8 เหตุผลที่อธิบายว่าเพราะอะไร ลูกติดอุ้มวางแล้วตื่น วางแล้วงอแง วางไม่ได้ร้องตลอด

8 เหตุผลที่อธิบายว่าเพราะอะไร ลูกติดอุ้มวางแล้วตื่น วางแล้วงอแง วางไม่ได้ร้องตลอด แต่เมื่อมันผ่านไปแล้ว จะไม่สามารถกลับมาอุ้มลูกได้อีกแล้วนะคะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

8 เหตุผลที่อธิบายว่าเพราะอะไร ลูกติดอุ้มวางแล้วตื่น วางแล้วงอแง วางไม่ได้ร้องตลอด

8 เหตุผลที่อธิบายว่าเพราะอะไร ลูกติดอุ้มวางแล้วตื่น วางแล้วงอแง วางไม่ได้ร้องตลอด อุ้มกันตลอดทั้งวัน เข้าห้องน้ำยังต้องอุ้มไปดมในห้องน้ำ จะทำกับข้าวก็ยังต้องอุ้มไปทำไป แรกๆ ก็สบาย ทำได้ แต่หลังๆ หนักขึ้นมาก ก็เริ่มจะไม่ไหวเหมือนกันนะนั่น

หนูเพิ่งเกิดมา แม่อุ้มหนูหน่อย

เวลาที่ลูกอยู่ภายในถุงน้ำคร่ำนั้น ลูกจะอยู่ในสถานที่ที่มีน้ำอุณหภูมิอุ่นกำลังดี ค่อนข้างมืด และยังไม่เคยสัมผัสกับอากาศมาก่อน เพราะภายในตัวของคุณแม่นั้นอบอุ่นและรู้สึกปลอดภัย เมื่อเทียบกับเวลาที่ออกมาสู่โลกภายนอกแล้วยิ่งเทียบกันไม่ติดค่ะ แต่สิ่งเหล่านี้นั้นมีสาเหตุค่ะ ว่าเพราะอะไรบ้าง

1.การเคลื่อนไหว

ตอนที่ลูกอยู่ในท้องคุณแม่นั้น ลูกไม่ได้นอนอยู่นิ่งๆ นะคะ เพราะคุณแม่เองก็เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา และทุกครั้งที่คุณแม่มีการเคลื่อนไหวนี้เอง ลูกก็จะเกิดการเคลื่อนไหวไปด้วย หากลูกติดอุ้มแล้วละก็ ลองใช้วิธีการเดินกล่อม เต้นไปรอบๆ บ้าน ไกวแขนไปมา หรืออุ้มนั่งรถรอบๆ หมู่บ้านก็ได้ค่ะ

2.เสียงที่ได้ยิน

ในท้องคุณแม่เสียงดังที่สุดที่ลูกจะได้ยินคือเสียงหัวใจและเสียงพูดของคุณแม่ค่ะ โดยเฉพาะเสียงหัวใจที่เต้นเป็นจังหวะ คล้ายกับเสียของเครื่องดูดฝุ่น หรือเสียงไดรเป่าผม ถ้าไม่ค่อยได้ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ เปลี่ยนเป็นเสียงไวท์นอยซ์เปิดให้ลูกฟังแทนได้นะคะ ลูกจะหลับได้เร็วขึ้นและนานขึ้นอีกด้วย

3.ท่าทางการนอน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

รู้หรือไม่ว่า ท่าทางการนอนหลับที่เด็กๆ หลับง่ายที่สุด นั่นคือท่าเสือนอนบนต้นไม้ นอกจากจะเป็นท่าที่ธรรมชาติที่สุด แล้วยังสบายที่สุดด้วยนะคะ ทำให้ลูกหยุดร้องไห้ได้ และผลอยหลับไปเร็วมากๆ เลยนะคะ

4.นมแม่

ถ้าลูกหิวนมแล้วละก็ จะอุ้มยังไงก็คงปลอบไม่ได้ นอกจากการให้กินนม แนวทางที่ดีคือให้นมลูกตอนที่ลูกหิวนม ไม่ใช่ให้ตามเวลา แต่บางทีลูกก็ขอแค่ดูดนมเพราะกระหายน้ำ ไม่ใช่หิว หรือดูดเพื่อการปลอบประโลม การดูดนมยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง เช่น ช่วยให้กระโหลกศีรษะอยู่ในรูปทรงและตำแหน่งที่ถูกต้อง และช่วยให้นมแม่ไม่เหือดหายไปค่ะ

5.จับอาบน้ำ

การลงไปแช่ให้อ่างอาบน้ำ ช่วยปลอบลูกจากการร้องไห้ได้รวดเร็วเลยละค่ะ การสัมผัสผิวต่อผิวระหว่างคุณพ่อคุณแม่กับลูกนั้น เป็นการปลอบประโลมชั้นเยี่ยมค่ะ เป็นการกระตุ้นและปลดปล่อยฮอร์โมนแห่งความสุข ออกซิโทซิน ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกเลยละค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

6.ห่อตัว

การห่อตัวในช่วงแรกคลอด จะช่วยให้เด็กๆ รู้สึกว่าเหมือนกับการอยู่ในท้องคุณแม่อีกครั้งค่ะ แต่ต้องแน่ใจว่าผ้าที่ใช้นั้นระบายอากาศได้ดีมากๆ และไม่ห่อตัวลูกจนแน่นเกินไป และไม่ห่อตัวทั้งวันจนลืมให้นมหรือมีการสัมผัสผิวต่อผิวกันบ้าง

7.เป้อุ้ม

การอุ้มด้วยแรงคุณพ่อคุณแม่นั้นบางทีก็ทำให้เมื่อยเอามากๆ เลยละค่ะ ดังนั้นเป้อุ้มหรือสลิงก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ที่ทำให้ไม่เมื่อยเกินไป และคุณพ่อคุณแม่สามารถทำอย่างอื่นต่อไปด้วยได้ค่ะ แต่ข้อควรระวังคือ ควรใช้เป้อุ้มหรือสลิงในลูกที่คอแข็งแล้ว และสามารถนั่งได้ด้วยตัวเองแล้วนะคะ

8.นอนด้วยกัน

การนอนด้วยกันกับลูกนั้น อาจจะไม่ต้องทำให้ต้องอุ้มลูกทุกครั้งที่จะกล่อมนอน เพียงแค่วางลูกไว้ข้างๆ กัน โดยปฎิบัติตามกฎการนอนด้วยกันอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ค่ะ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ที่มา HuffingtonPost

บทความที่น่าสนใจ

อย่ากลัวลูกติดอุ้ม! งานวิจัยฟันธง “รักลูกให้กอด ลูกร้องต้องรีบอุ้ม”

ลูกติดอุ้ม หลับยาก วางก็ร้อง คุณแม่เหนื่อยเหลือเกิน มีใครช่วยได้บ้าง