ก้าวแรกไม่เป็นไร ก้าวต่อไปไม่ได้กิน? เด็กทำอาหารตกพื้น แม่วีนร้านขออาหารใหม่!

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เป็นเรื่องราวดราม่าร้อนแรงในโลกออนไลน์อยู่ในขณะนี้ หลังจากมีหญิงรายหนึ่งได้คอมเมนต์คอมเพลนร้านอาหารสตรีตฟู้ดเกาหลี ที่ย่านสยามสแควร์วัน ที่กำลังฮิตอยู่ในขณะนี้ โดยจุดเริ่มต้นของเรื่องราวมีอยู่ว่า หญิงรายดังกล่าวได้พาลูกสาวที่ปิดเทอม จากต่างจังหวัดมาเที่ยวในกรุงเทพฯ ก่อนจะมาแวะซื้อเมนูบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปใส่ชีสและข้าวโพดมากิน ซึ่งลูกสาวยังไม่ได้กิน เด็กทำอาหารตกพื้น บริเวณหน้าร้านไปเสียก่อน ผู้เป็นแม่จึงไปขอให้ร้านทำอาหารให้ใหม่ แต่ผู้จัดการร้านแจ้งว่าไม่มีนโยบายให้เปลี่ยนอาหารใหม่ ต้องเป็นการซื้อใหม่เท่านั้น

 

จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้คุณแม่รายดังกล่าว ได้เข้าไปคอมเมนต์ต่อว่าร้านอาหาร ว่าให้บริการแย่มาก นโยบายแบบนี้คงบอกต่อ ไม่ต้องให้ลูกค้าคนอื่นไปกิน พร้อมทั้งยังท้าให้เปิดดูกล้องวรปิดหน้าร้าน ที่เวลาประมาณ 21.00 น.

 

(คลิกเพื่อดูโพสต์ต้นฉบับ)

 

ในเวลาต่อมาทางร้านอาหารที่เกิดเหตุ ได้ออกมาชี้แจงถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้น พร้อมด้วยภาพจากกล้องวงจรปิด ซึ่งเห็นเหตุการณ์ทั้งหมดนั้นเริ่มตั้งแต่ เด็กทำอาหารตกพื้น เอง และผู้เป็นแม่ก็ได้หยิบถ้วยมาขอเปลี่ยนกับทางร้าน ทางร้านจึงปฏิเสธที่จะเปลี่ยนใหม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ชาวเน็ตที่ได้เห็นภาพเหตุการณ์ดังกล่าว ต่างก็พากันวิพากษ์วิจารณ์คุณแม่รายนี้ โดยมีความเห็นว่า เธอนั้นต้องทำความเข้าใจใหม่ว่า ความผิดพลาดเกิดจากใคร แต่ที่แน่ ๆ ไม่ใช่ความผิดของทางร้านอย่างแน่นอน และถ้าเป็นร้านอื่น ก็คงจะไม่เปลี่ยนให้เช่นกัน

บทความที่เกี่ยวข้อง ครูปากแจ๋ว ! เขียนชื่อนักเรียนผิด ไม่ขอโทษ เถียงกลับ จนแม่ทนไม่ไหว !

 

พฤติกรรมที่พ่อแม่รังแกฉัน

1. ปล่อยให้ลูกหลีกหนีความรับผิดชอบ

เด็ก ๆ นั้นจำเป็นต้องถูกปลูกฝังในเรื่องของความรับผิดชอบ คุณพ่อคุณแม่อย่าคิดว่าลูกนั้นเป็นเด็กทำอะไรก็ไม่มีความผิด เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้ลูกเกิดความเคยตัว และไม่รู้จักความรับผิดชอบ ในสิ่งที่ตัวเองกระทำลงไป แม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเช่น การไม่ยอมเก็บของเล่นเมื่อเล่นเสร็จ ไม่ทิ้งขยะให้ถูกที่ หรือไม่ยอมถอดเสื้อผ้าลงในตะกร้าผ้าให้เป็นที่ พฤติกรรมเหล่านี้ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ฝึกฝนบ่อย ๆ ลูกน้อยก็จะซึมซับและก็เข้าใจว่า ทั้งหมดคือหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเอง รู้ถึงความสามารถ และสิ่งที่ตนเองควรกระทำค่ะ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. ไม่ยอมปล่อยให้ลูกน้อยรู้จักผิดพลาด

