คำศัพท์ใหม่ที่สายการตลาดต้องรู้ เพื่อปรับแผนการตลาดของแบรนด์ให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย โดยในปัจจุบันการโปรโมตสินค้าถูกเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Facebook Instagram หรือ Tiktok ที่กำลังฮิตเป็นกระแสในช่วงปีที่ผ่านมา และได้รับกระแสตอบรับอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเรามาเรียนรู้กันกดีกว่าว่า Influencer Marketing คืออะไร สามารถทำได้อย่างไรบ้าง?
Influencer Marketing คืออะไร
การตลาดรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์ หรือ Influencer Marketing เป็นการทำการตลาดระหว่างแบรนด์ทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายใดกลุ่มเป้าหมายหนึ่ง โดยจะโปรโมตผ่านสังคมออนไลน์ต่าง ๆ อาทิ Facebook Instagram และ YouTube เป็นต้น ซึ่งการตลาดรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์เป็นมากกว่าการนำบุคคลที่มีชื่อเสียงมาทำการตลาด แต่เป็นการทำให้คนรู้จักแบรนด์ผ่านผู้ที่เป็นที่น่าเชื่อถือสำหรับสังคมหนึ่ง หรือกลุ่มบุคคลที่มีความชื่นชอบและสนใจในสิ่งเดียวกัน นอกจากนี้ยังผู้บริโภคยังสามารถเรียนรู้ หรือแลกเปลี่ยนความสนใจของตนเองกับอินฟลูเอนเซอร์ เพื่อเป็นการเพิ่มยอดการเข้าถึงได้อีกด้วย
อินฟลูเอนเซอร์ ต่างจาก KOL อย่างไร
Influencer หรือ อินฟลูเอนเซอร์ คือผู้ที่มีอิทธิพลที่เป็นตัวกลางในการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งเด็ก Gen Z ที่เติบโตมาพร้อมกับสังคมออนไลน์ ซึ่งหลายคนมักสงสัยว่า อินฟลูเอนเซอร์ ต่างจาก KOL อย่างไร ในความเป็นจริงแล้ว KOL เป็นหนึ่งในการตลาดรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) นั่นเอง โดย KOL หรือ Key Opinion Leader นับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่บรรดานักการตลาดนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในยุคปัจจุบัน โดยเราอาจจัดประเภทของการทำการตลาดด้วย KOL ว่าเป็นการใช้งานอินฟลูเอนเซอร์ในรูปแบบหนึ่งก็ได้ การใช้ KOL จึงหมายถึงการดึงบุคคลที่เป็นอินฟลูเอนเซอร์เหล่านั้น ให้มาทำการตลาดผ่านคอนเทนต์ให้กับสินค้าหรือแบรนด์ ทั้งนี้ เพื่อโน้มน้าวจิตใจของกลุ่มผู้บริโภคให้หันมาสนใจสินค้าหรือแบรนด์นั้น ๆ มากขึ้น
Influencer แบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท มีอะไรบ้าง
เนื่องจากการทำการตลาดรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์มีการใช้อินฟลูเอนเซอร์ หรือ KOL มาเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนการตลาด เราจึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักประเภทของอินฟลูเอนเซอร์กันก่อน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
เมกะ อินฟลูเอนเซอร์ (Mega Influencers)
หรือมียอดผู้ติดตาม 1,000,000 คนขึ้นไป หรือที่เรามักรู้จักกันดีในฐานะศิลปิน นักแสดงที่มีชื่อเสียงในวงการบันเทิง นักกีฬา หรือผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการยอมรับ ปัจจุบันก็มีหลายท่านที่หันมาเป็นอินฟลูเอนเซอร์ร่วมด้วย โดยเมกะ อินฟลูเอนเซอร์นั้นสามารถช่วยทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและน่าจดจำ (Brand Awareness) ได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ยังสามารถเป็นแรงบันดาลหรือทำให้แบรนด์ฮิตติดกระแสได้
-
มาโคร อินฟลูเอนเซอร์ (Macro Influencers)
