คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ได้มีมติให้บุคคลทั่วไปสามารถ วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 โดยมอบให้แต่ละจังหวัด พิจารณา และดำเนินการได้ตามความเหมาะสมทันที เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ให้กับผู้ที่มีความประสงค์ ต้องการที่จะฉีดวัคซีนป้องกันโรค Covid-19
โดยเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้มีการประกาศภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติว่า ทางที่ประชุมนั้น ได้รับทราบนโยบายจากทางนายกรัฐมนตรี ให้มีการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนโดยด่วน โดยจะเปิดให้มีการ วอร์คอินฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง
3 แนวทางในการจัดหาวัคซีน Covid-19
1. เร่งให้มีการจัดหาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด 19 เพิ่มเติมจาก 100 ล้านโดส เป็น 150 ล้านโดส ให้ทันในปี พ.ศ. 2565
2. เร่งทำงานเชิงรุก ในการเจรจา ติดต่อกับทางผู้ผลิตวัคซีนให้เร็ว และหลากหลายมากที่สุด เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรับวัคซีน รวมถึงสามารถครอบคลุมถึงสายพันธุ์ต่าง ๆ ของไวรัสโควิดที่เกิดขึ้นได้
3. ปรับเปลี่ยนแนวทางการฉีดวัคซีน ให้มีการเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว และปลอดภัยมากที่สุด เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และลดความรุนแรงจนถึงแก่ชีวิต
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการฉีดวัคซีนเป็นการ (Walk-In)
เป็นที่ทราบกันดีว่า ก่อนหน้านี้ทางรัฐบาลได้มีการประกาศให้ประชาชนผู้มีอาการเกิน 60 ปี ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงจากโรคประจำตัว 7 ประเภท ลงทะเบียนออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชั่น “หมอพร้อม” และอีกหลายช่องทางที่ทางรัฐบาลได้จัดขึ้น หากแต่ ไม่ได้รับการตอบรับตรงตามเป้าเนื่องจาก
- ความไม่พร้อม หรือการขาดศักยภาพที่ดีของแอปพลิเคชั่น ที่เปิดให้มีการรองรับการขึ้นทะเบียนขอรับการฉีดวัคซีน
- การประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน ที่ไม่มีความกระจ่างชัด ทำให้ประชาชนขาดความมั่นใจ หากจะต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนที่ทางรัฐจัดเตรียมไว้ให้
- ความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน เนื่องจากสภาพอายุที่มากเป็นปัจจัยหลักที่จะเลี่ยงไม่เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกัน
จากปัญหาเหล่านี้ ทางกรมควบคุมโรค พร้อมด้วยกระทรวงสาธารณสุข จึงเริ่มปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อการตอบรับการกระจายวัคซีนให้ทั่วถึง เมื่อวัคซีนจะมีการเข้ามาในช่วงต้นเดือนมิ.ย. 2564 โดยจะเปิดให้มีการ วอร์คอิน (Walk-in) หรือการเดินเข้าสถานที่ให้บริการฉีดวัคซีน และรับการฉีดได้โดยทันที โดยไม่จำเป็นจะต้องลงทะเบียนล่วงหน้า หากแต่จะมีการจำกัดจำนวน ปริมาณผู้ที่จะเข้ามารับวัคซีนแบบ Walk in เพื่อลดความหนาแน่นของประชากร จนทำให้เกิดความเสี่ยงได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อไหร่ที่จะสามารถเข้า Walk in รับวัคซีนได้
ด้วยการประชาสัมพันธ์ที่ออกมาหลากหลายรูปแบบ จึงมักจะทำให้ประชาชนเกิดความสับสน บางคนเมื่อรับฟังข่าวสารว่าสามารถเดินเข้าไปรับการฉีดวัคซีนได้ ก็มุ่งตรงไปยังสถานบริการ เพื่อรับการฉีดวัคซีนตามข่าว แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ จนทำให้เป็นกระแสออกมาว่า สรุปแล้ว ที่ประกาศมานั้น เป็นจริงหรือเท็จกันแน่ ซึ่งเราต้องเข้าใจก่อนว่า
เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2564
เดือนนี้ทั้งเดือน จะเป็นเดือนที่ทางภาครัฐ จะกระจายการฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่จะต้องทำงานด้านสาธารณสุข หรือผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมวลชน โดยรวม กลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มที่เสี่ยงกับการติดเชื้อมากที่สุด และด้วยข้อจำกัดที่ปริมาณโดสของวัคซีนยังมีอยู่อย่างจำกัดนั่นเอง ทำให้จะต้องเลือกบุคคลจะเฉพาะกลุ่มนี้ ให้ได้รับวัคซีนโดยไวที่สุด
โดยในช่วงเดือนนี้ จะมีการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่ม อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา เพื่อให้ทันกับช่วงเปิดภาคเรียนที่กำลังจะมาถึง ดังนั้น ผู้ที่ยังไม่อยู่ในกลุ่มนี้ จะยังไม่สามารถเข้ารับการฉีดได้ แม้ว่าจะไปทำการ Walk in ตามที่ประกาศเอาไว้แล้ว
