ลูกเริ่มหัดเดิน ตอนกี่เดือน ? เมื่อไหร่ลูกถึงตั้งไข่ พ่อแม่จะรู้ได้อย่างไร ?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หนึ่งในพัฒนาการที่สำคัญสำหรับลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ต่างรอคอยที่จะได้เห็น นั่นก็คือการฝึกลุกนั่ง และการเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายที่มีประสิทธิภาพ ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนต่างก็สงสัยว่า ลูกเริ่มหัดเดิน ตอนกี่เดือน ? แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกของเราควรที่จะเริ่มหัดเดินแล้ว และหากฝึกเดินช้า นั่นหมายความว่า เด็กมีพัฒนาการที่ช้าไปหรือไม่ มาแก้ข้อสงสัยไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

 

ลูกเริ่มหัดเดิน ตอนกี่เดือน ? พ่อแม่จะรู้ได้ยังไง ?

ลูกเดินได้ตอนกี่เดือน ? เมื่อไหร่ลูกถึงจะเริ่มเดิน ? ปกติแล้วทารกจะเริ่มหัดเดินเมื่อมีความพร้อมทางด้านร่างกายค่ะ ถ้าถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าลูกเราพร้อมแล้วหรือยัง คุณพ่อคุณแม่จะสามารถสังเกตได้จากการแสดงพฤติกรรมออกมา แต่ถ้าพ่อแม่อยากให้ลูกเดินได้เร็ว ๆ ก็สามารถทำได้ด้วยการไม่อุ้มลูกบ่อย ปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสได้คลาน หรือยืนด้วยตัวเองบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้มีพัฒนาการทักษะด้านการเคลื่อนไหว และการเสริมสร้างกล้ามเนื้อค่ะ

 

ลูกจะเริ่มตั้งไข่ได้เมื่อไหร่

ในช่วงขวบปีแรก ลูกน้อยของคุณจะเรียนรู้การทำให้ร่างกายสมดุล รวมถึงการควบคุมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เริ่มแรกทารกจะพยายามทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ ศีรษะ ไหล่ และลำตัวให้มั่นคง แข็งแรง จากนั้นก็จะเริ่มใช้แขน และกล้ามเนื้อมือให้มีความชำนาญมากขึ้น ก่อนที่จะไปพัฒนาบริเวณสะโพก ต้นขา เข่า ทำให้ลูกน้อยเริ่มคลานได้

พอลูกน้อยอายุประมาณ 9 – 10 เดือน ลูกน้อยจะเริ่มนั่งได้นานขึ้น ด้วยการใช้มืออีกข้างพยุงตัวเองไว้ ถัดไปอีก 3 – 6 เดือน ลูกน้อยของคุณ ก็จะเริ่มฝึกหัดตั้งไข่  และเริ่มเดินในที่สุด

สำหรับพ่อแม่คนไหนที่กังวลว่าลูกเราจะมีพัฒนาการช้าไปหรือเปล่า แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเด็กดูว่า ลูกของคุณมีพัฒนาการที่ปกติดีหรือไม่ หรือจะลองเช็กตารางพัฒนาการเด็กได้ตามนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ช่วงอายุ 12-18 เดือน มีอะไรบ้าง?

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

สัญญาณที่ลูกบอกว่าจะเดินแล้วนะ

  • คลานเหมือนปู

เมื่อลูกน้อยของคุณพร้อมที่จะเดิน เขาจะพยายามใช้มือข้างเดียวในการคลาน ส่วนขาอีกข้างก็จะตั้งชันเข่าขึ้นข้างหนึ่ง แล้วไถก้นไปตามมือ

  • ปีนบันได

บ้านของคุณมีบันไดไหม ? ถ้ามี… ลองแอบสังเกตดูสิคะว่า ลูกของคุณเริ่มที่จะใช้มือปีนป่ายขึ้นบันไดเองได้แล้วหรือยัง แต่สิ่งที่สำคัญ คุณจะต้องคอยระวังอย่าให้ลูกตกบันไดด้วยนะคะ เด็กในช่วงนี้กำลังฝึกความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของร่างกาย และกำลังท้าทายความสามารถใหม่ ๆ ของตนเอง

