ในวันที่เสียพ่อ สอนลูกรับมือกับความสูญเสียยังไง ในวันที่เราก็ต่างสูญเสีย

ในวันที่เสียพ่อ สอนลูกรับมือกับความสูญเสียยังไง ในวันที่เราก็ต่างสูญเสีย มันไม่เคยเป็นเรื่องง่ายกับเรื่องแบบนี้ แต่มันก็จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เช่นกัน

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ในวันที่เสียพ่อ สอนลูกรับมือกับความสูญเสียยังไง ในวันที่เราก็ต่างสูญเสีย

ในวันที่เสียพ่อ ควรสอนลูกรับมือ กับความสูญเสียยังไง ในวันที่เราก็ต่างสูญเสีย

ครอบครัวควรสอนลูก ให้รับมือกับความสูญเสียยังไง ในวันที่เสียพ่อ ในวันที่เราก็ต่างสูญเสีย การจากไปไม่เคยทำให้ใครรู้สึกดี แต่เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน และรับมือกับเหตุการณ์นั้นให้ได้ กับเด็ก ๆ ก็เช่นกันนะคะ

วันที่ลูกเสียพ่อไป อย่างไม่มีวันกลับ

มันเป็นวันที่เหมือน ๆ กับวันอื่น เพียงแต่ผมไม่เคยมีความรู้สึกอย่างนี้มาก่อนเท่านั้นเอง เวลาที่อยู่กับพ่อ ทุกสิ่งทุกอย่างมันถูกต้องไปเสียหมด พ่อของผมเป็นวิศวกร ที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีไอเดียที่น่าตื่นเต้นมากมาย ตลอดระยะเวลาที่ผมโตขึ้นมา ผมเห็นพ่อสร้างของต่างๆ ขึ้นมาชิ้นแล้วชิ้นเล่ารอบๆ ตัวของผม

ความฝันของผม มันผนวกเข้ากับความชอบที่ได้เฝ้ามองพ่อทำงานมาตลอด ผมคิดเอาไว้ว่าหลังจากที่ผมจบมัธยมและมหาวิทยาลัยทางด้านสถาปนิก ผมพร้อมแล้วที่จะทำงานไปเคียงข้างกับพ่อ แต่ในวันที่พ่อจากไปอย่างไม่มีวันกลับมาอีก ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผมเคยดิ้นรนเสมอมา แสงสว่างแห่งความฝันที่สวยงาม ก็หรี่มืดลง และจางหายไปในที่สุด แม้ว่าจะยังไม่ได้ฝังศพของพ่อเลยก็ตาม

ชีวิตที่ขาดเข็มทิศ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

งานสถาปนิก จำเป็นต้องมีเรื่องตัวเลขเข้ามาเกี่ยว แต่ผมก็ไม่ได้เก่งเลขเอาเสียเลย ยิ่งในเมื่อพ่อก็ไม่ได้อยู่ช่วยแล้วด้วย เส้นทางเดินชีวิตของผมจึงต้องเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในช่วงที่จบใหม่ผมทำหลายอย่าง แต่นั่นมันก็ยังไม่ใช่เส้นทางเดินที่ผมต้องการ หลังจากผ่านไปหลายปี ผมตัดสินใจเดินทาง และอาศัยอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ ตอนนี้ผมทำแมกกาซีน นั่นคือสิ่งที่ผมไม่เคยทำมาก่อน มันคือเส้นทางชีวิตใหม่ ที่น่าตื่นเต้น ที่เจอความท้าทาย

ผมอยู่มานาน นานกว่าทั้งพ่อและแม่ และที่แน่ ๆ ก็นานกว่าน้องชาย ผมตระหนักถึงการใช้ชีวิต และการดับสูญที่ไม่มีการเตือนล่วงหน้า แน่นอนผมไม่โทษเรื่องชะตากรรม เมื่อผมแก่ลง ผมก็เรียนรู้บางอย่าง อย่างการตัดสินใจในทุกก้าวย่างในชีวิต

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เวลาที่อยู่กับพ่อ ทุกสิ่งทุกอย่างมันถูกต้องไปเสียหมด

เส้นทางที่ต่างออกไป

หลาย ๆ คน แม้ว่าคนที่นับถือหรือพ่อแม่ต่างเสียชีวิตกันไป ความฝันของพวกเขายังแจ่มชัดและยังคงมีเรี่ยวแรงไล่ตามฝันนั้นต่อไป ใช่ ถ้าผมอยากเป็นสถาปนิกจริง ๆ ทุกวันนี้ผมจะต้องหาทางเป็นสิ่งที่อยากเป็นให้ได้