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564
วัคซีนล็อตใหม่ที่จะเข้ามา ถูกกำหนดให้มาถึงช่วงต้นเดือนมิถุนายน ซึ่งในเดือนนี้ เจ้าหน้าที่จะทำการฉีดให้กับผู้ที่ทำการลงทะเบียนออนไลน์ หรือลงทะเบียนไว้กับเจ้าหน้าที่รัฐ ของแต่ละหน่วย แต่ละเขต ให้เรียบร้อย โดยเดือนนี้ จะเน้นไปที่กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคเสี่ยง 7 โรค ตามที่มีการระบุเอาไว้ตั้งแต่แรก
โดยจะมีการแบ่งกระจายออกไปแต่ละวัน ซึ่งจะมีการแบ่งส่วนไว้ 20% สำหรับผู้ที่ต้องการ ทำการ walk in เข้ามา เพื่อรับการฉีดวัคซีนในวันนั้น ๆ ด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ จะถูกมอบหมายให้มีการพิจารณาตามพื้นที่ และจำเป็นจะต้องฟังนโยบายของแต่ละพื้นที่ให้มีความกระจายในข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ
กทม. ยังไม่เปิดให้มีการ Walk In
ด้วยมาตรการที่ประกาศเรื่องการ Walk In เข้ารับการฉีดวัคซีนออกมา ทำให้มีกระแสตอบรับกันอย่างมากมาย จนทำให้หลายคนเกิดความสับสน แต่ต้องการเข้ารับการวอร์คอินเข้าฉีดวัคซีนทันที แต่นโยบายนี้ ยังคงต้องให้เจ้าเมืองแต่ละจังหวัด เป็นผู้พิจารณาแยกกันออกไปตามความเหมาะสม โดยทาง กทม. ได้มาประกาศว่าจะยังไม่ใช้มาตรการ Walk In สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ อย่างเด็ดขาด
เนื่องจากมีผู้ที่ให้ความสนใจ และต้องการเข้ารับการฉีดวัคซีนจำนวนมากในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร แต่ในขณะเดียวกัน พื้นที่ กทม. ก็ยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงระดับสีแดงเข้ม การจะเข้าวอร์คอิน เพื่อการรับการฉีดวัคซีน จึงมีความเสี่ยงให้เกิดความแออัดของผู้คนจำนวนมาก จึงจำเป็นจะต้องให้มีการจองผ่าน Application “หมอพร้อม” หรืออาจจะมีการให้บริการแบบ “กึ่งวอล์กอิน” ซึ่งจำเป็นจะต้องมีการพิจารณาตามสถานการณ์เป็นระยะไป
โดย พญ.ป่านฤดี มโนมัยพิบูลย์ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย ได้กล่าวว่า “ความต้องการวัคซีนของคนในแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ในต่างจังหวัด ก็อาจจะมีความต้องการที่น้อยกว่า คนในเมือง เช่น กทม. ที่มีการแพร่ระบาดอย่างมาก คนในพื้นที่นี้ก็จะต้องการวัคซีนมาก ดังนั้น หากเราจะอนุมัติให้วอล์กอินได้ จะต้องคิดอย่างรอบคอบ เพราะจะมีความเสี่ยงสูงตามไปด้วย”
จุดบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในพื้นที่ กทม.
พญ. ป่านฤดี ได้กล่าวถึง ระบบการบริการให้วัคซีนในพื้นที่กทม. จะมีด้วยกัน 4 ลักษณะคือ
- โรงพยาบาลที่จะนัดฉีดให้กับผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเสี่ยง และผู้สูงที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยมีให้บริการถึง 126 แห่ง สำหรับจำนวนผู้ที่จะต้องฉีดประมาณ 6 แสนกว่าราย โดยปัจจุบัน มีผู้ที่ทำการลงทะเบียนจองผ่านช่องทางต่าง ๆ เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น
- ได้รับความร่วมมือจากสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเปิดจุดบริการฉีดวัคซีนอีก ประมาณ 15 จุด โดยเน้นพื้นที่ตามห้างสรรพสินค้า ที่สามารถจับคู่กับโรงพยาบาลใกล้เคียง เพื่อให้เข้าถึงประชาชนได้มากที่สุด
- ร่วมมือกับทางประกันสังคม โดยทางบริษัทห้างร้าน หรือตามโรงงานต่าง ๆ สามารถติดต่อกับทางประกันสังคม เพื่อให้ โรงพยาบาลสังกัดของประกันสังคมเข้าทำการฉีดวัคซีนให้กับพนักงานของบริษัทนั้น ๆ
- หน่วยงานเคลื่อนที่เร็ว ของสำนักอนามัยกรุงเทพฯ จะทำการฉีดวัคซีนเชิงรุก เพื่อทำการควบคุมโรค ให้กับกลุ่มเปราะบาง เช่น บ้านผู้สูงอายุบางแค หรือพื้นที่เสี่ยง
ดังนั้นช่วงนี้ เรายังจำเป็นจะต้องเสียสละให้กับบุคลากรที่มีความเสี่ยงสูง จากหน้าที่การงานที่เขาจะต้องดำเนินการอยู่ ส่วนใครที่ยังไม่ใช่กลุ่มที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนด จำเป็นจะต้องอยู่ในพื้นที่ safe zone เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ จนกว่าวัคซีนจะเข้ามา และมีการกระจายไปยังทุกกลุ่ม และทั่วทุกพื้นที่ จากนั้นเราจึงจะได้กลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติเช่นเคยนะคะ
ที่มา : hfocus
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ค่าตรวจโควิด ราคาเท่าไหร่ ใช้สิทธิ์อะไรได้บ้าง เทียบราคาตรวจโควิด
สิงคโปร์ เป็นศูนย์กลางผลิตวัคซีน Covid-19 Pfizer ประจำภูมิภาคอาเชียน
บังคับใส่แมส ขณะอยู่ในรถ 2 คนขึ้นไป และวิธีการจองฉีดวัคซีนโควิด 19