คนเป็นพ่อเป็นแม่คงอดไม่ได้ที่อยากจะรู้ว่าพัฒนาการแต่ละขั้นของลูกน้อยมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อไหร่ เช่น ยิ้มครั้งแรก หัวเราะครั้งแรก เริ่มคลาน เริ่มวิ่ง หรือแม้แต่อยากจะรู้ว่าลูกนั่งได้ตอนกี่เดือน สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนสัญญาณบอกพ่อแม่ว่า ทารกมีพัฒนาการตามปกติหรือล่าช้าหรือไม่ หาก ลูกไม่ยอมนั่ง นั่งเองได้ช้า พ่อแม่จึงควรรู้ว่าวิธีนั่งแบบไหน ที่จะช่วยเสริมให้พวกเขาพัฒนาการเร็วขึ้นได้ ดังนั้นอย่าพึ่งกังวลใจไปนะคะหากลูกไม่ยอมนั่ง วันนี้เรามีวิธีแก้ปัญหามาฝากค่ะ
ทารกเริ่มนั่งเมื่อไหร่
โดยปกติแล้วทารกจะเริ่มนั่งในช่วงวัย 4-7 เดือน ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กแต่ละคน พอเข้าสู่ช่วง 8 เดือน น้อง ๆ จะสามารถเริ่มนั่งเองได้แล้ว แต่อาจต้องให้พ่อแม่ช่วยพยุงหลังหรือจับตัวลูกไว้สักหน่อย เพื่อปรับสมดุลร่างกายของกับลูกน้อยค่ะ
ลูกไม่ยอมนั่ง ผิดปกติไหม
โดยปกติแล้ว เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ไม่เท่ากัน ในเด็กบางคนเมื่อเข้าเดือน 5 ก็เริ่มนั่งแล้ว แต่ในเด็กบางคนเข้าเดือนที่ 6 หรือ 7 แล้วก็ยังไม่ยอมลุกมานั่ง แต่หากมีการพัฒนาด้านอื่นดีขึ้น ก็อาจจะต้องคอยดูกันไปเรื่อยๆ ก่อนว่าจะมีแนวโน้มที่จะให้ลูกลุกขึ้นมานั่งได้หรือไม่
โดยส่วนใหญ่แล้ว เมื่อเด็กคอเริ่มแข็ง เพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักของศีรษะได้ การลุกขึ้นมานั่งเล่นของเล่นก็จะสนุกกว่าที่เด็กได้แต่นอนเพียงอย่างเดียว เพราะฉะนั้นการมีของเล่นมาหลอกล่อ ให้ลูกอยากลุกขึ้นมาหัดนั่ง ก็จะเป็นการดีที่จะช่วยกระตุ้นการพัฒนากล้ามเนื้อของลูกได้
แต่หากวัยของลูกเลยไปจนถึง 9-10 เดือนแล้ว ลูกยังนั่งด้วยตัวเองไม่ได้ นั่นก็อาจจะเกิดจากสาเหตุ จากกล้ามเนื้อมัดใหญ่บริเวณหลังมีความผิดปกติ ซึ่งเกิดจากปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรง และอาจส่งผลเสียต่อการพัฒนาการด้านอื่นต่อไปได้ ดังนั้นต้องรีบนำลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและหาทางแก้ไขกันต่อไป
ควรฝึกลูกนั่งอายุเท่าไหร่
พ่อแม่อาจจะฝึกให้ลูกได้นั่งเมื่ออายุประมาณ 3-5 เดือนค่ะ ซึ่งน้องอาจมีการโอนเอนบ้างเพราะว่ากล้ามเนื้อหลังและคอยังไม่ค่อยแข็งแรงเท่าที่ควร พอถึง 6 เดือน น้องก็จะนั่งทรงตัวได้ดีขึ้นค่ะ แต่ถ้าลูกน้อยอายุ 9 เดือนแล้ว ยังไม่สามารถลุกนั่งได้เลย อาจเป็นเพราะคุณให้ลูกนอนมากเกินไปนั่นเองค่ะ
หากพ่อแม่สังเกตเห็นว่าลูกน้อยเริ่มคอแข็งแล้ว อาจจะกระตุ้นให้ลูกน้อยนั่งโดยการให้ทารกนั่งบนรถเข็นบ้าง หรือนั่งตักบ้าง เนื่องจากการนั่งรถเข็นเป็นการกระตุ้นความสนใจของลูกน้อยได้ดีอย่างหนึ่งเลยทีเดียวค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากฝึกลูกนั่งกระโถนต้องเริ่มอย่างไร และควรเริ่มฝึกลูกตั้งแต่อายุเท่าไหร่ดี?
