พลวัตของสื่อยุคใหม่ หน้าต่างสู่การสร้างสรรค์ภาวะโภชนาการสำหรับเด็กไทย

การที่โฆษณาได้รับความเชื่อมั่นจากคุณแม่สูงก็เพราะว่าชิ้นงานโฆษณานั้นก่อนจะได้รับการเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานราชการ ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เมื่อออกสู่สายตาสาธารณชนแล้ว คุณแม่ย่อมมีความเชื่อใจไปในระดับหนึ่งว่าไม่ใช่เนื้อหาที่มีการหลอกลวง ประกอบกับโฆษณาส่วนใหญ่ ได้ให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่อีกด้วย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนึ่งใน “ความท้าทาย” ที่สำนักโภชนาการ กรมอนามัย ระบุไว้ในรายงานประจำปี 2565 ประเด็น “เฝ้าระวังทางโภชนาการ” (หน้า 12) คือ การสร้างความรอบรู้สุขภาพด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการและเฝ้าระวังการเจริญเติบโตให้แก่พ่อแม่และผู้เลี้ยงดูเด็ก เพื่อให้พ่อแม่มีความรู้มากเพียงพอที่จะดูแลและให้อาหารที่เหมาะสม ถูกต้อง พอเพียง ซึ่งจะส่งเสริมให้เด็กไทยของเรา เติบโตอย่างมีคุณภาพ

 

ปัจจุบันมีช่องทางมากมายที่ช่วยส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครอง ทำให้พ่อแม่ที่มีลูกน้อย ได้รับข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ อาทิ แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก รวมทั้งผู้ผลิตอาหารสำหรับเด็กที่เผยแพร่ผลการวิจัยตลอดจนองค์ความรู้ร่วมสมัยจากทั่วโลก ช่วยให้พ่อแม่มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประเด็นนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก (Pediatric Nutrition Manufacturer Association : PNMA) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ก่อตั้งมานานกว่า 39 ปี จากการรวมตัวของธุรกิจผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก ได้ว่าจ้าง Kantar บริษัทวิจัยชั้นนำด้านข้อมูลเชิงลึกและที่ปรึกษาทางการตลาดระดับโลกทำวิจัยหัวข้อ การสำรวจรูปแบบวิธีการบริโภคและความเข้าใจของสารอาหารในเด็ก ทำให้พบข่าวดีว่าคุณแม่ชาวไทยยุคดิจิทัล มีความรู้ด้านโภชนาการสำหรับเด็กดีขึ้นเพราะเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อต่างๆ รวมทั้งมีความรู้มากเพียงพอก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กเพื่อการดูแลลูกอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย 

 

 

 

สื่อสำคัญต่อการรับรู้ ด้านโภชนาการที่ถูกต้อง

พญ.กิติมา ยุทธวงศ์ ผู้อำนวยการบริหารสมาคมผู้ผลิตอาหารทารกและเด็กเล็ก (Pediatric Nutrition Manufacturer Association : PNMA)  กล่าวว่า “ปัจจุบันยังพบปัญหาเด็กประสบปัญหาภาวะทุพโภชนาการ อาทิ มีภาวะผอมหรือภาวะอ้วน ภาวะทุพโภชนาการนี้ จะส่งผลกระทบต่อเด็กและสังคมในระยะยาว เนื่องจากปัญหานี้มีผลโดยตรงต่อการเติบโตพัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญา และยังอาจส่งผลต่อทักษะด้านอื่นของเด็กไทย ดังนั้นเราจึงตัดสินใจทำการวิจัยขึ้นเพื่อศึกษาถึงพฤติกรรม ตลอดจนทัศนคติการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของคุณแม่ที่มีลูกน้อย เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ลึกซึ้ง รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้มาบูรณาการให้เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโภชนาการสำหรับเด็กไทยต่อไป”

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

พญ.กิติมา ยังกล่าวต่ออีกว่า การเลือกสื่อหรือการใช้สื่อ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านโภชนาการสำหรับเด็กเล็ก สำคัญอย่างยิ่งสำหรับคุณแม่ในยุคปัจจุบัน ที่ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมค้นคว้าหาข้อมูลสิ่งต่างๆ ก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก ไม่ว่าจะเป็น สื่อโฆษณา รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก เว็บไซต์ ที่มีบทความให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีความน่าเชื่อถือ หากขาดสื่อเหล่านี้ไป จะทำให้ประชาชนตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะจะเหลือแหล่งข้อมูลเพียงไม่กี่แหล่งและเสี่ยงต่อการถูกหลอกด้วยวิธีการชวนเชื่ออื่น เช่น กลุ่มเฟซบุ๊ก อินฟลูเอนเซอร์  หรือเพจรีวิวสินค้าที่ไม่มีการให้ข้อเท็จจริง ที่ช่วยให้คุณแม่ตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์หรือวางแผนด้านโภชนาการได้อย่างเหมาะสม

