เปิดขั้นตอน ยื่นภาษี 2567 ใช้เอกสารอะไร ยื่นได้ถึงวันไหน เช็กได้ที่นี่!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อเข้าสู่ช่วงต้นปีผู้ที่มีรายได้ต้องเสียภาษี จำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้ประจำปี หรือยื่นภาษีออนไลน์ ซึ่งจะยื่นปีละ 1 ครั้ง โดยมีทั้งการยื่นภาษีด้วยตัวเองผ่านสำนักงานสรรพากรใกล้บ้าน และการยื่นผ่านออนไลน์เพื่อแสดงรายได้ แหล่งที่มาของรายได้ และการนำมาซึ่งการลดหย่อนภาษีเพื่อได้เงินคืน วันนี้เราจะพามาเปิดขั้นตอนการ ยื่นภาษี 2567 ต้องทำอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง เช็กได้เลยที่นี่

 

ยื่นภาษี 2567 ได้ถึงวันไหน

เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมสรรพากรได้เปิดให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2566 โดยจะต้องยื่นในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2567 ผ่านสำนักงานสรรพากรทุกแห่งใกล้บ้าน และสำหรับการยื่นผ่านออนไลน์ของเว็บไซต์กรมสรรพากร ซึ่งจะเปิดให้ยื่นได้ถึงวันที่ 9 เมษายน 2567 อย่างไรก็ดี แบบแสดงรายการภาษีที่บุคคลทั่วไปต้องยื่น เรียกว่า ภ.ง.ด.90 กับ ภ.ง.ด.91 ขึ้นอยู่แต่กรณี หากเป็นบุคคลที่มีรายได้แค่เงินเดือนประจำเท่านั้น จะต้องยื่นแบบภ.ง.ด.91 แต่หากมีรายได้จากแหล่งอื่นด้วยให้ยื่นเป็นภ.ง.ด.90

 

ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี

ผู้ที่มีรายได้เกิดขึ้นระหว่างปี จำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้เมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด โดยการยื่นภาษีอาจไม่จำเป็นต้องจ่ายภาษีเสมอไป ขึ้นอยู่กับรายได้ที่ได้รับมาตลอดปี ซึ่งการยื่นภาษีจะอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงมีนาคมของทุกปี หากมีรายได้จากงานประจำเพียงอย่างเดียว และมีฐานเงินเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ไม่ต้องยื่นภาษี ซึ่งขอบเขตรายได้ที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี มีดังนี้

  • หากเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท จำเป็นต้องยื่นภาษี แต่ไม่เสียภาษี
  • หากเงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท จำเป็นต้องยื่นภาษี และเสียภาษี
  • หากเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท และไม่ได้จ่ายเงินสมทบประกันสังคม จำเป็นต้องยื่นภาษี แต่ไม่เสียภาษี
  • หากเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท และจ่ายเงินสมทบประกันสังคม จำเป็นต้องยื่นภาษี และเสียภาษี

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการยื่นภาษีเงินได้ ของบุคคลธรรมดา ผ่านช่องทางออนไลน์

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ยื่นภาษี 2567 ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่บุคคลต้องเตรียมสำหรับการยื่นภาษีประกอบด้วย 3 เอกสารสำคัญ ได้แก่

  • หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หรือใบ 50 ทวิ จากบริษัทที่ระบุในปีนั้น ๆ ว่าเรามีรายได้รวมเท่าไหร่ และมีการหักภาษีล่วงหน้าเท่าไหร่
  • รายการลดหย่อนภาษีของทั้งปี ไม่ว่าจะเป็นค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา หรือบุตร
  • เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เช่น เบี้ยประกันชีวิต เบี้ยประกันสุขภาพ หรือเงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี

 

ขั้นตอนการยื่นภาษีด้วยตัวเอง

1. เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากร

เข้าไปที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ แล้วทำการสมัครสมาชิกแล้วทำตามขั้นตอน หรือหากเคยยื่นภาษีมาก่อนแล้ว ให้คลิกเข้าสู่ระบบด้วยเลขบัตรประชาชน จากนั้นให้ยืนยันตัวตนด้วยรหัส OTP ผ่านเบอร์โทรศัพท์ที่ได้ลงทะเบียน เลือกยื่นแบบภ.ง.ด.90/91 โดยภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ที่มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน เช่น ขายของออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา ส่วนภ.ง.ด.91 สำหรับผู้ที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว ไม่มีรายได้เสริมจากช่องทางอื่น

 

2. เลือกข้อมูลค่าลดหย่อนอัตโนมัติ

กรอกข้อมูลรหัสหลังบัตรประชาชน จากนั้นกดตรวจสอบข้อมูล ระบบจะแสดงข้อมูลค่าลดหย่อนให้อัตโนมัติ ให้กดตรวจสอบข้อมูลสำหรับยื่นแบบ และเลือกข้อมูลที่จะใช้ยื่นภาษี เสร็จแล้วให้กดเริ่มยื่นแบบ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวและสถานะ

ระบบจะแสดงข้อมูลของเรา ไม่ว่าจะเป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด สถานที่ติดต่อ ร้านค้า/กิจการส่วนตัว (ถ้ามี) ให้เราตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นให้กรอกข้อมูลสถานะ โสด สมรส หรือหม้าย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

4. กรอกข้อมูลแหล่งที่มาของรายได้

ถัดมาระบบจะแสดงข้อมูลรายได้ต่าง ๆ แยกตามแหล่งที่มาของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือน รายได้จากทรัพย์สิน รายได้จากฟรีแลนซ์ รายได้จากการลงทุน และรายได้จากมรดก หากคุณเป็นพนักงานประจำที่มีรายได้ช่องทางเดียว กดเลือกระบุข้อมูลช่อง 40(1)