  • จับยึดเฟอร์นิเจอร์

เมื่อไหร่ที่เห็นว่าทารกเริ่มที่จะเดิน จุดสังเกตที่ง่ายที่สุด คือ ลูกน้อยพยายามที่จะจับเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว เพื่อดึงตัวเองให้ลุกขึ้นยืน ช่วงนี้ทารกจะเริ่มเสริมสร้างกล้ามเนื้อเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการรองรับน้ำหนักของตัวเองอยู่ค่ะ

  • เกาะเฟอร์นิเจอร์เดิน

หลังจากที่ตัวเด็กสามารถยืน หรือทรงตัวได้แล้ว ลูกน้อยจะเริ่มเรียนรู้ที่จะถ่ายโอนน้ำหนักจากเท้าข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง ในระยะนี้ทำให้เขายังต้องอาศัยการเกาะเฟอร์นิเจอร์ใกล้ตัว เพื่อพยุงตัวเองให้เดินไปเรื่อย ๆ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : แพทย์ตอบข้อสงสัย ทำไมถึงไม่ควรใช้ รถหัดเดิน ในเด็กที่กำลังหัดเดิน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

พัฒนาการด้านการเดินของทารก

  • ทารกจะเริ่มยืดตัวเองขึ้น และพยายามยืนอยู่กับที่ ช่วงอายุ 9 – 12 เดือน
  • จากนั้นจะเริ่มเกาะเฟอร์นิเจอร์เดินไปเรื่อย ๆ ช่วงอายุ 9 – 13 เดือน
  • ลุกขึ้นยืนด้วยตัวเอง โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยยึดจับ ช่วงอายุ 9 – 14 เดือน
  • สุดท้ายจะเดินได้เมื่อมีอายุ 10 – 15 เดือน

ช่วงอายุข้างต้น เป็นเพียงช่วงอายุเฉลี่ยที่เด็กทำได้ ซึ่งเด็กแต่ละคนย่อมมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ลูกของคุณอาจจะเดินได้เร็วหรือช้ากว่านี้ก็ได้

 

การช่วยให้ลูกน้อยเดินได้ดี และเร็วขึ้น

การหัดเดินเป็นความพยายามที่จะเรียนรู้ในการพัฒนาศักยภาพทางด้านต่าง ๆ ของร่างกายด้วยตัวของเด็กเอง แต่คุณพ่อคุณแม่เอง ก็สามารถมีส่วนช่วยสนับสนุนในการหัดเดินของลูกคุณได้อีกด้วย เช่น

  • ไม่อุ้มลูกบ่อยจนเกินไป จนลูกไม่มีโอกาสในการฝึกเดิน หรือพัฒนาการศักยภาพกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
  • การจัดพื้นที่ให้โล่ง เหมาะสำหรับการฝึกเดินที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก หรืออาจมีแผ่นยางปูรองกันกระแทก (แต่ไม่ควรนิ่มจนเกินไป)
  • ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่ไม่ใช่การสปอยเด็ก การดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่าง ๆ เช่นการล้มกระแทก หล่นบันได จนทำให้เด็กเกิดความระแวงในการฝึกฝนพัฒนาตนเอง
  • การให้เด็กฝึกเดินด้วยเท้าเปล่าเพื่อให้รู้จักการลงน้ำหนักที่เท้าก่อน แล้วค่อยสวมใส่รองเท้าให้กับเด็ก
  • พยายามเลี่ยงการใช้รถหัดเดิน หรือตัวช่วยในการพยุงตัว แม้ของเล่นต่าง ๆ ดูเหมือนจะช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับเด็ก แต่ในทางตรงกันข้าม สิ่งเหล่านี้ ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ทักษะการทิ้งน้ำหนักตัวลงบนฝ่าเท้าได้อย่างถูกต้อง

สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเพียงบางส่วนที่ผู้ปกครองอย่างเรา จะสามารถช่วยสนับสนุนลูกน้อย ให้มีพัฒนาการในการฝึกเดินได้ไวมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว องค์ประกอบอื่น ๆ ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ มีความแข็งแรงสมบูรณ์ เป็นต้น

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกหัดเดินแล้วล้มบ่อย ลูกล้ม ปัญหาเล็ก ๆ ที่ส่งสัญญาณเตือนภัย ให้กับพ่อแม่

การพัฒนาเด็กวัยหัดเดิน 2-3 ปี พัฒนาของเด็กวัยหัดเดินมีอะไรบ้าง?

การเคลื่อนไหว อารมณ์และการเล่น มีผลอย่างไรกับพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน

ที่มา : familyeducation

บทความโดย

Khunsiri