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

งานวิจัยเผยคุณแม่ “เลือก” เชื่อใจคนที่น่าไว้ใจ

งานวิจัยล่าสุดจาก PNMA และ Kantar สำรวจคุณแม่ช่วงอายุ 18-50 ปี ที่มีลูกอายุ 1-3 ขวบปี ทั่วประเทศที่อาศัยในเขตเมืองและนอกเมือง พบว่าโฆษณาทางโทรทัศน์ ทางออนไลน์ ทางร้านค้า หรือการพูดคุย ได้รับการบอกต่อ เป็นช่องทางหลักที่คุณแม่โดยทั่วไปใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มเสริมอาหาร  โดยเฉพาะสื่อโฆษณาทางโทรทัศน์ และทางออนไลน์ เป็นช่องทางที่คุณแม่คิดว่ามีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ช่วยสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารหรือเครื่องดื่มเสริมอาหารสำหรับเด็กมากขึ้น ป้องกันการถูกหลอกให้ซื้อสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ หรือสินค้าที่ไม่เป็นที่รู้จัก

 

โดยช่องทางโฆษณาทางโทรทัศน์ มีความน่าเชื่อถือสูงมากกว่าร้อยละ 50-54 รองลงมาคือช่องทางโฆษณาออนไลน์ เช่นเฟซบุ๊ก หรือยูทูบ มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับร้อยละ 44-52 ในขณะที่โฆษณานอกบ้าน เช่นบิลบอร์ด ร้านค้า และ เพื่อน ครอบครัว หรือคนรู้จัก มีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับร้อยละ 38-44 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อนึ่ง การที่โฆษณาได้รับความเชื่อมั่นจากคุณแม่สูงก็เพราะว่าชิ้นงานโฆษณานั้นก่อนจะได้รับการเผยแพร่ จะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้เกี่ยวข้อง อาทิ หน่วยงานราชการ ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้เมื่อออกสู่สายตาสาธารณชนแล้ว คุณแม่ย่อมมีความเชื่อใจไปในระดับหนึ่งว่าไม่ใช่เนื้อหาที่มีการหลอกลวง ประกอบกับโฆษณาส่วนใหญ่ ได้ให้ความรู้ใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่อีกด้วย

 

สำหรับเรื่องข้อมูลไม่ถูกต้อง บิดเบือน หรือข่าวจำพวกเฟคนิวส์จากแหล่งข้อมูลส่วนบุคคล ร้านค้า เว็บไซต์ กลุ่มออนไลน์ หรือ เพจโซเซียลมีเดียที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ ยังคงเป็นปัญหาที่หลายฝ่ายให้ความวิตกกังวลอย่างมากเพราะข่าวลือ ความรู้ที่ไม่ถูกต้องมักจะมาจากช่องทางเหล่านี้และทำให้คุณแม่จัดการโภชนาการให้ลูกอย่างผิดวิธี

 

แต่ข่าวดีคือจากงานวิจัยล่าสุดพบว่า คุณแม่ในทุกช่วงอายุและในทุกกลุ่มระดับการศึกษา ให้ความน่าเชื่อถือกับแหล่งข้อมูลที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับโภชนาการ การดูแลเด็กโดยตรง เช่นเพจเฟซบุ๊ก อยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยที่ต่ำกว่าทุกช่องทางสื่อสาร

 

ยกตัวอย่างเช่นการรีวิวจากบล็อกเกอร์ และ อินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ คุณแม่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพให้ความเชื่อถือร้อยละ 11 ในขณะที่คุณแม่ในต่างจังหวัดนอกเขตเมืองให้ความเชื่อถือร้อยละ 2 คุณแม่ในต่างจังหวัดเขตเมืองให้ความเชื่อถือร้อยละ 24 เท่านั้น

 

กลุ่มทางโซเซียลมีเดีย ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่สุดที่คุณแม่จะรับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง คุณแม่ที่อยู่ในเขตกรุงเทพให้ความเชื่อถือเพียงร้อยละ 11 คุณแม่ในต่างจังหวัดเขตเมืองให้ความเชื่อถือร้อยละ 25 คุณแม่ในต่างจังหวัดเขตนอกเมืองให้ความเชื่อถือเพียงร้อยละ 5 เท่านั้น

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

จากผลสรุปของการวิจัย จะเห็นได้ว่าพลวัต (Dynamic) ของสื่อยุคใหม่ ช่วยให้คุณแม่ยุคดิจิทัลเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านโภชนาการสำหรับลูกได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันคุณแม่ส่วนใหญ่มีวิจารณญาณมากเพียงพอในการคัดสรรข้อมูลที่ถูกต้อง จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

 

หากหน่วยงานราชการ เอกชนตลอดจนองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร จะร่วมแรงร่วมใจสร้างสรรค์สังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ย่อมเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงสำหรับเด็กๆ ของเราที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต

 

ข้อมูลอ้างอิง สำนักงานโภชนาการ กรมอนามัย

https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2f16c/202303/m_magazine/37955/4261/file_download/13affb4dde0d884d8536cb0096eecca9.pdf

บทความโดย

theAsiaparent Thailand