วันที่พ่อเสีย มันทำให้ผมไม่ใช่คน ๆ เดิมอีกต่อไป ความฝันนั้นคงเป็นฝันที่เป็นจริง ถ้าเป็นในชีวิตอื่น แต่มันไม่ใช่ชีวิตตอนนี้ของผม การมีความฝันไม่ใช่เรื่องที่ผิด การเปลี่ยนแปลงความฝันก็เช่นกัน มันเกิดขึ้นได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย่างไรก็ตาม ถ้าฝันของคุณมันเด่นชัด อย่าเสียเวลาไปกับการคิดว่า ถ้าหาก หรือ บางที เพราะแม้ชีวิตเราจะไม่ได้ดั่งใจไปเสียทุกอย่าง หากยังไม่รู้ว่าชีวิตจะเป็นไปในทิศทางใด ก็ขอให้ลองในสิ่งที่อยากลองไปก่อน อย่างไรเสียพ่อก็คือคนที่ให้ชีวิตผมมา แม้ว่าตอนพ่อเสียพ่อจะเอาอะไรบางอย่างไปด้วยก็ตาม แต่จงทำชีวิตของคุณในแบบที่คุณอยากจะใช้ชีวิตทุกวันบนโลกใบนี้ เพราะคุณก็ไม่รู้จริงๆ หรอกว่า จะมีเวลาอยู่อีกกี่วันเดือนปีกัน

หากยังไม่รู้ว่าชีวิตจะเป็นไปในทิศทางใด ก็ขอให้ลองในสิ่งที่อยากลองไปก่อน

สอนลูกรับมือเรื่องความสูญเสีย

พญ.เพียงทิพย์ หังสพฤกษ์ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็ก และวัยรุ่นจากโรงพยาบาลมนารมย์ แนะนำว่าเมื่อเจ้าตัวเล็กต้องเผชิญกับความตาย เช่น การจากไปของคุณพ่อ คุณแม่ หรือแม้กระทั่งสัตว์เลี้ยงแสนรัก การสร้างเรื่องบิดเบือนลูกเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ แต่การให้เหตุผลว่าทำไมคน หรือสัตว์ต้องตายเป็นสิ่งที่ดี

ฉะนั้นการบอกลูกเรื่อง “ความตาย” พ่อแม่ควรเล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นให้ลูกฟังก่อนว่ามีเหตุการณ์อะไรบ้างที่เชื่อมโยงไปสู่การตาย เช่น วันหนึ่งลูกสุนัขตัวโปรดของลูกถูกรถชนตาย แทนที่จะบอกลูกในตอนที่มันแย่ที่สุดว่า “วันนี้แม่มีเรื่องเศร้ามาบอก ลูกหมาของลูกตายแล้วนะ” แต่ควรจะค่อย ๆ เล่าเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นจนจบให้ลูกฟังอย่างเข้าใจ ซึ่งการบอกในลักษณะนี้ จะทำให้เด็กตั้งรับทัน และเกิดข้อสงสัยเกี่ยวการตายของลูกสุนัขน้อยลง

พ่อแม่ต้องจัดการตัวเองก่อน

“การพูดกับลูก หรือบอกลูกเรื่องความตาย คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ดีก่อน เพราะบางคนบอกเด็กด้วยความฟูมฟาย ร้องห่มร้องไห้ นั่นจะทำให้เด็กไม่เข้าใจ และเกิดความกลัวได้ ซึ่งเด็กแต่ละวัยเข้าใจเรื่องความตายต่างกัน โดยเด็กหลังจาก 9 ขวบไปแล้วจะเริ่มเข้าใจความตายเทียบเท่ากับผู้ใหญ่”

อย่างไรก็ดี การตอบคำถามเรื่องความตายกับลูก พ่อแม่ หรือผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดกับเด็ก ไม่ควรแสดงทัศนคติเกี่ยวกับความตายมากจนเกินไป เช่น การที่ลูกเห็นท่านย่าในละครตายจากไป แล้วหันมาถามว่า แล้วคุณย่าของเขาจะตายหรือเปล่า ในฐานะพ่อแม่ไม่ควรหันไปดุ หรือตำหนิลูก เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกไม่ดีตามมาได้

“ถ้าลูกสงสัยก็อธิบายให้ลูกฟังแค่จุดตรงนั้น เช่น เด็กถามว่า คุณย่าของเขาจะตายเหมือนท่านย่าในละครหรือเปล่า เราก็แค่ถามต่อไปว่า ทำไมหนูถึงถามแบบนั้นล่ะ ถ้าเด็กตอบว่า ก็หนูกลัวไม่มีคนซื้อไอศกรีมให้กิน คุณก็แค่ตอบไปง่าย ๆ ว่า หนูก็ยังมีแม่กับพ่อคอยซื้อให้กินไงจ้ะ ซึ่งไม่จำเป็นต้องพูดถึงเรื่องความตายด้วยซ้ำ แต่ถ้าลูกยังถามต่อไปว่า ทุกคนต้องตายด้วยเหรอ เราอาจจะคุยกันตามจริงไปเลยว่า ใช่ลูก สักวันหนึ่งคนเราก็ต้องตายไป ไม่มีใครอยู่ได้ตลอด เพราะไม่เช่นนั้นคนจะล้นประเทศ” จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นขยายภาพ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ความตายคือธรรมชาติ ไม่ใช่ ดีหรือไม่ดี

