14 มีนาคม วันคณิตศาสตร์โลก แต่ทำไมคนถึงเรียกว่า "พายเดย์"

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากจะให้ยกหนึ่งในวิชาที่เด็กไทยรัก และชอบมากที่สุด คงหนีไม่พ้น "วิชาคณิตศาสตร์" ที่มีความจริงจัง และมีคำตอบที่ตายตัวในแต่ละโจทย์ปัญหา และวันนี้เราจะมาพูดถึงเกร็ดสาระน่ารู้ของ วันคณิตศาสตร์โลก ที่มีข้อมูลน่าสนใจไม่แพ้วันสำคัญอื่น ๆ อย่างแน่นอน

 

วันคณิตศาสตร์โลกทำไมต้อง 14 มีนาคม ?

วันคณิตศาสตร์โลก หรือหลายคนมักคุ้นชินกับชื่อวัน "พายเดย์ (Pi day)" เจ้าสัญลักษณ์ “π” นี้เองเป็นค่าที่เกิดจากการนำความยาวของเส้นรอบวงมาหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม โดยมี "อาร์คิมีดิส" เป็นผู้ศึกษามาเป็นคนแรก ๆ นอกจากจะพบได้ในวิชาคณิตศาสตร์แล้ว ยังพบได้ในวิชาฟิสิกส์อีกด้วย และค่าประมาณของพายนั้น คือ 3.14 พอเห็นตัวเลขแบบนี้แล้ว หลายคนคงเริ่มเข้าใจขึ้นแล้ว เพราะว่าค่า 3.14 มีตัวเลขที่เหมือนกับ เดือน 3 วันที่ 14 นั่นเอง

โดยวันสำคัญนี้มาจากเหตุการณ์ที่มีตัวเลขตรงกับวันพายเดย์ แต่เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2550 ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ของบริษัท 3P Learning โดยมีนักเรียนสนใจเข้าร่วมกว่า 4 ล้านคน ถือเป็นการผลักดัน และเป็นการพัฒนาวงการตัวเลขอย่างแท้จริง

บทความที่เกี่ยวข้อง : 10 แอปเรียนคณิตศาสตร์ที่ดีที่สุด สำหรับเด็กวัยอนุบาล-ประถม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วันที่ 14 มีนาคม ไม่ใช่แค่วันคณิตศาสตร์โลกเท่านั้น

นอกจากนี้ในวันที่เรากำลังกล่าวถึงในบทความนี้ยังเป็นวันคล้ายวันเกิดของนักวิทยาศาสตร์ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี นั่นคือ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)"  ผู้คิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพ และทฤษฎีควอนตัม และผลงานอื่น ๆ อีกมากมายที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของคนยุคต่อมาอย่างปฏิเสธไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจหากจะมีคนกล่าวถึงวันที่ 14 มีนาคม ของทุกปีว่าเป็นวันที่น่าจดจำ ในวงการวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์อย่างแท้จริง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

10 เกมคณิตศาสตร์ ช่วยพัฒนาทักษะลูก เพิ่มพลังฝึกพลังสมองให้โดดเด่น

แจกฟรี ! แบบฝึกหัด คณิตศาสตร์ ป-1 ข้อสอบเข้า ป.1 ติวลูกก่อนขึ้นชั้น

6 แอปพลิเคชันสอนเลข ในไอแพด เอาไว้สำหรับสอนลูก ... ฟรี!

ที่มาข้อมูล : 1 2 3

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความโดย

Sutthilak Keawon