อย.เรียกคืนยาน้ำสำหรับเด็ก 15 รายการ เช็กด่วน! มียี่ห้ออะไรบ้าง?

เช็กด่วน! อย.เรียกคืนยาน้ำสำหรับเด็ก 15 รายการ หลังตรวจพบสารเอทธิลีนไกลคอล เกินมาตรฐาน หากมียาดังกล่าว ขอให้หยุดใช้เพื่อความปลอดภัย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อย.เรียกคืนยาน้ำสำหรับเด็ก 15 รายการ หลังตรวจพบสารเอทธิลีนไกลคอลเกินมาตรฐาน ขอให้คุณพ่อคุณแม่ตรวจสอบ หากมียาดังกล่าว ขอให้หยุดใช้เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

 

อย.เรียกคืนยาน้ำสำหรับเด็ก 15 รายการ

8 มิถุนายน 2567 นายแพทย์ณรงค์ อภิกุลวณิช เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มีแผนเฝ้าระวังความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ยา จึงมีการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ โดยล่าสุด อย. ได้เก็บตัวอย่างยาน้ำสำหรับเด็กส่งตรวจวิเคราะห์ ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจพบเอทธิลีนไกลคอลเกินมาตรฐานในตัวทำละลายยาและเป็นสารช่วยปรุงแต่งรสชาติให้ความหวาน อย. จึงมีคำสั่งให้ผู้ผลิตยาแผนปัจจุบัน เรียกคืนยาน้ำสำหรับเด็ก จำนวน 15 รายการ 31 รุ่นการผลิตออกจากท้องตลาดโดยเร็ว ประชาชนสามารถตรวจสอบรายการยาที่ถูกเรียกคืนทั้ง 31 รุ่นการผลิตได้จากเอกสารแนบท้าย

 

ทั้งนี้ สารปนเปื้อนที่ตรวจพบมีปริมาณเกินมาตรฐาน การบริโภคที่จะก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันจนก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงต้องใช้ยามากถึงประมาณ 500 ขวด ขอประชาชนไม่ต้องวิตกกังวล

หากมีอาการผิดปกติใด ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หลังการใช้ยาดังกล่าว ขอให้พบแพทย์ แต่เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค อย. จึงเรียกเก็บคืนยาดังกล่าวออกจากท้องตลาด

ประชาชนที่มียารุ่นการผลิตที่ถูกเรียกคืน ให้ระงับการใช้ยา สำหรับร้านขายยาหรือสถานพยาบาลที่มีรายการยาที่ถูกเรียกคืน ให้ประสานผู้แทนจำหน่ายยาเพื่อส่งคืนให้แก่บริษัทต่อไป 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ทางสายด่วน อย. 1556 กด 3 หรือโทร 0 2590 7405, 0 2590 7325หรือผ่านเพจ Facebook FDAThai

สำหรับในต่างจังหวัดสามารถติดต่อได้ทางสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลทุกแห่ง ทั้งนี้ อย. ยังคงเดินหน้าตรวจสอบผลิตภัณฑ์ยาน้ำสำหรับเด็กอย่างเข้มงวดต่อไป ขอผู้บริโภคมั่นใจ

บทความที่เกี่ยวข้อง เช็คด่วน! 12 ผลิตภัณฑ์ นมผงเถื่อน โฆษณาหลอกขายผ่านออนไลน์ อันตรายมาก!

เช็กรายการ อย.เรียกคืนยาน้ำสำหรับเด็ก 15 รายการ 31 รุ่นการผลิต ด้านล่าง

หมายเหตุ ยาน้ำที่เรียกคืน เฉพาะรุ่นการผลิต และวันหมดอายุที่ระบุไว้เท่านั้น หากพบให้หยุดใช้ทันที หากไม่ตรงกับลอตดังกล่าว สามารถใช้ได้ตามปกติ

  1. Carbosol Syrup
  2. Startec Syrup
  3. Parastar Suspension
  4. Fatec Syrup
  5. Cetaphen Syrup
  6. Co-trimoxazole Mixture
  7. Kressbufen Suspension
  8. Domperstar Suspension
  9. Kresstrim Suspension
  10. Kresscolet Syrup
  11. Kresstec Syrup
  12. Kressbroxol Syrup
  13. Startifen Syrup
  14. Ibustar Suspension
  15. Domperkress syrup

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

ขอบคุณภาพจาก FDA Thai

 

คลิกที่นี่เพื่อดูเอกสารแนบ

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

เอทิลีนไกลคอล คืออะไร?

เอทิลีนไกลคอล (Ethylene glycol) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และมีรสหวานเล็กน้อย โดยปกติจะอยู่ในรูปของเหลวใส นิยมใช้ในหลายๆ อุตสาหกรรม เช่น

  • สารป้องกันน้ำแข็ง: ผสมในน้ำยาหล่อเย็นรถยนต์เพื่อป้องกันการแข็งตัวในอุณหภูมิต่ำ
  • สารหล่อเย็น: ใช้ในระบบทำความร้อนและเครื่องปรับอากาศ
  • สารตั้งต้น: ใช้ในการผลิตพลาสติก โพลีเอสเทอร์ และสารเคมีอื่นๆ

อันตรายของเอทิลีนไกลคอลหากปนเปื้อนในยาน้ำ

แม้เอทิลีนไกลคอลจะมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน แต่ก็เป็นสารพิษที่อันตรายต่อร่างกายหากกลืนเข้าไป โดยเฉพาะในปริมาณมากๆ อาการของการได้รับพิษเอทิลีนไกลคอลอาจปรากฏภายใน 30 นาที ถึง 12 ชั่วโมงหลังการกลืน ได้แก่

  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ท้องเสีย
  • ปวดท้อง
  • ปวดศีรษะ
  • อ่อนเพลีย
  • กระหายน้ำ
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ชัก
  • หมดสติ
  • เสียชีวิต

อันตรายร้ายแรง

การได้รับพิษเอทิลีนไกลคอลอาจส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ไต ตับ สมอง และระบบประสาท ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ไตวาย ตับวาย สมองบวม เสียชีวิต

คำเตือน

  • เก็บเอทิลีนไกลคอลให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ห้ามรับประทานเอทิลีนไกลคอลโดยเด็ดขาด
  • หากกลืนเอทิลีนไกลคอลเข้าไป ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที

ที่มา : wikipedia , pwai.co.th

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