หรือมียอดผู้ติดตาม 500,000 – 1,000,000 คน ผู้ที่มีชื่อเสียงที่เพิ่งเข้าสู่วงการ หรือผู้ที่มีผลงานที่เป็นที่น่าสนใจและถูกจับตามอง ซึ่งบุคคลเหล่านี้มักจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางวิชาการ หรือมีผลงานให้น่าติดตามอยู่เสมอ ซึ่งมาโคร อินฟลูเอนเซอร์ เป็นกลุ่มคนที่แบรนด์มีความคาดหวังว่าจะสามารถทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและน่าจดจำได้ (Brand Awareness) จากการโปรโมท หรือแนะนำ เพราะถึงแม้ว่าจะไม่ได้มีผู้ติดตามจำนานมากเท่ากับเมกะ อินฟลูเอนเซอร์ แต่พวกเขาสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงได้มากกว่า
-
มิดเทียร์ อินฟลูเอนเซอร์ (Mid-Tier Influencers)
หรือมียอดผู้ติดตาม 50,000 – 500,000 คน อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นผู้ก่อตั้งสังคมการพูดคุยระหว่างบุคคลถึงอีกหนึ่งบุคคล โดยหัวข้อการสนทนาเป็นที่น่าสนใจ จนเกิดการแชร์และส่งต่อกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งผู้อยู่ร่วมสังคมเดียวกันมักจะแสดงความคิดเห็น หรือแลกเปลี่ยนความรู้กันอยู่ตลอดเวลา โดยมิดเทียร์ อินฟลูเอนเซอร์จะเป็นที่น่าจับตามองของแบรนด์ต่าง ๆ ที่มีความต้องการที่จะทำงานร่วมกับอินฟลูเอนเซอร์กลุ่มนี้ เนื่องจากมีแนวทางและตัวตนที่น่าสนใจสำหรับคนบางกลุ่ม อาจส่งผลทำให้แบรนด์นั้นเป็นที่น่าจดจำ (Brand Awareness) สำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นการติดตาม หรือผู้ที่เพิ่งมองเห็นแบรนด์
-
ไมโคร อินฟลูเอนเซอร์ (Micro Influencers)
หรือมียอดผู้ติดตาม 10,000 – 50,000 คน การก้าวเข้าสู่วงการอินฟลูเอนเซอร์ สำหรับผู้ที่ผันตัวจากการทำงานประจำและมาหารายได้เสริมด้วยการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งผู้ติดตามจะมาจากการบอกเล่าปากต่อปาก (Word of Mouth) จนติดฮิตเป็นกระแสขึ้นมาชั่วครู่หนึ่ง ทั้งนี้การบอกเล่าจะช่วยทำให้ผู้ติดตามเฉพาะกลุ่มนั้นได้รับความรู้และรู้จักแบรนด์อื่น ๆ มากยิ่งขึ้นจากการรีวิวที่น่าเชื่อถือและเป็นไปตามความจริงมากที่สุด
-
นาโน อินฟลูเอนเซอร์ (Nano Influencers)
หรือมียอดผู้ติดตาม 1,000 – 10,000 คน ผู้เริ่มต้นสำหรับการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ โดยผู้ติดตามส่วนใหญ่จะเป็นผู้บุคคลที่มีความชอบและความสนใจที่ใกล้เคียงกัน มักจะเป็นผู้ที่คอยแชร์ประสบการณ์ส่วนตัว หรือความชอบส่วนตัวจนเป็นที่น่าสนใจของคนรอบข้าง และมีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เป็นการส่งต่อและการโปรโมทแบรนด์แบบปากต่อปาก (Word of Mouth) ดีก็บอกต่อ ไม่ดีก็สามารถรีวิวได้อย่างตรงไปตรงมาก ซึ่งจะส่งผลทำให้ผู้ที่ติดตามอยู่นั้นสามารถคล้อยตามได้อย่างง่ายดาย
สำหรับผู้เริ่มต้นเข้าสู่วงการอินฟลูเอนเซอร์ หรือแบรนด์สินค้าไหนที่กำลังพัฒนาแบรนด์ อยากให้แบรนด์เป็นที่รู้จักที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการตลาดรูปแบบอินฟลูเอนเซอร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน คุณสามารถให้ theAsianparent เป็นเพื่อนคู่คิด และเป็นที่ปรึกษาทางการตลาดได้แล้ววันนี้ เรามีทีมงานที่มีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพในการทำสูง ที่จะช่วยขยับขยายยอดผู้ติดตามและทำให้คนรู้จักแบรนด์และสินค้าของคุณมากยิ่งขึ้น สามารถติดต่อเราได้ที่ : info_th@tickledmedia.com
บทความที่น่าสนใจ :
Social Media Marketing ทำการตลาดออนไลน์ให้เข้าถึงแม่และเด็ก
5 Influencer ครอบครัว สายแม่และเด็ก น่ารัก ได้ความรู้เรื่องการเลี้ยงลูก
การตลาด แม่และเด็ก Digital Marketing Training เจาะลึกอินไซต์ของผู้บริโภค