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกพร้อมนั่งแล้ว
ลูกน้อยจะเริ่มคอแข็งเมื่ออายุได้ 4 เดือน คุณพ่อคุณแม่อาจมีส่วนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อส่วนคอด้วยการเล่นกับลูกรัก วิธีการคือ จับลูกนั่งตรง จากนั้นจับแขนลูกทั้งสองข้างแล้วเอนตัวทารกไปด้านหลังเล็กน้อย ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ โดยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำหน้าทะเล้นหรือเสียงตลก เพื่อเรียกเสียงหัวเราะให้กับลูกน้อยเพิ่มเติมด้วยก็ได้นะคะ
หากคุณพ่อคุณแม่พยายามเห็นว่าลูกพลิกตัว สามารถใช้เก้าอี้ช่วยนั่งของเด็กได้ และพยายามจับให้พวกเขานั่งหลังตรงให้ได้นะคะ ไม่เช่นนั้นลูกอาจหลังค่อมตามมา ทำให้เสียบุคลิกภาพในตอนโตได้ ทั้งนี้เก้าอี้ช่วยนั่งถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสมกับสรีระของเด็ก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงสามารถให้ลูกนั่งพื้น และเก้าอี้สลับกันได้เลยค่ะ เพื่อสร้างความหลากหลายให้พวกเขาได้คุ้นชิน
ทำอย่างไรเมื่อ ลูกไม่ยอมนั่ง
- เมื่อลูกอายุได้ประมาณ 3-6 เดือน ให้พ่อแม่จับลูกมานั่งบนตัก โดยเริ่มจากส่วนบนของร่างกายก่อนแล้วค่อยมาที่สะโพก
- พออายุราว ๆ 4-5 เดือน ให้ลองเปลี่ยนให้ลูกน้อยมานั่งที่ระหว่างขอของพ่อแม่ดูบ้าง เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยนั่งได้อย่างปลอดภัย
- จากนั้นฝึกให้ลูกนั่งบนเก้าอี้ โดยที่พ่อแม่อาจวางของเล่นที่น่าสนใจไว้บนนั้น เพื่อให้ลูกคว้าของเล่นไปเล่นเอง ซึ่งเป็นวิธีการที่จะให้ลูกน้อยได้ฝึกพัฒนาการด้านอื่น ๆ ด้วย
- จับลูกนั่งเองแล้วนำหมอนมาวางไว้ข้าง ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกล้มหัวฟาดพื้น แต่ระวังหมอนที่เลื่อนออกไปได้ง่าย
- อย่าลืมกางแขนทั้งสองข้างไว้รองรับลูกน้อย เวลาที่เขานั่งโอนเอียงเหมือนจะล้มนะคะ
- พยายามขยับเฟอร์นิเจอร์มาใกล้ ๆ ลูก เพื่อให้พวกเขามีที่เกาะเดินรอบห้อง และคอยเฝ้ามองอยู่ห่าง ๆ
บทความที่เกี่ยวข้อง : เด็ก4เดือนจับนั่งได้มั้ย กลิ้งไปกลิ้งมาอยู่หลายเดือน ถึงเวลาหรือยังที่จะจับลูกนั่ง ฝึกนั่งตอนกี่เดือนถึงได้ผล
วิธีการฝึกลูกนั่งที่ควรทำ
