แพทย์เผย! เด็กน้อย 3 ขวบ เสียชีวิตเฉียบพลัน สาเหตุไม่ใช่ เล่นน้ำ ตากแดด แต่เป็นเพราะเหตุนี้!

แม้ว่าการแช่น้ำเย็นในหน้าร้อนจะดูเป็นการคลายร้อนที่ชื่นใจ แต่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิร่างกายอย่างรวดเร็ว อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เหมือนกับตัวอย่าง เหตุการณ์ที่น่าเศร้า เมื่อเด็กหญิง วัย 3 ขวบ เล่นน้ำ ตากแดด ในกะละมังก่อนออกไปปั่นจักรยาน เมื่อกลับมาถึงบ้าน ก็เกิดอาการปวดหัว อาเจียน ก่อนจะหมดสติและเสียชีวิตทันที

สลด! เด็ก 3 ขวบ เสียชีวิตเฉียบพลัน ไม่ได้เกิดจาก เล่นน้ำ ตากแดด แต่เป็นเพราะโรคนี้

เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 21 เมษายน 67 โดยผู้เป็นแม่เล่าว่า ในช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา ลูกน้อยของตนมักจะ แช่น้ำเล่นคนเดียวในกะละมัง พร้อมจักรยานคู่ใจที่วางอยู่ข้างกัน ซึ่งน้องมักจะสลับเล่นสองอย่างนี้ไปมา

จนวันเกิดเหตุ ขณะที่น้อง เล่นน้ำ กลางแดด ในกะละมังและออกไปปั่นจักรยานแบบที่ทำเป็นประจำจนตกเย็น น้องกลับมาถึงบ้าน ก็บอกกับคุณตาว่าตนมีอาการปวดหัว คุณตาเลยเรียกให้ไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่เปียก แล้วมานอนกินนม จนเวลาประมาณ 20:00 น. น้องก็ยังบ่นปวดหัวอยู่ จากนั้นก็อาเจียนออกมาถึง 4 ครั้ง แล้วจู่ ๆ ก็หมดสติไปอย่างรวดเร็ว คุณตาจึงรีบพาไปหาหมอที่ รพ.สตูล ซึ่งอยู่ห่างไม่จากที่บ้านมากนัก แต่พอถึงโรงพยาบาลก็พบว่าน้องได้เสียชีวิตแล้ว

 

เล่นน้ำ ตากแดด ขอบคุณ รูปภาพ จาก: Khaosod

 

ผู้เป็นตาเล่าว่า ปกติตนอยู่กับน้องที่บ้านหลังนี้กัน 2 คนตาหลาน เพราะคุณแม่ของน้องไปทำงานที่ต่างจังหวัด ซึ่งหลานสาวมักจะ เล่นน้ำ กลางแดด ในกะละมัง และออกไปปั่นจักรยานแบบนี้เป็นประจำอยู่แล้ว พอเจอเหตุการณ์นี้ยอมรับว่าตกใจมาก เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากแบบไม่ทันตั้งตัว 

ทางด้านของคุณแม่ เมื่อทราบข่าวการเสียชีวิตของลูกสาว คุณแม่ก็รีบเดินทางกลับมาบ้านทันที สอบถามกับทางแพทย์ จากผลการสแกนสมอง พบว่ามีน้ำในหู ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำเส้นเลือดสมองแตก ประกอบกับน้องมีอาการคล้ายปอดบวม เนื่องจากชอบเล่นน้ำและแช่น้ำนาน รวมไปถึงการปั่นจักรยานตากแดดเป็นเวลานาน ส่งผลให้ร่างกายอาจปรับตัวไม่ทัน

จนเมื่อวันที่ 30 เม.ย. 2567 ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะ​แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านทางเอ็กซ์ (X.) ในชื่อบัญชี manopsi โดยระบุว่า 

"คิดว่าเหตุคือเส้นเลือดสมองแตกจากเส้นเลือดสมองโป่งพอง (aneurysm หรือ AVM) ซึ่งอาจมีมาตั้งแต่เกิดและไม่มีอาการ พอเส้นเลือดแตกเกิดความดันในกระโหลกสูง ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่ง และหมดสติ บางรายเกิด neurogenic pulmonary edema ทำให้มีน้ำคั่งในปอดอีก

