โชคดีที่สังเกต! แก๊งลักเด็กในคราบครู ทำสัญลักษณ์ที่เด็ก ดีที่แม่ไม่ปล่อยผ่าน !

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การพูดคุยกับลูก ไม่ว่าจะตอนไหน ๆ ก็อาจสร้างความปลอดภัย และความไว้ใจได้ในเวลาเดียวกัน เพราะการพูดคุยกันเพียงเล็กน้อย อาจทำให้สังเกตเห็นอันตราย ที่อาจจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ ดังเช่นครอบครัวนี้ ที่คุณแม่เป็นเสมือนฮีโร่ สังเกตเห็นความแปลก และแจ้งตำรวจจับ แก๊งลักเด็กในคราบครู

 

เรื่องนี้ถูกรายงาน ผ่านเว็บไซต์ phunuphapluat เมื่อแม่ชาวจีนรายหนึ่ง มีลูกสาวอายุ 4 ขวบ ที่อยู่ในวัยกำลังน่ารัก โดยที่ลูกสาวของเธอ อยู่ในชั้นเรียนอนุบาล ที่เธอและสามีคอยถามทุกวัน ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นภายในโรงเรียน ในทุกครั้งที่ลูกสาวกลับจากโรงเรียน เธอและสามีมักจะถามโดยเสมอ ว่าวันนี้ลูกสาวเจออะไร ที่โรงเรียนเป็นอย่างไรบ้าง หากมีเรื่องไม่สบายใจ หรืออะไรที่ทำให้เศร้า สามารถเล่าให้พ่อแม่ฟังได้ ซึ่งด้วยความสนิทใจในครอบครัวนี้ จึงทำให้เธอช่วยเหลือลูกสาวจาก แก๊งลักเด็กในคราบครู ได้ทันเวลา

 

แม่รายนี้ได้เปิดเผยว่า วันนั้นเธอคุยกับลูกตามปกติ โดยลูกสาวนั่งอยู่บนตัก พร้อมกับคุยเรื่องที่เกิดขึ้น จู่ ๆ เธอก็เหลือบไปเห็น ลายประหลาดบนหลังมือ เธอจึงได้ถามลูกสาวของเธอว่า “สิ่งนี้คือรอยอะไร ?” ซึ่งลูกสาวของเธอก็ได้ตอบกลับว่า “นี่คือรหัสผ่านของคุณครู ครูบอกหนูว่าอย่าบอกพ่อแม่”

 

 

หลังจากที่เธอได้ยินเรื่องนี้ เธอก็รู้สึกถึงความผิดปกติ และรู้สึกกังวลในอันตราย แต่เธอก็ยังใจเย็น และเกลี้ยกล่อมให้ลูกค่อย ๆ เล่าเรื่องต่อไป ลูกสาวของเธอจึงเล่าต่อว่า เมื่อตอนหลังเลิกเรียนวันนี้ ระหว่างที่กำลังรอรถเพื่อกลับบ้าน มีผู้หญิงคนหนึ่งอ้างว่าเป็นครู และเข้ามาคุยเพื่อเลือกเด็กบางคน เข้าคลาสสอนเต้นแอโรบิก หลังจากการคัดเลือก ครูก็ได้วาดรูปดอกไม้บนข้อมือ

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ลูกสาวของเธอยังเล่าอีกว่า ผู้หญิงคนดังกล่าวสั่งไว้ว่า ในวันพรุ่งนี้หลังเลิกเรียน ให้มารวมตัวกับเพื่อนคนอื่น ๆ ที่ประตูหลังโรงเรียน เพื่อจะพาไปกินไก่ทอด เฉพาะนักเรียนที่เต้นได้สวยที่สุด ซ้ำยังบอกอีกว่า “ครูคนดังกล่าวบอกว่า ห้ามนำเรื่องนี้ไปบอกใครโดยเด็ดขาด รวมถึงผู้ปกครองด้วย เพราะเรื่องนี้เป็นความลับ ระหว่างครูและนักเรียนเท่านั้น”

บทความที่เกี่ยวข้อง : อุทาหรณ์ ! ลูกหล่นจากรถเข็น เพราะแม่รีบซื้อของลดราคา สุดท้ายฟ้องห้าง !