 

5. กรอกรายได้ตลอดปีตามใบ 50 ทวิ

ขั้นตอนต่อไปให้กรอกรายได้ตลอดปีตามใบ 50 ทวิที่บริษัทให้มา ทั้งเงินได้ทั้งหมด ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ให้ดูว่าบริษัทมีการหักภาษีล่วงหน้าหรือไม่ หากไม่มีให้ระบุ 0 หากมีให้ระบุตามใบ 50 ทวิ จากนั้นกรอกเลขผู้จ่ายเงินได้ของบริษัทที่ทำงาน

 

6. ตรวจสอบข้อมูลค่าลดหย่อนภาษีทั้งหมด

 

7. ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด

 

8. กดยืนยันการยื่นแบบ

 

จบขั้นตอนการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ คุณสามารถอัปโหลดเอกสารค่าลดหย่อนอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ เพื่อความรวดเร็วในการขอคืนภาษี 

บทความที่เกี่ยวข้อง : เตรียมพร้อม! Easy E-Receipt ช้อปลดหย่อนภาษีปี 2567 สูงสุด 5 หมื่นบาท

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีเช็กสถานะคืนเงินภาษี

  • เข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://efiling.rd.go.th/rd-efiling-web/authen/MTA2
  • กรอกข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบ ใส่เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร หรือเลขบัตรประจำตัวประชาชน และใส่รหัสผ่าน จากนั้นใส่เลขหลังบัตรประชาชนและกดเข้าสู่ระบบ
  • เมื่อเข้าสู่หน้ายืนยันตัวตน ระบบจะส่งรหัส OTP พร้อมรหัสอ้างอิงให้หมายเลขโทรศัพท์ที่ได้ผูกไว้ ให้กรอกเลขรหัสที่ได้รับภายใน 5 นาที
  • ติดตามสถานะและส่งเอกสารเพิ่มเติมได้ ทั้งนี้ คุณสามารถตรวจสอบสถานะคืนเงินภาษีได้อีก 2 ช่องทาง คือ ศูนย์บริการข้อมูลสรรพากร โทร 1161 และสำนักงานสรรพากรตามภูมิลำเนาที่ทำการยื่นแบบ

 

เคล็ด(ไม่)ลับ ได้เงินภาษีเร็วขึ้น

ในขั้นตอนการยื่นแบบ คุณควรตรวจสอบความถูกต้องและครบถ้วนของเอกสาร และช่องทางการรับเงินภาษี ดังนั้น คุณควรตรวจและเตรียมเอกสารให้พร้อมเพื่อให้ได้เงินภาษีเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถตรวจเช็กได้ดังนี้

 

1. เตรียมเอกสารให้พร้อม

คุณควรเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่แสดงเลขรายรับ รายจ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ให้พร้อม หากยื่นเอกสารไม่ครบถ้วน ทางสรรพากรอาจขอดูเอกสารเพิ่มเติม และอาจใช้เวลานานขึ้นในการคืนเงินภาษี ซึ่งเอกสารที่ควรเตรียมพร้อมทุกครั้ง ได้แก่ หนังสือรับรองเงินเดือน ใบทวิ 50 เอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับค่าลดหย่อน

 

2. อัปโหลดเอกสารเพิ่มเติม

หากมียอดภาษีที่ถูกหักมากกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ อาจต้องส่งเอกสารเพิ่มเติมให้ทางสรรพากร โดยเข้าไปที่ระบบ E-Refund แล้วเลือก นำส่งเอกสารประกอบพิจารณาการคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากนั้นอัปโหลดเอกสารที่เกี่ยวข้องเข้าไป

 

 

3. รับเงินภาษีคืนผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขบัตรประชาชน

หากผู้เสียภาษีผูกพร้อมเพย์ไว้กับบัญชีธนาคาร ต้องทำการเชื่อมพร้อมเพย์กับเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งหากผ่านการพิจารณาคืนภาษี กรมสรรพากรจะโอนเงินคืนภายใน 3-5 วันทำการ แต่หากไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ไว้ ทางสรรพากรจะออกหนังสือแจ้งคืนเงินภาษี (ค.21) ทางไปรษณีย์ เพื่อเป็นหลักฐานนำไปขอรับเงินคืนที่ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 15 วัน

ที่มา : thairath.co.th, prachachat.net, prachachat.net, prachachat.net

 

ปัจจุบันการยื่นภาษีไม่ใช่เรื่องยากแล้ว คุณสามารถยื่นภาษีออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของสรรพากร ซึ่งช่วยให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องไปที่สรรพากรโดยตรง อีกทั้งในเว็บไซต์ยังมีคำแนะนำที่ช่วยให้กรอกข้อมูลได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ การยื่นภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้มีรายได้ประจำทุกคนต้องทำ เพราะไม่ว่าจะเงินเท่าไหร่ก็จำเป็นต้องยื่นภาษี

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

50 ทวิ คืออะไร เรื่องสำคัญ เกี่ยวกับภาษีที่เด็กจบใหม่ต้องรู้ไว้

ประกันชีวิต ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ วิธีการทำต้องทำอย่างไร

ทำใบขับขี่ ส่วนบุคคล ในยุคโควิด ต้องทำยังไงบ้าง เตรียมเอกสารอะไรบ้าง

 

บทความโดย

Sittikorn Klanarong