ความตายคือธรรมชาติ ไม่ใช่ ดีหรือไม่ดี

แต่ในทางกลับกัน การพูดเรื่องความตายให้ดูดีมากเกินไป อาจเป็นผลร้ายกับเด็กได้ โดยจิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นท่านนี้ ยกตัวอย่างว่า การพูดกับลูกบ่อย ๆ ว่าการตายทำให้เราหลุดพ้นจากความทุกข์ หรือตายแล้วจะไปสบาย สำหรับเด็กบางคน อาจยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ดีพอ และคงคาดเดาไม่ได้ว่า หากวันหนึ่งลูกถูกเพื่อนแกล้ง แล้วอยากจะฆ่าตัวตายเพื่อการหลุดพ้นอย่างที่คุณพ่อคุณแม่บอก เป็นสิ่งที่ไม่อาจทราบได้ ดังนั้นจึงต้องระวังในเรื่องนี้ด้วย

นอกจากนี้ การพูดเรื่องความตายกับเด็ก บางเหตุผลสามารถใช้ได้ดี ในขณะที่บางเหตุผลคุณพ่อคุณแม่ควรจะหลีกเลี่ยงด้วย เช่น เปรียบเทียบความตายกับการนอนหลับ เพราะลูกจะไม่อยากนอน เนื่องจากกลัวว่า ถ้านอนไปแล้วจะไม่ตื่น และจะเหมารวมไม่อยากให้พ่อแม่หลับไปด้วย เพราะเขาเชื่อไปแล้วว่า ถ้าพ่อแม่หลับไป จะไม่ตื่นมาอยู่กับเขา

อย่าเอาความตายมาขู่

หรือการเอาเรื่องความตายมาบังคับ หรือข่มขู่เด็ก เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน เช่น “ทำไมลูกดื้อแบบนี้ อยากให้พ่อแม่ตายเร็ว ๆ หรืออย่างไร” ซึ่งการพูดถึงความตายในลักษณะของความข่มขู่ น่ากลัว หรือเจ็บปวด หรือพูดว่าความตายเป็นเหมือนการทอดทิ้งถูกลืม จะทำให้เด็กรู้สึกว่ามันน่ากลัว และรู้สึกผิดได้

“เรื่องนี้หมอเจอบ่อย เพราะการที่พ่อแม่เอาเรื่องแบบนี้มาขู่เด็กจะทำให้เด็กเชื่อฟัง แต่หารู้ไม่ว่าวิธีเหล่านี้ จะทำให้เด็กกลัว และรู้สึกผิดได้ แล้วถ้าเกิดสมมติว่า วันหนึ่งพ่อแม่ตายขึ้นมาจริง ๆ เด็กอาจนำมาเชื่อมโยงได้ว่า เขาเป็นคนทำให้พ่อแม่ตาย เพราะว่าตัวเขาดื้อ ส่งผลร้ายต่อสภาพจิตใจเด็กตามมาได้สูง” จิตแพทย์เด็ก และวัยรุ่นรายนี้กล่าวเตือน

ดังนั้นการบอกเรื่องความตาย หรือความสูญเสียกับลูกเป็นสิ่งที่ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หากใช้อารมณ์ ตลอดจนเหตุผลที่ดี และเหมาะสม ไม่พูดบิดเบือนความจริงเรื่องความตาย เพราะการโกหก หรือหยิบยกเรื่องราวต่าง ๆ มาปิดบังเด็ก วันหนึ่งหากเด็กรู้ความจริง จะยิ่งเป็นการทำร้ายจิตใจให้รู้สึกไม่ดี และยากที่จะฟื้นจิตใจของเด็กให้กลับคืนมาได้

การเอาความตายมาขู่ จะทำให้เด็กกลัว และรู้สึกผิดได้ หากวันหนึ่งพ่อแม่ตายขึ้นมาจริง ๆ

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

ที่มา goodmenproject และ ผู้จัดการออนไลน์

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เช็คลิสต์ 10 ข้อ ของซิงเกิลมัม/เเด๊ด ก่อนจะมีสามี/ภรรยาใหม่

ซิงเกิ้ลมัม – ซิงเกิ้ลแด๊ด เลี้ยงลูกไม่ให้รู้สึก “ขาด”

คาถาขับรถปลอดภัย คาถาเดินทางปลอดภัยสั้น ๆ บทสวดมนต์ขับรถปลอดภัย