ภาวะนี้ไม่มีทางรู้ก่อนจนกว่าจะเกิดเรื่อง (เว้นแต่มีโรคพันธุกรรม มีประวัติครอบครัว) เป็นเรื่องสุดวิสัยไม่น่าเกี่ยวกับการเล่นน้ำหรืออากาศร้อน แค่ประจวบเหมาะกัน"

 

แพทย์เผย! เด็กน้อย 3 ขวบ เสียชีวิตเฉียบพลัน สาเหตุไม่ใช่ เล่นน้ำ ตากแดด แต่เป็นเพราะเหตุนี้! ขอบคุณ รูปภาพ จาก X: manopsi

 

ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับ โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง กันค่ะ

 

ที่มา: Khaosod

 

เส้นเลือดสมองโป่งพอง คืออะไร

โรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง หรือ Cerebral Aneurysm เกิดจากการเสื่อมสภาพของผนังเส้นเลือดเฉพาะจุด ทำให้ผนังเส้นเลือดบริเวณนั้นมีลักษณะที่บางกว่าบริเวณอื่น เมื่อเกิดแรงความดัน หรือมีกระแสเลือดไหลผ่านไปในระยะเวลาหนึ่ง ความดันนั้นก็จะไปทำให้บริเวณผนังหลอดเลือดที่บางนั้นโป่งพองขึ้นลักษณะคล้ายบอลลูน และอาจแตกออกได้ในเวลาต่อมา ก่อให้เกิดการเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น โรคถุงน้ำที่ไต ภาวะเส้นเลือดแดงใหญ่ตีบ และอุบัติทางสมองที่มีการบาดเจ็บของเส้นเลือดสมอง เป็นต้น

ที่สำคัญคือโรคนี้อาจเกิดขึ้นได้ทันทีทันใดโดยไม่มีอาการเตือน ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงที่จะทำให้เส้นเลือดที่โป่งพองนั้นแตกได้ และทำให้เสียชีวิตได้อย่างกะทันหันได้ทันที

 

แพทย์เผย! เด็กน้อย 3 ขวบ เสียชีวิตเฉียบพลัน สาเหตุไม่ใช่ เล่นน้ำ ตากแดด แต่เป็นเพราะเหตุนี้!

 

อาการของโรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง

อาการของโรคนี้ สามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มค่ะ โดยมีดังนี้

1) กลุ่มที่มีการแตกออกของเส้นเลือดสมองโป่งพอง

อาการนี้จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมอง ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณต้นคออย่างรุนแรงและเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และในผู้ป่วยบางรายอาจหมดสติหลังจากปวดศีรษะ เมื่อฟื้นขึ้นมาจะยังคงมีอาการปวดศีรษะและต้นคออย่างรุนแรง ซึ่งถ้าหากเกิดอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุดค่ะ

 

2) กลุ่มที่มีเส้นเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่

หากผู้ป่วยมีเส้นเลือดโป่งพองขนาดใหญ่ แล้วความดันนี้ได้ไปกดทับเนื้อเยื่อสมองหรือเส้นประสาทสมอง อาการที่แสดงออกมานั้น จะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ถูกกดทับ อย่างเช่น หากถูกกดทับบริเวณเส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 หรือส่วนที่ใช้สำหรับควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า ผู้ป่วยก็จะมีอาการปวดร้าวบริเวณใบหน้า หรือในบางกรณีเมื่อเกิดเส้นเลือดสมองโป่งพองขนาดใหญ่ ก็จะทำให้เลือดไหลวนอยู่ภายในจนอาจมีลิ่มเลือดหลุดไปอุดตันในเส้นเลือดสมองส่วนปลายก่อให้เกิดการขาดเลือดในช่องสมอง อาการที่แสดงออกจะเป็นไปตามบริเวณของสมองที่ขาดเลือด

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น เส้นเลือดโป่งพองในสมอง

โดยปกติแล้ว โรคนี้จะรู้ตัวได้ก็ต่อเมื่อมีอาการปวดศีรษะ หรือเกิดอาการที่แสดงออกมากแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้นการตรวจสุขภาพจะเป็นหนึ่งในตัวช่วย ที่จะทำให้เราสามารถตรวจพบเจอโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองได้เร็วที่สุด ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว กลุ่มที่ตรวจพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองโดยบังเอิญ มักเป็นกลุ่มที่ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ตั้งแต่แรก แต่กลับมาตรวจพบเจอโรคเมื่อได้ทำการตรวจสมอง เช่น การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองความเร็วสูง (CT Scan) เป็นต้น

