังคมในอนาคต เมื่อเขาโตขึ้นค่ะ
รูปแบบที่ 3 เลี้ยงอวดรวย
เป็นลักษณะการเลี้ยงลูกที่มีหลายบ้าน ให้เด็กได้พักหลายบ้าน ครอบครัวมีฐานะมาก มีการใช้เงินเลี้ยงลูก จะทำให้เด็กขาดความอบอุ่น ขาดความผูกพันในครอบครัว
การเลี้ยงลูก ไม่จำเป็นต้องใช้ของหรูหรา ขอเพียงแค่เวลา จากพ่อแม่ที่ลูกต้องการ ควรเพิ่มเวลาในการอยู่กับลูก เล่นกับลูก และเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้กับลูก
รูปแบบที่ 4 ไข่ในหิน
คุณพ่อคุณแม่บางคน เป็นห่วงลูกมาก ไม่ให้วิ่งเล่น เดี๋ยวหกล้มเจ็บ ไม่ให้ทำอะไรเลย กลัวจะเป็นโน้น นี่นั้น กลัวไปหมดสารพัด เด็กจะกลายเป็นเด็กอ่อนแอ ไม่แข็งแรง และก็จะเป็นเด็กขี้โรคนะคะ
ควรให้ลูกได้เล่น ได้ออกกำลังกาย ได้มีกิจกรรมเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการอย่างเหมาะสม หากจะมีล้มบ้าง ก็ถือเป็นประสบการณ์ค่ะ
รูปแบบที่ 5 เลี้ยงเร่งเรียน
พี่แอสต้าเคยขึ้น BTS แล้วเจอเด็กตัวน้อย ๆ พูดกับคุณแม่ว่า คุณแม่ครับ ผมต้องไปเรียน คณิต อังกฤษ ว่ายน้ำต่ออีกเหรอครับ คุณแม่ครับ ผมไม่ไปเรียนได้ไหมครับ ผมเหนื่อยแล้ว พี่แอสต้านี่คิดในใจว่า โอ้โฮ เด็กตัวเล็กแค่เนี้ยะ ต้องเรียนเยอะขนาดนี้เลยเหรอเนี้ยะ บางครั้งการเร่งรัดการเรียนของลูกมากไป อาจทำให้เด็กเครียด และไม่ชื่นชอบการเรียนไปเลยก็ได้นะคะ
ถ้าหากลูกยังเด็กอยู่ ควรให้เรียนเสริมในสิ่งที่ลูกอยากเรียนจริงๆ จะดีกว่า เพราะจะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการ และทักษะความสามารถของลูก ได้ดีกว่าค่ะ
รูปแบบที่ 6 เลี้ยงแบบสปาย
ตามสืบทุกเรื่อง พ่อกับแม่ต้องรู้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นไดอารี่ แชตเฟสบุค แชตไลน์ เพื่อนสนิทในห้อง เพราะพ่อแม่มีปรัชญาที่ว่าความลับไม่มีในโลก เรื่องของลูก คือเรื่องของพ่อแม่ จะทำให้ลูกอึดอัด ขาดพื้นที่ส่วนตัว
ยิ่งจะทำให้เกิดระยะห่าง ระหว่างคุณพ่อคุณแม่ กับลูกมากยิ่งขึ้น ลูกขาดความไว้วางใจกับพ่อแม่ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้จะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว ในระยะยาวอย่างแน่นอน
ควรอยู่เคียงข้างลูก แบบเพื่อสนิท เวลาที่ลูกเล่าสิ่งใดก็ตามให้เวลา ตั้งใจฟัง ไม่ดุ ไม่บ่น และแสดงความเข้าใจลูก ถ้าหากต้องการสอนแนะนำเพิ่มเติม ให้พูดในเชิงของความแสดงความคิดเห็น การแนะนำ อย่างอ่อนโยนนะคะ จะทำให้ลูกมีความเชื่อใจ และกล้าปรึกษาเรื่องราวต่างๆกับพ่อแม่ค่ะ
รูปแบบที่ 7 เลี้ยงแบบค่ายทหาร
เป็นลักษณะการเลี้ยงที่มีกฎระเบียบ ข้อบังคับ และการลงโทษเยอะ ๆ ไปหมด จนลูก ๆ รู้สึกอึกอัด เบื่อ หรือเกิดความหวาดระแวงขึ้นมา
การสอนลูกในด้านกฎระเบียบเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากบ้านไหนมีกฎมากเกินไป ก็จะทำให้เด็กขาดความเป็นตัวของตัวเอง ควรตั้งกฎเฉพาะกับสิ่งที่จำเป็นจริงๆ เพื่อไม่ให้ลูก รู้สึกอึดอัดนะคะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ระวัง! เลี้ยงลูกแบบไทย ๆ เสี่ยงเป็นโรค”คิดว่าตัวเองไม่เก่ง” (Imposter Syndrome)
จาซินดา อาร์เดิร์น นายกรัฐมนตรีหญิง ที่บริหารประเทศไปพร้อมกับเลี้ยงลูก
เลี้ยงลูกไม่เครียด แม่มือใหม่ เลี้ยงลูกอย่างไรให้ไม่ปวดหัว เป็นซึมเศร้า
ที่มา : https://storylog.co/story/5d3696927c71b1c47537f303