บางครั้งความผิดพลาดอาจเป็นประสบการณ์หรือครูที่ดีสำหรับลูกน้อยได้ เข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคนมักจะเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการลูก คอยเข้าไปช่วยลูกอยู่ตลอดเวลา การทำสิ่งนั้นจะทำให้ลูกไม่ได้พยายามด้วยตัวเองก่อน เมื่อลูกเคยชินกับสิ่งนี้ ลูกก็จะไม่ทำอะไรด้วยตัวเอง แต่จะร้องขอรอคอยความช่วยเหลือจากคนอื่นทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็สามารถทำได้ หากเป็นไปได้แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ ปล่อยให้ลูกได้ลองทำอะไรด้วยตัวเองก่อน ยกเว้นแต่ว่าลูกได้พยายามแล้วยังไม่สามารถทำได้ ให้คุณพ่อคุณแม่เข้าไปช่วยพร้อมแนะนำวิธีการด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง ลูกทำผิดพ่อแม่อย่าซ้ำ ลูกมีสิทธิทำพลาดได้ แล้วแบบนี้พ่อแม่ต้องทำยังไง?

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. ปล่อยให้ลูกแสดงอารมณ์มากเกินไป

สำหรับคุณพ่อคุณแม่บางคนมองว่า การที่เด็กร้องไห้ หรือแสดงอาการโวยวาย ร้องกรี๊ด เมื่อเห็นแล้วก็อดสงสารลูกไม่ได้ อยากจะเข้าไปปลอบลูก อยากไปโอ๋ลูก แต่พฤติกรรมของคุณพ่อคุณแม่เหล่านี้ อาจทำให้ลูกสงบลงจริงแต่อาจส่งผลต่อความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และการเห็นคุณค่าในตัวเองของลูกน้อยในอนาคตได้ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกรู้จักควบคุมอารมณ์ของตัวเองจะดีกว่า โดยอธิบายว่าตอนนี้ลูกมีอารมณ์อย่างไร เช่น หนูกำลังโมโหอยู่ใช่ไหม หรืออาจบอกว่าลูกกำลังโกรธอยู่ ลูกต้องไม่แสดงพฤติกรรมแบบนี้ออกมานะ ต้องทำใจเย็น ๆ เป็นต้นค่ะ

 

4. แสดงความคิดด้านลบออกมา

การที่คุณพ่อคุณแม่บอกกับลูกซ้ำ ๆ เช่น “แม่ไม่สามารถซื้อรองเท้าใหม่ ๆ ให้ลูกได้ เพราะบ้านเรามีพื้นฐานครอบครัวที่ไม่ดีเหมือนคนอื่น” คำพูดนี้คุณพ่อคุณแม่ บางคนอาจมองว่าก็ควรบอกลูกแบบนี้ถูกแล้ว ใช่ค่ะ การที่คุณพ่อคุณแม่พูดแบบนี้ลูกจะได้เข้าในสถานะทางครอบครัวของตนเอง แต่คุณพ่อคุณแม่ควรจะสอนลูกเพื่อเสริมสร้างความมั่นใจ และแรงผลักดันให้กับลูกในอนาคตเพิ่มขึ้นด้วย โดยการพูดกับลูกในเชิงบวกต่อ เช่น “…แต่เราสามารถประหยัดเงินส่วนนั้นเพื่อเก็บเงินซื้อรองเท้าให้ลูกได้นะ หรืออาจบอกว่า “ถ้าลูกอยากได้ก็ต้องเก็บเงินซื้อ” เป็นต้นค่ะ เพื่อที่เด็กจะได้มีทางเลือกเช่นเดียวกัน

 