 

วิธีการรักษา  เส้นเลือดสมองโป่งพอง

วิธีการรักษาโรคนี้มีหลายรูปแบบ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาและการวินิจฉัย จาก ตำแหน่ง ขนาด และรูปร่างของเส้นเลือดที่โป่งพอง รวมถึงอายุ และสุขภาพของผู้ป่วยอีกด้วย โดยเส้นเลือดสมองโป่งพองในสมองจะมีวิธีการรักษา ดังนี้

1) การใส่ขดลวด (coil) หรือคลิปหนีบที่บริเวณเส้นเลือดโป่งพอง (clipping)

วิธีนี้จะช่วยห้ามไม่ให้มีเลือดผ่านเข้าไปบริเวณที่มีการโป่งพอง เพื่อป้องกันไม่ให้หลอดเลือดขยายใหญ่มากขึ้นไปอีก จนอาจทำให้เกิดการแตกออกของเส้นเลือดได้

2) การผ่าตัดสมอง

วิธีการนี้จะช่วยปิดซ่อมผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง และหากผู้ป่วยมีก้อนเลือดในสมอง แพทย์ก็จะทำการผ่าตัดเอาก้อนเลือดในเนื้อสมองออกไป

3) ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers)

การให้ยาต้านแคลเซียมจะช่วยลดการเกิดภาวะสมองขาดเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากการหดเกร็งของหลอดเลือดในสมองค่ะ

 

อย่างไรก็ตาม แม้อุทาหรณืครั้งนี้จะไม่ได้มีสาเหตุมาจากการ เล่นน้ำ ตากแดด แต่ด้วยสภาพอากาศร้อนจัดในปัจจุบัน กิจกรรมกลางแจ้งแบบนี้ก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพของเด็กได้โดยตรง เราจึงมีทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่เพื่อช่วยคลายร้อนให้ลูกน้อยกันค่ะ

 

วิธีคลายร้อนสำหรับเด็ก ๆ

แม้จะอยู่ในร่ม อากาศร้อนอบอ้าวก็ยังทำร้ายเด็กได้! บทเรียนสะเทือนใจ จากเหตุการณ์เด็ก 3 ขวบ เสียชีวิตหลัง เล่นน้ำ ตากแดด เตือนใจให้ผู้ปกครองตระหนักถึงอันตรายแฝงจากอากาศร้อน แม้จะไม่ได้อยู่กลางแจ้ง หน้าร้อนนี้ เราจึงมีวิธีช่วยคลายร้อนสำหรับเด็กๆ มาฝากกัน แต่จำไว้ว่า การดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด สำคัญที่สุด! จะมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

1) เลือกใส่เสื้อผ้าที่ช่วยระบายอากาศได้ดี

คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกให้เด็ก ๆ สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อน เนื้อผ้าฝ้าย ระบายอากาศได้ดี และหลีกเลี่ยงเสื้อผ้ารัดรูป

2) ดื่มน้ำเยอะ ๆ

เด็ก ๆ มีโอกาสที่จะสูญเสียเหงื่อและน้ำได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ควรให้เด็กดื่มน้ำสะอาดบ่อย ๆ และอย่าให้เด็ก ๆ ดื่มน้ำหวานหรือน้ำอัดลมมากจนเกินไป

3) เช็ดตัวลดอุณหภูมิระหว่างวัน

สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุณหภูมิห้อง หรือ น้ำที่ไม่เย็นมากจนเกินไป บิดหมาด ๆ แล้วนำมาซับตัว เช็ดตัวให้ลูกน้อยรู้สึกสบายตัวขึ้นระหว่างวัน เพื่อช่วยลดอุณหภูมิร่างกายค่ะ

 