 

หลังจากที่ลูกสาวเล่าเรื่องนี้ให้ฟัง เธอรู้สึกกังวลหนักกว่าครั้งแรก ที่ได้เห็นรอยประหลาดบนหลังมือลูก แต่เธอยังตั้งคำถามต่อเนื่อง เพื่อความแน่ใจต่อเรื่องที่ลูกเธอเล่า หลังจากได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว แม่รายนี้รู้สึกว่าไม่ปลอดภัย จึงได้ประสานงานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อรายงานเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้ง จึงได้ทำการซ้อนแผนการ ไปตามจุดนัดพบที่ประตูหลังโรงเรียน และพบว่า “ครู” คนนั้น เป็นสมาชิกขององค์กรค้าเด็กจริง ๆ จึงถือเป็นโชคดีที่ครอบครัวนี้ สามารถช่วยลูกตัวเอง และเด็กคนอื่น ๆ ที่อาจตกเป็นเหยื่อในครั้งนี้ไว้ได้

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับพ่อแม่

เชื่อว่าคำถามนี้ และข้อสงสัยนี้ เป็นอีกหนึ่งความกังวล ที่หลายบ้านต้องการหาคำตอบค่ะ ไม่ว่ายังไงคนเป็นพ่อเป็นแม่ ก็อยากที่จะสนิทกับลูกแน่นอน แต่ถ้ายังคงใช้วิธีการเดิม ๆ หรือเลี้ยงลูกแบบเก่า ๆ ก็อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกค่อย ๆ ห่างไกลไปเรื่อย ๆ งั้นไปดูกันค่ะว่า จะมีวิธีการให้ความรักกับลูกแบบไหนบ้าง ที่จะทำให้ครอบครัวสนิทกันได้มากขึ้น

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

1. ใช้ความเข้าใจ

การที่จะทำให้ครอบครัวสนิทกันได้มากขึ้น คือการเลี้ยงด้วยความเข้าใจค่ะ การเฝ้ามองทุกอย่างที่ลูกทำ ต้องใช้ความรู้สึกไปควบคู่กับความถูกต้อง เวลาที่คุยกับลูก ควรที่จะถ่ายทอดความเข้าใจ ความถูกต้อง เพื่อให้เข้าใจกันทุกสถานการณ์ เพราะในความเข้าใจกัน บางครั้งอาจจะมีการคิดไม่ตรงกันบ้าง ด้วยช่วงวัยหรืออายุที่ต่างกัน แต่ที่ควรต้องจำไว้คือ การเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่จำเป็นจะต้องมีนิสัย กิจกรรม หรือความชอบแบบเดียวกันเสมอไป พ่อแม่ควรจะยอมรับตัวตนที่เขาเป็น และเข้าใจว่าทุกคนมีความต่างกัน แต่เราก็ยังเป็นครอบครัวเดียวกันอยู่ดี

 

 

2. แสดงออกให้เห็นถึงความรัก

การแสดงออกถึงความรัก ผ่านการสัมผัสย่อมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ที่สุด เพราะในบางครั้งลูกอาจจะยังไม่เข้าใจ ว่าความรักคืออะไร การหมั่นหอมแก้ม กอด ทำให้ลูกเข้าใจว่านี้คือความรัก ยิ่งทำให้ครอบครัวสนิทกันมากขึ้น แถมยังช่วยให้เด็กเข้าใจ และมั่นใจว่าตัวเขาเองเป็นที่รัก และถูกรักจากครอบครัว การบอกรักกันทุกวันก็ไม่ใช่เรื่องแปลก การแสดงออกแบบสม่ำเสมอ จะกลายเป็นความผูกพันกันระหว่างครอบครัว

 