1. ฝึกให้ลูกนอนคว่ำ ในเวลาที่ลูกน้อยยังตื่นอยู่ หากคุณแม่จับลูกนอนคว่ำจะเป็นการช่วยให้ลูกมีกล้ามเนื้อคอ กล้ามเนื้อท้องและกล้ามเนื้อหลังที่แข็งแรงขึ้น โดยเป็นพื้นฐานที่ดีที่จะพัฒนาไปสู่การลุกนั่งได้เองต่อไป
2. ประคองลูกนั่ง หากลูกน้อยสามารถควบคุมศีรษะให้ยกขึ้นได้อย่างมั่นคง คุณแม่ก็อาจจะฝึกลูกให้นั่งโดยคุณแม่ประคองหรือ ใช้หมอนมาหนุนรอบตัวลูกรวมทั้งหนุนที่หลังลูกด้วย เพื่อให้ลูกอยู่ในท่านั่งได้นานขึ้นและเป็นการฝึกให้ลูกเกิดความเคยชิน
3. จับแขนหรือดึงตัวลูกให้ลุกขึ้นนั่ง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ลูกลุกนั่งได้ง่ายขึ้น โดยให้คุณแม่จับลูกหันหลังให้แม่ ใช้ขามาหนีบขาลูกไว้แล้วจับแขนลูกให้ลุกขึ้น เหมือนท่าลุกนั่งในผู้ใหญ่ แต่ต้องทำอย่างระมัดระวังด้วย และควรทำเมื่อลูกมีอายุ 5 เดือนขึ้นไปเท่านั้น
4. ปล่อยลูกให้เล่นบนพื้น ควรปล่อยให้ลูกได้มีโอกาสเล่นที่พื้นบ้าง อาจมีการใช้เบาะรองนั่ง กันลูกหกล้มหัวฟาดพื้น อีกทั้งการให้ลูกได้เล่นบนพื้นจะทำให้ลูกมีพัฒนาการในการนั่งได้ดีกว่าการให้ลูกอยู่บนที่นอนหรืออยู่ในเปลอย่างเดียว
5. พาลูกไปเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน เพื่อเขาจะได้เห็นเพื่อนแล้วมีแรงกระตุ้นอยากจะลุกขึ้นมาเล่นกับเพื่อน ซึ่งหากเพื่อนนั่งเองได้แล้วก็จะเป็นตัวช่วยอย่างดี ที่จะทำให้ลูกรักของคุณเกิดการเรียนรู้ที่จะทำตามบ้างนั่นเอง
เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเป็นห่วงเมื่อ ทารกไม่ยอมนั่ง หรือนั่งไม่ถูกวิธี นั่งได้ช้า ดังนั้นจึงควรเริ่มฝึกพวกเขาให้นั่งอย่างถูกต้องเสมอ ที่สำคัญคือไม่ควรกดดัน หรือบังคับให้ลูกมาฝึกนั่งเร็ว ๆ ควรรอให้ลูกมีความพร้อม และคอยเฝ้าระวัง ส่งเสริมให้พวกเขานั่งให้ถูกวิธี เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ลูกน้อยสามารถนั่งได้รวดเร็ว และถูกวิธีค่ะ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ทารกไม่ยอมนอน ตื่นกลางดึกบ่อย พ่อแม่รับมืออย่างไรดี?
ลูกร้องไห้ไม่หยุดรับมืออย่างไร ? ร้องไห้แบบไหนเข้าข่าย โคลิค
5 วิธีสอนลูกนั่งกระโถน ลูกชอบถ่ายใส่ผ้าอ้อม ไม่ยอมเข้าห้องน้ำทำไงดี?
ที่มา : parenting.firstcry, babyhillsthailand