4) ลดกิจกรรมกลางแจ้ง

หากไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกข้างนอก กลางแจ้ง คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะให้ลูกอยู่ในที่ร่มที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดว­­­ก แต่ถ้าหากต้องออกกลางแจ้ง ควรเลือกที่จะสวมหมวกหรือกางร่ม หรือหาจังหวะมาพักในที่ร่มบ้าง ที่สำคัญควรหมั่นทาครีมกันแดดที่มี SPF 30 ขึ้นไป ให้เด็ก ๆ ก่อนออกจากบ้านทุกหครั้ง และควรทาซ้ำทุก ๆ 2 ชั่วโมง

เล่นน้ำ ตากแดด

 

5) เล่นน้ำอย่างปลอดภัย

หากจะพาลูกไปเล่นน้ำ ควรให้ลูกสวมใส่เสื้อชูชีพ และดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญต้องระวังไม่ให้ลูกว่ายน้ำกลางแดดนานจนเกินไป ควรมีช่วงจังหวะเวลาขึ้นมาพักในที่ร่มบ้าง

6) รับประทานผลไม้ คลายร้อน

ผลไม้บางชนิดสามารถช่วยทำให้เรารู้สึกคลายร้อนและทำให้รู้สึกสดชื่นได้ เช่น แตงโม มะพร้าว หรือ สับปะรด สามารถช่วยทำให้เรารู้สึกเย็นสดชื่นขึ้นมาได้

บทความที่เกี่ยวข้อง: แม่ท้องกินผลไม้ทำให้ลูกฉลาดได้จริงหรือ คนท้องกินผลไม้อะไรดี และวิธีเล่นกับลูกในท้องเสริมความฉลาด

แพทย์เผย! เด็กน้อย 3 ขวบ เสียชีวิตเฉียบพลัน สาเหตุไม่ใช่ เล่นน้ำ ตากแดด แต่เป็นเพราะเหตุนี้!

 

7. สวมรองเท้าที่ช่วยระบายอากาศและเลี่ยงการสวมถุงเท้า

เท้าถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่มีส่วนช่วยในการระบายความร้อนออกจากร่างกา­­­ยได้เป็นอย่างดี  ในช่วงที่อากาศร้อน ๆ ทางที่ดีควรให้ลูกสวมรองเท้าที่ระบายอากาศได้ง่าย เพื่อช่วยให้เท้าไม่เหม็นอับและจะช่วยให้ร่างกายระบายความร้อนผ่านทางเท้าได้ดีขึ้นอีกด้วยค่ะ

แม้จะปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้แล้ว ผู้ปกครองก็ยังควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำหรือตากแดดตามลำพัง สังเกตอาการของเด็ก หากเด็กมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดหัว อาเจียน อ่อนเพลีย รีบพาเด็กไปพบแพทย์ทันทีค่ะ

 

จากกรณีเด็ก 3 ขวบ เสียชีวิตกะทันหันหลังเล่นน้ำ แพทย์ชี้แจงว่า สาเหตุการเสียชีวิตไม่ได้มาจากการ เล่นน้ำ ตากแดด แต่อาจเป็นผลมาจากโรคเส้นเลือดสมองโป่งพอง ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้น้อยในเด็ก แต่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต เหตุการณ์นี้กระตุ้นให้ผู้ปกครองตระหนักถึงอันตรายของโรคเส้นเลือดสมองโป่งพองในเด็ก แม้ว่าจะพบได้น้อย แต่ก็ควรสังเกตอาการผิดปกติ และควรรีบพาไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด นอกจากนี้ สภาพอากาศร้อนจัดในปัจจุบัน ยังส่งผลต่อสุขภาพของเด็กได้โดยตรง ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงให้อยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน สวมใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ให้ดื่มน้ำสะอาดอย่างเพียงพอ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติของเด็ก ๆ ค่ะ

 

ที่มา :  Petcharavej Hospital, Lingo Ace

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ชุดว่ายน้ำ สีฟ้าเพิ่มความเสี่ยงเด็กจมน้ำ รู้ก่อน ปลอดภัยกว่า!

ใจสลาย! เด็กชาย 3 ขวบ เล่นซน แกะเทปพันสายไฟ ถูก ไฟดูด เสียชีวิต!

สุดสยอง! หญิงสาวกดกาแฟ ตู้กดอัตโนมัติ พบเจอสิ่งไม่คาดฝัน อาการทรุดเข้าห้องไอซียู

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!