3. หมั่นเล่นกับลูกบ่อย ๆ

การเล่นกับลูกทุกวัน จะทำให้กลายเป็นกิจวัตรประจำวัน ระหว่างคนในครอบครัว อีกทั้งการเล่นกับลูก จะช่วยให้ลูกงดการเล่นโทรศัพท์ หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งยังสร้างสายสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด จะมีความสนิทกันมากขึ้น รู้สึกดี และผูกพันกันมากขึ้น

 

4. ควบคุมตัวเอง

ในการเลี้ยงลูก ย่อมมีบางครั้งที่โกรธ หรือลูกทำให้โมโห อารมณ์เสียอยู่แล้ว พ่อแม่ควรใช้สติมาก ๆ แสดงให้ลูกเห็นความเข้าใจ เพื่อที่ลูกจะได้ไม่กลัวจนเกินไป และกลายเป็นความห่างเหิน เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เร้าอารมณ์ จนเกิดเป็นความหงุดหงิดแล้ว ใช้ลมหายใจ สติ และสมาธิ ในเวลาที่คุณโกรธ ต้องห้ามเสียการควบคุม และใช้สติในการตัดสิน หากลูกผิดต้องลงโทษในบางครั้ง

 

5. เป็นต้นแบบที่ดี

ด้วยความที่ลูกมีสังคมแรก คือคนในครอบครัว เมื่ออยากให้ลูกเป็นแบบไหน ควรเริ่มที่ตัวคุณพ่อคุณแม่ก่อน พฤติกรรมหรือการแสดงออก จะทำให้ลูกสัมผัสได้ว่า อยากจะสนิทกันมากน้อยแค่ไหน หากใช้คำพูดที่แย่ และไม่น่าฟัง ลูกจะสังเกตและนำไปเลียนแบบ นอกจากนั้นอาจจะทำให้เขารู้สึกไม่อยากเข้าหาเรา เพราะฉะนั้นพฤติกรรมที่แสดงให้ลูกเห็นนั้นสำคัญมาก รวมไปถึงการตะคอก หรือตะโกนใส่ลูก ย่อมเป็นเรื่องที่ลดความกลัว และทำให้สนิทกันได้มากที่สุด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

6. ปล่อยให้ลูกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง

การเลี้ยงลูก ไม่จำเป็นที่พ่อแม่จะต้องคอยแก้ไขให้ทุกอย่าง เพราะลูกสามารถจัดการได้ด้วยตัวเอง บางครั้งการแค่ฟัง หรืออยู่ในฐานะผู้สนับสนุน ย่อมทำให้ลูกรู้สึกใกล้ชิดกว่า เนื่องจากว่าลูกได้รับการยอมรับ การที่เข้าไปก้าวก่ายเยอะเกินไป อาจจะทำให้ลูกสูญเสียความมั่นใจ รู้สึกต้องพึ่งพาตลอดเวลา และไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง รวมไปถึงอาจจะไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องใหญ่ ที่มากพอจะเป็นประสบการณ์ในอนาคต

 

นี่แหละค่ะ ข้อดีของการพูดคุยกับลูกตั้งแต่ยังเด็ก เพื่อไม่ให้ลูกมีความลับ มีความปิดบัง หรือเกิดอันตรายได้ การสอนให้ลูกพูดทุกอย่าง ย่อมได้ประโยชน์จากข้อนี้ มากกว่าการเป็นข้อเสีย จนไม่สามารถพูดคุยกันได้ค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

9 วิธีเลี้ยงลูกให้ สนิทกับลูก อยากสนิทกับลูกทำยังไงดี? วิธีเลี้ยงลูกให้สนิทกับแม่

อยากสนิทกับลูกต้องทำไง? 6 วิธีตีซี้กับลูกได้ง่าย เคล็ดลับที่คุณต้องรู้

20 วิธีง่ายๆ ที่ทำให้สนิทกับลูกน้อยแรกเกิดได้เร็วขึ้น ตีสนิทกับลูกตอนเป็นทารก

ที่มา :

sanook.com

บทความโดย

Kanthamanee Phisitbannakorn