5. ปกป้องลูกมากเกินไป

การที่คุณพ่อคุณแม่คอยปกป้องลูกถือว่า เป็นเรื่องปกติ แต่ การที่คุณพ่อคุณแม่ปกป้องมากเกินไป เช่น พอเห็นลูกทำผิดก็ไม่ยอมรับว่าลูกทำผิด หรือคิดว่าลูกฉันเป็นเด็กน่ารัก เป็นเด็กดี แต่แท้จริงแล้วคนอื่นกลับไม่คิดเช่นนั้น พฤติกรรมแบบนี้ เหมือนเป็นการให้ทายลูก ซึ่งพอลูกโตขึ้นลูกจะกลายเป็นเด็กที่ไม่รู้จักถูกผิด และไม่รู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้เผชิญความจริงบ้างถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่คุณอาจจะยอมรับไม่ได้ค่ะ

 

 

6. ความหวังกับลูกสูงเกินไป

คุณพ่อคุณแม่มักต้องการให้ลูกเป็นเด็กอย่างที่ตัวเองคาดหวัง บางคนหวังว่าลูกต้องเก่ง ต้องสอบเข้าโรงเรียนดี ๆ ได้ พอคาดหวังมากก็กดดันกับลูกมากเกินไป ถึงแม้ว่าบางครั้งลูกอาจจะทำดีแล้วแต่ก็ยังไม่ดีพอสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ทำให้ลูกยิ่งกดดันต่อสิ่งที่ คุณพ่อคุณแม่คาดหวังขึ้นไปเอง จนสุดท้ายเด็กขาดความมั่นใจในตัวเองในที่สุด เพราะสิ่งที่เด็กทำมันดีแล้วแต่คุณพ่อคุณแม่กลับคิดว่ามันยังไม่ดีอย่างที่ต้องการค่ะ ซึ่งการที่คุณพ่อคุณแม่ตั้งเป้าหมายให้ลูกมันเป็นเรื่องที่ดี แต่เป้าหมายนั้นต้องเป็นเป้าที่ตกลงร่วมกัน ไม่ใช่แค่ของคุณพ่อคุณแม่เพียงอย่างเดียว

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

7. ลงโทษลูกโดยใช้ความรุนแรง

เด็กยังมีความซุกซน ยังต้องลองผิดลองถูก และ ต้องเรียนรู้อีกมากมาย หากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกทำผิดแล้วโมโหลูก ทำโทษด้วยการตี การด่าทอด้วยอารมณ์โมโห หรือ โกรธอย่างรุนแรงเป็นสิ่งที่อาจทำให้เด็กกลัว หรือ หยุดพฤติกรรมไม่ดีได้ก็จริง แต่บางครั้ง เด็กมักจะมีคำถามเสมอว่า ตัวเองทำอะไรผิด ผิดยังไงไม่เข้าใจ ทำไมต้องตีขนาดนี้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนมาใช้ วิธีการลงโทษแบบเชิงบวกดีกว่า เช่น ให้ลูกเข้ามุมเมื่อลูกทำผิด หรือ ลงโทษลูกด้วยการให้เวลาเล่นน้อยลง เป็นต้นค่ะ เพื่อที่ เด็กจะได้ไม่เกิดความเคยชินกับความรุนแรงและกลายเป็นการต่อต้านได้

 

ลูก ๆ จะมองคุณพ่อคุณแม่นั้นเป็นต้นแบบ และมักเลียนแบบพฤติกรรมจากคุณพ่อคุณแม่ ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดี เพราะฉะนั้นหากต้องการให้ลูกของคุณพ่อคุณแม่เติบโตขึ้นมาเป็นคนที่ดีมีคุณภาพในสังคม ควรปลูกฝังลูกในเรื่องของความรับผิดชอบ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ลูกดื้อ สอนไม่จำ ผิดที่ลูกหรือเป็นเพราะเราเองที่สอนลูกผิดวิธี

หยุด!! พฤติกรรมพ่อแม่ที่เข้าข่าย "สปอยล์ลูก" มากเกินไป และวิธีรับมือ

5 สิ่งต้องห้ามทำ ระวัง ! ลูกเลียนแบบพฤติกรรมพ่อแม่

ที่มา :

hilight.kapook.com

บทความโดย

Kanjana Thammachai